กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10
61

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376


๕. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๖] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า

พระเรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.
แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.

ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.
พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ ๗ 
ทรงแนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้วผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกันครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้
การประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ครั้งที่ พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา
ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เกิดอาพาธหนัก.

ครั้งนั้น เหล่าภิกษุเข้าไปหาพระมุนี [วรุณะ]
เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน จำนวนแสนโกฏิ เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะ
เข้าเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ
เราสรรเสริญศีล สมาธิ และพระปัญญาคุณอันยอดเยี่ยมของพระองค์ ตามกำลัง
ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จตามมรรคอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม

ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิ์ใบ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น

โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศพระองค์นั้นมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ

พระเรวตพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่าท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง

ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่าผิว่า
พวกเราพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้น พระชินเจ้าพระองค์นี้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัส แม้ของพระองค์แล้วก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่มพูนมากขึ้น
จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่

ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าวิปุลราช
พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่หกพันปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง
ซึ่งเกิดเพราะบุญกรรม ชื่อ สุทัสสนะ รตนัคฆิ และ อาเวฬะ อันตกแต่งแล้ว.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามล้านสามแสนนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา
พระโอรสพระนามว่า วรุณะ.

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ รถทรง
ตั้งความเพียร ๗ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระชินเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับอยู่ ณ พระวิหารวรุณาราม.
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหมเทวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททาและพระสุภัททา

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น นาคะ ( กากะทิง.)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อวรุณะ และ สรภะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ ปาลา และอุปปาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง ๘๐ ศอก
ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์,
เปลวรัศมี ที่เกิดในสรีระของพระองค์ก็ยอดเยี่ยม
แผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.

พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย
พระธรรมที่ไม่มีอะไรเสมือนนั้นด้วย ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระยศทรงมีบุญมาก ก็ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
พระบรมธาตุก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 382



62
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 13 มิถุนายน 2567























63
บัญชีธนาคารกองทุนบำรุงวัดและกองทุนเพื่อการกุศล วันที่ 15 มิ.ย. 2567




64
ถ่ายทอดสดวันที่ 15 มิถุนายน 2567




65
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 7-8 มิถุนายน 2567























66
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 12 มิถุนายน 2567















67
ภาพการทำงานพัฒนาสถานีตำรวจภูธรน้ำหนาว ของอาจารย์เกษม เจ้าหน้าที่และครอบครัว วันที่ 2,3,6 มิถุนายน 2567



















68

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
๔. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า

[๕] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือ คำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้ามีองค์ ๙
ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ทรงสร้างนคร คือ พระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.

พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คด แต่ตรง
ใหญ่กว้าง คือ สติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา อภิญญา ๖ และสมาบัติ ๘ ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจประกอบด้วยหิริและวีริยะ
ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
พระศาสดา เมื่อทรงยกชนเป็นอันมากขึ้นด้วยการประกอบนั้น อย่างนี้นี่แล
ก็ทรงสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ เป็นครั้งที่ ๑.

สมัยใด
พระมหาวีระ ทรงสั่งสอนหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น สัตว์พันโกฏิ ก็ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.

สมัยใด
เทวดาและมนุษย์ พร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ทูลถามนิโรธปัญหาและข้อสงสัยทางใจ.
แม้สมัยนั้น สัตว์เก่าหมื่นโกฏิ ก็ได้ตรัสรู้ครั้งที่ ๓
ในการแสดงธรรมในการตอบนิโรธปัญหา.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศปวารณา พระตถาคตก็ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยภิกษุแสนโกฏิ.
ต่อจากสันนิบาต การประชุมครั้งที่ ๑ นั้น
ในการประชุมภิกษุเก้าหมื่นโกฎิ ณ ภูเขาทองไร้มลทินเป็นการประชุม ครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
สมัยที่ท้าวสักกะเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาคชื่ออตุละ มีฤทธิ์มากสั่งสมกุศลไว้มาก.

ครั้งนั้น เราออกจากพิภพนาค
พร้อมด้วยเหล่าญาตินาคทั้งหลาย บำรุงบำเรอพระชินพุทธเจ้าด้วยดนตรีทิพย์.
เราเลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก
พระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
อันน่ารื่นรมย์แล้ว ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา เสด็จเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์โดยทางอันดีที่เขาจัดไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า มายา
พระชนก พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ชื่อ โคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อพระโกลิตะ พระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.

จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะและหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดมผู้พระยศ พระองค์นั้น มีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุมนพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสิ้น ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ยังถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไปเสีย
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า เมขละ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าหมื่นปี
มีปราสาทยอดเยี่ยม ๓ ปราสาท ชื่อ จันทะ สุจันทะและวฏังสะ.
ทรงมีพระสนมนารี แต่งกายงาม หกหมื่นสามพันนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า วฏังสกี มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง ทรงตั้งความเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระ สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละ ราชธานี.

พระสุมนพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทน.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา และพระอุปโสณา
พระพุทธเจ้าผู้เสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง).
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะและสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จาลา และ อุปจาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอก
พระรูปพระโฉมงดงามเสมือนรูปบูชาทองหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น อายุมนุษย์เก้าหมื่นปี
พระองค์เมื่อทรงพระชนม์ยืนเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังคนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงยังชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมือนพระองค์นั้น มียศยิ่งใหญ่
แสดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบได้ ยังพากันนิพพานทั้งนั้น.พระญาณ ที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น
รัตนะ ที่ไม่มีอะไรชั่งได้เหล่านั้น ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปหมดสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยศ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้นนั่นแล สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

พรรณนา วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ทำหมื่นโลกธาตุให้มืดลงพร้อมกัน ด้วยเหตุอย่างเดียวอย่างนี้แล้ว

ต่อมาจากสมัยของพระองค์
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอายุเก้าหมื่นปี
แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนเกิดมามีอายุเพียงสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีก
จนมีอายุถึงอสงไขยปี แล้วลดลงอีกจนมีอายุเก้าหมื่นปี

พระโพธิสัตว์พระนามว่า สุมนะ
ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมาเทวี
ในราชสกุลของพระเจ้าสุทัตตะ ณ เมขลนคร
เรื่องปาฏิหาริย์มีนัยที่เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยมาโดยลำดับ
อันเหล่าสตรีฝ่ายนาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนหกหมื่นสามแสนนาง
บำเรออยู่ ณ ปราสาท ๓ หลัง ชื่อ๑ สิริวัฒนะ โลมวัฒนะและอิทธิวัฒนะ
อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญปรนนิบัติอยู่ เสวยสุขตามวิสัย เสมือนสุขทิพย์ ประหนึ่งเทพกุมารี
ทรงให้กำเนิดพระโอรสที่ไม่มีผู้เปรียบ พระนามว่า อนูปมะ แก่พระนางวฏังสิกาเทวี
ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง
ทรงผนวชแล้วส่วนชนสามสิบโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงผนวชอยู่.
พระองค์ อันชนสามสิบโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว

ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ
เสวยข้าวมธุปายาส อันมีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่
ที่ นางอนุปมา ธิดาของ อโนมเศรษฐี ใน อโนมนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อนุปมาชีวก ถวาย
๑. ตามบาลีว่า ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ นาคะ ต้นกากะทิง
ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ์นั้น
ทรงเอาหญ้า ๘ กำปูเป็นสันถัดหญ้ากว้าง ๓๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น.
ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ

ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํขยมชฺฌคา ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ถัดสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ทรงเป็นผู้นำโลก ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มงฺคลสฺส อปเรน ความว่า ต่อมาภายหลังสมัยของพระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า.
บทว่า สพฺพธมฺเมหิ อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน
ด้วยธรรมคือศีล สมาธิ ปัญญา แม้ทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาค สุมนพุทธเจ้า
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์
ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหมเพื่อแสดงธรรม
ทรงใคร่ครวญว่า จะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ทรงเห็นว่า ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ
พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า สรณกุมาร
และบุตรปุโรหิต ชื่อว่า ภาวิตัตตมาณพ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ทรงพระดำริว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นก่อน
จึงเสด็จโดยทางนภากาศ ลงที่พระราชอุทยาน เมขละ
ทรงส่งพนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไปเรียก สรณกุมาร  พระกนิษฐภาดาของพระองค์และภาวิตัตตมาณพ บุตรปุโรหิต
แล้วทรงยังสัตว์แสนโกฏิอย่างนี้ คือ บริวารของคนเหล่านั้นสาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
สิบเจ็ดโกฏิ ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ และเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มากโกฏิ
ให้ดื่มอมฤตธรรมด้วยทรงประกาศพระธรรมจักร

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พระองค์ทรงลั่นอมตเภรี คือ
คำสั่งสอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ อันประกอบด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ นครเมขละ.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อมตเภรึ ได้แก่ เภรีเพื่อบรรลุอมตะเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ประโคม อธิบายว่า แสดงธรรม ชื่อว่า อมตเภรีนี้นั้น
ก็คือพุทธวจนะมีองค์ ๙ มีอมตะเป็นที่สุด
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
คือ คำสั่งสอนของพระชินเจ้า อันประกอบด้วยสังข์คือธรรมในคำนั้น.
บทว่า ธมฺมสงฺขสมายุตฺตํ ได้แก่ อันประกอบพร้อมด้วยสังข์อันประเสริฐ คือ กถาว่าด้วยสัจธรรม ๔.

พระสุมนพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อทรงปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่ปฏิญญา ก็ได้ทรงสร้างอมตนครอันประเสริฐ
มีศีลเป็นปราการอันไพบูลย์ มีสมาธิเป็นดูล้อม
มีวิปัสสนาญาณเป็นทวาร มีสติสัมปชัญญะเป็นบานประตู
ประดับด้วยมณฑปคือสมาบัติเป็นต้น เกลื่อนกล่นด้วยชน
เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ เพื่อป้องกันรัตนะคือ กุศล อันเหล่าโจรคือ
กิเลสทั้งหลาย คอยปล้นสดมภ์ เพื่อประโยชน์แก่การเปลื้องมหาชนให้พ้น
เครื่องพันธนาการ คือภพ

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชนะกิเลสทั้งหลายแล้ว
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้างนคร ชื่อสัทธัมมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิชฺชินิตฺวา ได้แก่ ชนะได้เด็ดขาด.อธิบายว่า ทรงกำจัดกิเลสมาร และเทวบุตรมาร.
บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ พระองค์นั้น .
ปาฐะว่า วิชินิตฺวา กิเลเสหิ ดังนี้ก็มี. หิ อักษรเป็นนิบาต ใช้ในอรรถเพียงบทบูรณ์.
บทว่า ปตฺวา แปลว่า บรรลุแล้ว.
ปาฐะว่า ปตฺโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า นครํ ได้แก่ นครคือพระนิพพาน.
บทว่า สทฺธมฺมปุรวรุตฺตมํ ได้แก่ สูงสุด ประเสริฐสุด เป็นประธาน
บรรดานครอันประเสริฐทั้งหลาย กล่าวคือสัทธรรมนคร.

อีกนัยหนึ่ง
บรรดานครอันประเสริฐที่สำเร็จด้วยสัทธรรม
นิพพานนครสูงสุด จึงชื่อว่า สัทธัมมปุรวรุตตมะนคร
สูงสุดในบรรดาสัทธรรมนครอันประเสริฐ
ในอรรถวิกัปต้น พึงเห็นคำว่า นคร ว่าเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั้นเท่านั้น.
พระนิพพานเป็นที่ตั้งแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลายที่เป็นพระเสกขะและอเสกขะ
ผู้แทงตลอดสภาวธรรมแล้ว
ท่านเรียกว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นโคจรและเป็นที่อยู่
ก็ในสัทธรรมนครอันประเสริฐนั้น

พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงสร้างถนนใหญ่ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐาน อันไม่ขาด ไม่คด แต่ตรง ทั้งหนาทั้งกว้างไว้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ ทรงสร้างถนนใหญ่ อันไม่ขาดไม่คดแต่ตรง
 ที่หนาและกว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่ขาดเพราะกุศลชวนจิตสัญจรไปไม่ว่างเว้น.
บทว่า อกุฏิลํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่คด เพราะเว้นจากโทษที่ทำให้คด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้เป็นคำแสดงความของบทต้น .
บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและกว้าง เพราะยาวและกว้าง
ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดยสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ.
บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรมอันประเสริฐด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘
ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้นแห่งนิพพานมหานครนั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ณ ถนนนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่งรัตนะเหล่านั้นว่า
ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น
กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งสินค้า คือ รัตนะเหล่านี้ ดังนี้
จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึงใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ
กุลบุตรเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตามสบาย.

แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน.
บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ.
บทว่า อขิลา ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ ๕ ประการ.
บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น
คำนี้เป็นชื่อของความละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ.
วีริยะนั้น มีลักษณะเป็นความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและวีริยะเหล่านั้น.
บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน
แห่งอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง.
บทว่า เต ความว่า กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้
ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าวแล้ว

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ
ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรมเภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด
จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน
โดยนัยว่า ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น
ด้วยการประกอบนั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร คือ สังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค.
บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า แสนโกฏิ.
ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.

ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความมัวเมาและมานะของเดียรถีย์
ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.
สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็นเดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ติตฺถิเยอภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ
พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์ก็ได้ทรงแสดงธรรม.

ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า
ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร
ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร

เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร ๖ ชั้น
พรหมในพรหมโลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัย
ในการเข้า การอยู่และการออกจากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้
จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย.

ต่อนั้น จึงพร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี
พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล
ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น.
พระเจ้าอรินทมะ
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึงทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า
แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบนิโรธปัญหาแล้ว
ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยนี้เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียงกันมีใจอันเดียวกัน
ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัยทางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
แม้สมัยนั้น ในการแสดงธรรม
ในการแสดงนิโรธปัญหา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ใน ๓ ครั้งนั้น สาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑
พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอรหันต์พันโกฏิ ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงอาศัยนครเมขละ
จำพรรษาแล้วก็ทรงปวารณาด้วยปวารณาครั้งแรก นี้เป็นสาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑.

สมัยต่อมา พระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงอาทิตย์
ประทับนั่งเหนือภูเขาทอง ประมาณโยชน์หนึ่ง
ซึ่งบังเกิดด้วยกำลังกุศลของ พระเจ้าอรินทมะ ไม่ไกล สังกัสสนคร
เหมือน ดวงทินกรส่องรัศมีอันงามในยามฤดูสารทเหนือขุนเขายุคนธร
ทรงฝึกบุรุษเก้าหมื่นโกฏิ ซึ่งห้อมล้อมพระเจ้าอรินทมะ ตามเสด็จมา
ทรงให้เขาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาหมดทุกคน เหล่าภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นนั่นแลแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในสันนิบาตอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
สมัยใด ท้าวสักกเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระสุคต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ อันพระอรหันต์แปดหมื่นโกฏิแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบตั้งมั่น ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศวันปวารณาแล้ว พระตถาคต ก็ทรงปวารณาพรรษาพร้อมกับภิกษุแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ในสันนิบาตต่อจาก สันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น
ณ ภูเขาทองไร้มลทิน ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ครั้งท้าวสักกเทวราช เข้าเฝ้าเยี่ยมพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
พึงเห็นลิงควิปลาสในคำว่า อภิฆุฏฺเฐ ปวารเณ
ในคาถานั้น ความว่า อภิฆุฏฺฐาย ปวารณาย เมื่อท่านประกาศปวารณาแล้ว.
บทว่า ตโตปรํ ได้แก่ ในสมัยต่อจากสันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น.
บทว่า กญฺจนปพฺพเต ได้แก่ ณ ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า พุทฺธทสฺสนุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพญานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธานุภาพมาก.
ท่านได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก อันหมู่ญาติห้อมล้อมแล้วออกจากภพของตน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิเป็นบริวาร ด้วยดนตรีทิพย์
ถวายมหาทาน ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วตั้งอยู่ในสรณะ

พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์พญานาคนั้นว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระยานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยเหล่าญาตินาค ก็ออกจากพิภพนาค
บำเรอพระชินพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วยดนตรีทิพย์.
เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต จักเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จักตั้งความเพียร ฯ ล ฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

พึงกล่าว ๑๘ คาถา ให้พิศดารเหมือนในวงศ์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.

เราฟังพระดำรัสของพระสุมนพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะพระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า เมขละ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนี พระนามว่า พระนางสิริมาเทวี
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา พระอุปโสณา
มีโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ (กากะทิง)
มีพระสรีระสูงเก้าสิบศอก
มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี

มีพระมเหสี พระนามว่า พระนาง วฏังสิกาเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ
ทรงออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ พระยาช้าง.
มีอุปัฏฐาก ชื่อ อังคราชา ประทับ ณ พระวิหารชื่อ อังคาราม
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เมขละ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทงามสุด ๓ หลัง ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ทรงมีพระสนมนารีแต่งกายงาม สามล้านหกแสนนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกา
มีพระโอรส พระนามว่า อนูปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ พระยาช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน.

พระมหาวีระสุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อพระสรณะและพระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ.
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระโสณา พระอุปโสณา
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้น
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ (กากะทิง).
ทรงมีอัครอุปฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอ
งามเหมือนรูปบูชาที่ทำด้วยทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.

ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.

พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น
ท่านเหล่านั้นมียศยิ่งใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มีอะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่
มีพระรูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด.
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า พุทธเวไนยทั้งปวง.
บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์.
บทว่า อตฺถมิ แปลว่า ดับ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถํ คโต ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน.
บทว่า มหายสา ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก.
บทว่า ตญฺจ ญาณํ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณนั้น.
บทว่า อตุลิยํ ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376


69

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

๓. วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า

[๔] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชินพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔ อันประเสริฐสูงสุด.
สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบมิได้
แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเถรีอันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ครั้งนั้น ข้าราชบริพารตามเสด็จพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้น ก็ได้เป็นผู้บวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทาทั้งหมด ไม่เหลือเลย.

สมัยพระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตการประชุม ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ ก็เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุมสาวกเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมสาวกผู้เป็นพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุรุจิ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท
เราเข้าเฝ้า ถึงพระศาสดาเป็นสรณะ
บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว
ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยควปานะ ขนมแป้งผสมน้ำนมโค.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่นับไม่ได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์
จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดตกแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า มายา
พระชนกพระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าพระโคตมะ.
จักมีคู่อัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีคู่อัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
ต้นโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
พระโคตมพุทธเจ้าผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุ ประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
สดับพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำเฉพาะหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำทางหลัง ข้ามมหานทีฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าจะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสมากขึ้น อธิษฐานวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
จึงถวายเคหสมบัติของเรา แด่พระมงคลพุทธเจ้า แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุสาสน์ได้หมด ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.

เราเมื่ออยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ๕ ก็ไปพรหมโลก.

พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า อุตตระ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทเยี่ยมยอด ๓ หลัง ชื่อ ยสวา สุจิมา สิริมา
ทรงมีพระสนมนารีสามหมื่นถ้วน
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป.

พระมงคลพุทธเจ้า

ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีอัครสาวกชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลาและพระอโสกา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นนาคะ คือต้นกากะทิง.
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และ สุมนา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีหลายแสนแล่นออกจากพระสรีระนั้น.
สมัยนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ถึงเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้น.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่ตราบใด
ในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีการตายของสาวกผู้ยังมีกิเลส ตราบนั้น.
พระผู้มียศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงรุ่งเรืองแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
รุ่งเรืองแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟดับ ประดุจดวงอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น.
พระมงคลพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ อุทยาน ชื่อ เวสสระ
ชินสถูปของพระองค์ ณ อุทยานนั้น สูงสามสิบโยชน์.
จบวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

พรรณาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

ดังได้สดับมา
เมื่อพระโกณฑัญญศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี
เพราะพระสาวกของพระพุทธะและอนุพุทธะอันตรธาน
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง
ในกัปเดียวกันนี่แล ก็บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ
พระมังคละ
พระสุมนะ
พระเรวตะ
พระโสภิตะ

ใน ๔ พระองค์นั้น พระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงบำเพ็ญบารมี สิบหกอสงไขย กำไรแสนกัป
ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น
เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการ เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น
จึงพากันอ้อนวอนว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
กาโลยํ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิยํ
สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับพระองค์
โปรดเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด เจ้าข้า.

ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว
ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕ ประการ ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางอุตตราเทวี
ราชสกุลของ พระเจ้าอุตตระ ผู้ยอดเยี่ยม
ใน อุตตระนคร ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหมือนครทุกนคร

ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมากปาฏิหาริย์เหล่านั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้านั่นแล.

นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น
พระรัศมีแห่งพระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก ทั้งกลางคืนกลางวัน
แสงจันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้
พระรัศมีนั้น กำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น
ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น พระพี่เลี้ยงพระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่.

เล่ากันว่า
พระนางอุตตราเทวีนั้น มีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาส
ก็ประสูติพระมังคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่า อุตตรมธุรอุทยาน
อันมีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
บัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟาน และฝูงเนื้อ
นานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติเท่านั้น
ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร
ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว
ทรงเปล่งอาสภิวาจา
ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็ปรากฏกาย
ประดับองค์ด้วย ทิพยมาลัยเป็นต้น
ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล
ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น
โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่า มงคลกุมาร
เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวา รุจิมา สิริมา
สตรีเหล่านาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนสามหมื่น
มีพระนางยสวดีเป็นประธาน
ณ ปราสาทนั้นพระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุข เก้าพันปี
ทรงได้พระโอรสพระนามว่า สีลวา
ในพระครรภ์ของพระนาง ยสวดี พระอัครมเหสี
ทรงม้าตัวงามนามว่า ปัณฑระ ที่ตกแต่งตัวแล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช
มนุษย์สามโกฏิ ก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่ทรงผนวชพระองค์นั้น
พระมหาบุรุษ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน.

แต่นั้น ก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้
อันนางอุตตรา ธิดาของ อุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่น มีแสงสีเขียว น่ารื่นรมย์

ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อุตตระอาชีวกถวาย
เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อนาคะ [กากะทิง]
มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคิรี สีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มีตาข่ายทองคลุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนาทึบ
ที่ต้องลมอ่อน ๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิที่น่าชื่นชม
ก็ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ
ประทับยืนข้างทิศอีสาน [ตะวันออกเฉียงเหนือ
ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น
ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔
ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการหยั่งลงโดยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย
ก็ทรงบรรลุพระอนุตตรสมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ
ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
เมื่อไม่พบก็ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนตัณหา นายช่างผู้สร้างเรือน
ตัวท่านเราพบแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว
โครงสร้างเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว
ยอดเรือนท่านเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตเราถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.

ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระ พระมงคลพุทธเจ้า
มีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ
รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดยรอบ
ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ เป็นนิจนิรันดร์
ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตูเป็นต้น
ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้าหมื่นปี.

รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้น
ไม่มีตลอดเวลาถึงเท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ
สัตว์ทั้งหลายทำการงานกันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
เหมือนทำงานด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน
โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอกไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ.
ตอบว่า ไม่มี หามิได้
ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์
ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น
แต่รัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์
เหมือนรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้องต้น.

เขาว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระโอรสและพระชายา
ในอัตภาพ เช่นเดียว
กับอัตภาพ เป็นพระเวสสันดร
ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต.

ครั้งนั้น
ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
กินมนุษย์เป็นอาหาร
ชอบเบียดเบียนคนทุกคน
ชื่อ ขรทาฐิกะ

ได้ข่าวว่า
พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน

จึงแปลงกาย เป็นพราหมณ์
เข้าไปหา ทูลขอทารก
สองพระองค์ กะพระมหาสัตว์

พระมหาสัตว์
ทรงดีพระทัยว่า

เราจะให้ลูกน้อย สองคน
แก่ พราหมณ์ดังนี้

ได้ทรงประทาน
พระราชบุตรทั้งสอง พระองค์แล้ว
ทำให้แผ่นดิน หวั่นไหว จนถึงน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
ขณะนั้น
ทั้งที่พระมหาสัตว์ ทรงเห็นอยู่

ยักษ์ละเพศ
เป็นพราหมณ์นั้นเสีย

มีดวงตากลม
เหลือกเหลือง ดังเปลวไฟ
มีเขี้ยวโง้ง ไม่เสมอกัน
น่าเกลียดน่ากลัว
มีจมูกบี้แบน
มีผมแดงหยาบยาว
มีเรือนร่าง เสมือนต้นตาล ไหม้ไฟ ใหม่ ๆ

จับทารก สองพระองค์
เหมือน กำเหง้าบัว
เคี้ยวกิน

พระมหาบุรุษ
มองดูยักษ์

พอยักษ์อ้าปาก
ก็เห็นปากยักษ์นั้น
มีสายเลือดไหลออก เหมือนเปลวไฟ
ก็ไม่เกิดโทมนัส แม้เท่าปลายผม

เมื่อคิดว่า
เราให้ทานดีแล้ว
ก็เกิดปีติโสมนัส มากในสรีระ.

พระมหาสัตว์นั้น
ทรงทำความปรารถนาว่า
ด้วยผลแห่งทาน ของเรานี้

ในอนาคตกาล
ขอรัศมีทั้งหลาย
จงแล่นออกโดยทำนองนี้

เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนา
เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
รัศมีทั้งหลายจึงเปล่ง ออกจากสรีระ
แผ่ไปตลอดสถานที่ มีประมาณเท่านั้น.

บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก.
เล่ากันว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้
เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
คิดว่า ควรที่จะสละชีวิตของเรา
เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
ให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดยทำนอง
พันประทีปด้าม ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสน
ซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาดศอกหนึ่ง
เต็มด้วยของหอมและเนยใส
จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น
ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว
ทำประทักษิณพระเจดีย์ของพระชินเจ้า
ให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน
เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้นอย่างนี้
ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม
จริงทีเดียว ชื่อว่า ธรรมนี้ย่อมรักษาบุคคลผู้รักษาตน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปทุคติ ดังนี้.

ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้
แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล
ก็ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้เทียบ
ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ครอบงำแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุก็สว่างจ้า.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตมํ ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืดในดวงใจ.
บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ.
ในคำว่า ธมฺโมกฺกํ นี้อุกฺกา ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น
เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า
สณฺฑาเสน ชาตรูปํ คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลงในปากเบ้า.
ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา
ในอาคตสถานว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย อุกฺกํ พนฺธิตฺวา อุกฺกามุขํ อาลิมฺเปยฺย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
พึงผูกภาชนะถ่านไฟ
ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ. เตาไฟของช่างทอง
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมารานํ ยถา อุกฺกาอนฺโต ฌายติ โน พหิ
เปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก.
ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า
อุกฺกา ในอาคตสถานว่า เอวํวิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้.
คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุธาริยนานาสุ
เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่.
แม้ในที่นี้คบเพลิงท่านประสงค์ว่า อุกฺกา.
เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จด้วยธรรม
พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก
ซึ่งถูกความมืด คือ อวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้.
บทว่า ชิเนหญฺเญหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเญหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่นๆ.
บทว่า จนฺทสุริยปฺปภํ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว
ทรงยับยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์
ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม
ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุสามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ครั้งนั้น ทรงดำริว่า
กุลบุตรเหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
พวกเขาถูกเราซึ่งต้องการวิเวก สละไว้

เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัย สิริวัฒนนครอยู่ ยังชัฏสิริวัน
เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น
แล้วทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ
เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ ชัฏสิริวัน

ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แสดงอันเตวาสิกวัตรแล้ว นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้น ๆ ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ได้.
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ
ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุโร แปลว่า ๔.
บทว่า สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย
ชื่อว่า สัจจะอันประเสริฐ อธิบายว่า สัจจะสูงสุด.
ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความว่า สัจจะอันประเสริฐ สูงสุดทั้ง ๔.
บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว.
บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่ ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ ๔.
บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ.
บทว่า ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด.
ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอย่างนั้น
โพธิ ศัพท์ มาในอรรถว่า มรรค
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ
ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.
มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญายสมฺโพธาย สํวตฺตติ
ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้พร้อม.
มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํอสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์.
มาในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ
ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.

มาในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติโพธึ วรภูริเมธโส
พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
บทว่า อตุลํ ได้แก่ เว้นที่จะชั่งได้ คือเกินประมาณ อธิบายว่า ไม่มีประมาณ
พึงถือความว่า ในปฐมธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม.

สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้า
ทรงอาศัยนคร ชื่อ จิตตะ ประทับอยู่
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะ ของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา
เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ที่โคนต้นคัณฑัมพพฤกษ์แล้ว
ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ ณ ภพดาวดึงส์
ซึ่งเป็นภพประเสริฐ สำเร็จด้วยทองและเงินใหม่ งดงาม
เป็นแดนสำเริงสำราญของเหล่าเทวดาและอสูรหนุ่มสาว ตรัสพระอภิธรรม.

สมัยนั้น
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
สมัยใด
พระเจ้าจักรพรรดิ พระนาม สุนันทะ
ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ.
เล่ากันว่า
เมื่อ พระมงคลทศพลเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน

พระเจ้าสุนันทะ
ทรงเห็นแล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย
จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า
จักรรัตนะนี้ บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉน จึงเขยื้อนจากฐาน
สมัยนั้น
พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อน แด่พระราชาว่า
จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวช หรือเพราะ พระพุทธเจ้าปรากฏ
แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว.
แต่พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติแล้วในโลก
ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช พร้อมทั้งบริษัท จึ
งทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า
ทรงวอนขอว่า
ตราบใดเราจักสักการะพระมงคลทศพล
ด้วยอานุภาพของท่าน ขอท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด.
ลำดับนั้น
จักรรัตนะนั้นก็ได้ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม.
แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ ผู้มีความบันเทิงพระหฤทัย
พรั่งพร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว
ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระมงคลทศพล ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน
ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสนโกฏิรูป
ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต
ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง
ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า
ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่า อนุราชกุมาร ก็ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน.

ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น
ซึ่งมีพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเป็นประธาน
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงสำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น
ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์
ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งประดับด้วยข่ายจักร
ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด.
ในทันทีภิกษุทุกรูป ก็มีผมขนาดสองนิ้ว
ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ
ประหนึ่งพระเถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ไม่มีเหลือ เป็นเอหิภิกขุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ตี.
บทว่า วรุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
บทว่า อาสุํ ได้แก่ ได้มีแล้ว.
ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว
ถ้าจะถามว่า หมู่ชนนั้น มีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี
ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพ และ ธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่งเป็นบริวาร
พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ นี้เป็นการประชุมครั้งแรก.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของบรรพชิต
ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตราราม อีก นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ
ในสมาคมคณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุม ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ.
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ ประชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุรุจิ
ในหมู่บ้าน สุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว
ทั้งเชี่ยวชาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์

ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ
นิมนต์พระผู้พระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ว่า
พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท่านพราหมณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้น เป็นการประชุมครั้งที่ ๑
เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่าแสนโกฏิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
สุรุจิพราหมณ์ จึงนิมนต์ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์
พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า.
พระศาสดาจึงทรงรับนิมนต์.

พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ก็กลับไปบ้านตน คิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวยและผ้าได้
แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร
ความคิดของท่านพราหมณ์นั้น
ก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสหัสนัยน์ สักกเทวราช
ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ
ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา
ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้
ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลก
ก็เห็นพระมหาบุรุษ คิดว่า
พระมหาสัตว์ผู้นี้ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
คิดถึงเรื่องสถานที่ ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้น แล้วรับส่วนบุญ
จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ ถือมีดและขวานแล้ว
ปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า
ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ เขาบอกกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใด ประสงค์จะให้ทำสิ่งไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาท หรือ
นิเวศน์เป็นต้นไร ๆ อื่น เราก็สามารถทำได้ทั้งนั้น.
พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน.
เขาถามว่า งานอะไรเล่า นายท่าน.
พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อฉันอาหารวันพรุ่งนี้
ท่านจักต้องสร้างมณฑป สำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่ง นะ
เขากล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ.
เขากล่าวว่า ดีละ
ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ
แล้วก็ตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ 
พื้นเรียบเหมือนวงกสิณ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.

เขาคิดอีกว่า
มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ
จงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู
ในทันใด มณฑปที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้น
ก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้น
มีหม้อเงินอยู่ที่เสาทอง
มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน
มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี
มีหม้อแก้วมณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ
มีหม้อรัตนะ ๗ อยู่ที่เสารัตนะ ๗.

ต่อนั้น เขาตรวจดูว่า ข่ายกระดิ่ง จงห้อยระหว่างระยะของมณฑป
พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ
ก็เปล่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง ๕ ได้เป็นเหมือนเวลาบรรเลงทิพยสังคีต.

เขาคิดว่า
พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวงรัตนะ ๗ ของทิพย์
จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย.

อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะ และเครื่องรองทั้งหลาย
สำหรับภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น

เขาคิดว่า
หม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุก ๆ มุม ๆ ละหม้อ
ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลายเต็มด้วยน้ำสะอาดหอม
และเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วยใบทอง
ก็ตั้งขึ้น ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว
เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า
นายท่าน มานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้วโปรดให้ด่าจ้างแก่เราสิ
พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น
เมื่อเห็น มณฑปนั่นแลสรีระก็ถูกปีติ ๕ อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
ครั้งนั้น
พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็น ก็คิดอย่างนี้ว่า
มณฑปนี้มิใช่ฝีมือมนุษย์สร้าง
อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา
จึงร้อนถึงภพของท้าวสักกเทวราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว.
พระมหาสัตว์คิดว่า
การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา
จำเราจะถวายตลอด ๗ วัน ธรรมดาทานภายนอก แม้มีประมาณเท่านั้น
ก็ยังไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะย่อมจะชื่อว่าพอใจ
ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่หยอดแล้ว
หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.

จริงอยู่ ในสิวิชาดก
เมื่อพระโพธิสัตว์ของเรา สละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน
ให้ทาน ๕ แห่ง คือท่ามกลางนคร และที่ประตูทั้ง ๕.
ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะได้เลย.
แต่สมัยใด
ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์ มาขอจักษุทั้งสองข้าง
สมัยนั้น
พระโพธิสัตว์นั้น ก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละ จึงเกิดความร่าเริง
จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย
อาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้น คิดว่า
เราควรถวายทานแก่ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่า ควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] ๗ วัน.
โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบนเตา
ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง
คลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่า ควปานะ ในบาลีนั้น
ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส ๔ ดังนี้ก็มี. แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้
สถานที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย
 แต่ภิกษุเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
นั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ.
วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุทุกรูป
บรรจุด้วยเนยใส เนยขึ้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น
ได้ถวายพร้อมด้วยไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะ ในที่นั้นได้แล้ว ก็เป็นของมีค่านับแสน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา
ทรงใคร่ครวญดูว่า มหาบุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ จักเป็นใครกันหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ในที่สุดสองอสงไขย กำไรแสนกัป

แต่นั้น จึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มา
แล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.
ลำดับนั้น
พระมหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า
เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึงละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ
บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด
มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่จนตลอดอายุ
ที่สุดอายุ บังเกิดแล้วในพรหมโลก.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วย ขนมควปานะ.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่งขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ ดอกไม้.
คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว.
บทว่า อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น.
บทว่า ทสปารมิปูริยา ได้แก่ เพื่อทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม.
บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่งใจ.
บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ.
บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่ บริจาคแด่พระพุทธเจ้า.
บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ
๑. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔ หน้า ๓๕๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย ๔.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น.
บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ เจริญพรหมวิหารภาวนา.

ก็พระผู้มีพระภาค มงคลพุทธเจ้า
มีพระนคร ชื่อว่า อุตตรนคร
แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
แม้พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตระ
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะและ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ พระอโสกา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อต้นนาคะ[กากะทิง]
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี

ส่วนพระชายาพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ
เสด็จอภิเนษกรมณ์โดยยานคือ ม้า
ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม
อุปัฏฐากชื่อ อุตตระ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปี
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน
โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น
มนุษย์ทุกจักรวาล ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีนคร ชื่ออุตตรนคร
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อพระสีวลา และพระอโสกา
ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีแล่นออกจากพระสรีระนั้นหลายแสน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ในยุคนั้น
ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ฉันใด
สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า

ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่เพียงใด ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาส. .
บทว่า รํสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย.
บทว่า อเนกสตสหสฺสีก็คือ หลายแสน.
บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
บทว่า คเณตุเยแปลว่า เพื่อคำณวน คือนับ.
อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใคร ๆ ไม่อาจนับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ ฉันใด
แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น.
บทว่า ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด.
บทว่า สกิเลสมรณํ ตทา ความว่า บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส.
ความตายของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่า สกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส.
ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี.

เขาว่า สมัยนั้น
สาวกทั้งหลายในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด
ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย]
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณํ ตทา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ธมฺโมกฺกํ แปลว่า ประทีปธรรม.
ไฟท่านเรียกว่า ธูมเกตุ
แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสงแล้วก็ดับไป.
บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก.
บทว่า สงฺขารานํ ได้แก่ สังขตธรรมธรรมที่มีปัจจัย.
บทว่า สภาวตฺตํ ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมีนับพัน
กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคต ฉันใด
แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนยสัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว
ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้
ก็ฉันนั้น คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357




70

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 306
๒. วงศ์ พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ว่าด้วยพระประวัติของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
[๓] ต่อจากสมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ผู้นำโลก
ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุด มีพระยศนับไม่ได้ ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ยากที่จะเข้าเฝ้า.
พระองค์ทรงมีพระขันติเปรียบด้วยแผ่นธรณี
ทรงมีศีล เปรียบด้วยสาคร
ทรงมีสมาธิเปรียบด้วยขุนเขาพระเมรุ
ทรงมีพระญาณเปรียบด้วยท้องนภากาศ.

ครั้งนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศ
อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง.

เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม
ครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อทรงแสดงธรรมต่อ ๆ จากนั้น ในสมาคมของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์แสดงธรรม
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 307
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้คงที่ ๓ ครั้ง. คือ
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ จำนวนเก้าหมื่นโกฏิ
ครั้งที่ ๓ จำนวนแปดหมื่นโกฏิ.

สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า วิชิตาวี
ครอบครองอิสราธิปัตย์เหนือปฐพี มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต.
เราเลี้ยงพระขีณาสพจำนวนแสนโกฏิ ผู้ไร้มลทิน
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ พร้อมด้วยพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ผู้เป็นนาถะเลิศแห่งโลก ให้อิ่มหนำสำราญด้วยอาหารอันประณีต.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่หาประมาณมิได้นับแต่กัปนี้.
ตถาคตจักออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา นั่ง ณ โคนอัชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว จักเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้า เสวยข้าวมธุปายาส ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
จักเดินตามทางที่เขาตกแต่งดีแล้วเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 308
ต่อแต่นั้น
พระผู้มีพระยศใหญ่
จักทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม

จักตรัสรู้ที่โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อ อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

พระชนนีของท่านผู้นี้
จักมีพระนามว่าพระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคดม.

คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น

พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อานันทะ จักบำรุงพระชินะเจ้าพระองค์นี้.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมาและพระอุบลวรรณา
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.

ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เรียกกันว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.

มีอัครอุปัฎฐากชื่อ จิตตะ และหัตถอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทมาตา และอุตตรา.
พระชนมายุของพระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้นประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสของพระผู้ไม่มีผู้เสมอผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว
ก็ปราโมชปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 309
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวดา ก็พากันโห่ร้องปรบมือ หัวร่อร่า
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ฝ่ายพวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
เฉพาะหน้า ก็ไปถือเอาท่าน้ำท่าหลัง ข้ามแม่น้ำฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะผ่านพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราสดับพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้น เมื่อจะยังประโยชน์นั้นนั่นแลให้สำเร็จ
จึงได้ถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่ แด่พระชินเจ้า
ครั้นถวายราชสมบัติอันยิ่งใหญ่แล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาทในอิริยาบถนั่ง ยืน และ เดิน
ถึงฝั่งแห่งอภิญญาแล้ว ก็ไปสู่พรหมโลก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ มีพระนคร ชื่อว่า รัมมวดี
พระชนกพระนามว่าพระเจ้า สุนันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนาง สุชาดา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ หมื่นปี

ทรงมีปราสาทอย่างยอดเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า รุจิปราสาท สุรุจิปราสาท สุภปราสาท
มีพระสนมนารี สามแสนนาง
มีพระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ.

ทรงเห็นนิมิตทั้ง ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ รถทรง
พระชินเจ้าทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระโกณฑัญญะ
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าผู้สงบ อันพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่เทพดาทั้งหลาย ณ มหาวัน.
ทรงมีคู่อัครสาวก ชื่อ พระภัททะและพระสุภัททะ

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า อนุรุทธะ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่อัครสาวิกา ชื่อพระติสสาและพระอุปติสสา.

พระโกณฑัญญูพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 311
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อโสณะ และอุปโสณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ นันทา และสิริมา.
พระมหามุนีพระองค์นั้น ส่ง ๘๘ ศอก
ทรงสง่างามเหมือนดวงจันทร์ ประหนึ่งดวงอาทิตย์เที่ยงวัน.

ในยุคนั้น
ทรงมีพระชนมายุ แสนปี
พระองค์เมื่อทรงพระชนม์อยู่เพียงนั้น
ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แผ่นดินก็งดงามด้วยพระขีณาสพ
ผู้ไร้มลทินเหมือนท้องนภากาศงามด้วยหมู่ดาว พระองค์ก็งดงามเหมือนอย่างนั้น.

พระอรหันต์เหล่านั้น หาประมาณมิได้ ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม
ยากที่จะมีผู้เข้าไปหา พระผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แล้วก็นิพพานเหมือนสายฟ้าแลบ.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้าไม่มีอะไรเทียบได้
พระสมาธิอันญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงพระสิริ
เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
พระเจดีย์ของพระองค์ในพระวิหารนั้น สูง ๗ โยชน์.
จบวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 312
พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้าที่ ๒
ดังได้สดับมา
เมื่อพระผู้มีพระเจ้าทีปังกรเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่ แสนปี.
เพราะอันตรธานแห่งพระสาวกทั้งหลายของพระพุทธะและอนุพุทธะ
แม้ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.

ต่อมาภายหลังศาสนาของพระองค์
ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง
พระศาสดาพระนามว่า โกณฑัญญะ ก็อุบัติในกัปหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงบำเพ็ญบารมีมา สิบหกอสงไขย แสนกัป
อบรมบ่มพระญาณแก่กล้าแล้ว
ทรงดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นเดียวกับอัตภาพเป็นพระเวสสันดร

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ดำรงอยู่ในดุสิตนั้น จนตลอดพระชนมายุ
ประทานปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย
จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี
ในราชสกุลของพระเจ้าสุนันทะ กรุงรัมมวดี.

ในขณะที่พระองค์ทรงถือปฏิสนธิ
ก็บังเกิดพระปาฏิหาริย์ ๓๒ ประการดังกล่าวไว้ ในวงศ์ของ พระทีปังกรพุทธเจ้า.

พระองค์มีเหล่าเทวดาถวายอารักขา
ถ้วนทศมาสก็ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา
ทรงเป็นยอดของสรรพสัตว์
บ่ายพระพักตร์ทางทิศอุดร เสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว

ทรงแลดูทุกทิศ ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า
เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก
ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย
ตั้งแต่บัดนี้ ไม่มีการเกิดอีก.

ต่อนั้น ในวันขนานพระนามของพระโพธิสัตว์นั้น
พระประยูรญาติทั้งหลาย ก็ขนานพระนามว่า โกณฑัญญะ
ความจริงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระโคตร เป็นโกณฑัญญโคตร.
เขาว่า พระองค์มีปราสาท ๓ หลังน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
ชื่อว่า รามะปราสาท สุรามะปราสาท๑ สุภะปราสาท.
ทั้ง๓ หลังนั้น
๑. บาลีเป็น รุจิ สุรุจิ และสุภะปราสาท.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 313
มีสตรีฝ่ายนาฏกะ ผู้ชำนาญการฟ้อนรำ การขับร้องและการบรรเลงประจำอยู่ถึงสามแสนนาง.

พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ
ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ หมื่นปี.
พระโพธิสัตว์นั้น ทรงเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตายและนักบวช
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วย รถทรงเทียมม้า
ทรงผนวชแล้ว ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน

โกณฑัญญกุมาร กำลังผนวชอยู่ คนสิบโกฏิก็บวชตามเสด็จ
โกณฑัญญกุมารนั้น อันคนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน ณ ดิถีเพ็ญเดือน วิสาขะ
เสวยข้าวมธุปายาสรสอร่อยอย่างยิ่ง ซึ่งธิดาเศรษฐีชื่อว่า ยโสธรา
ผู้มีเต้าถันอวบอิ่มเท่ากัน ณ บ้าน สุนันทคาม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าต้นสาละ ที่ประดับด้วยผลใบอ่อนและหน่อ
เวลาเย็นทรงละหมู่แล้วทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุนันทะอาชีวก ถวาย มาแล้ว
ทรงทำประทักษิณ ต้นสาลกัลยาณี [ต้นขานาง] ๓ ครั้ง
ทรงสำรวจดูทิศบูรพา
ทรงทำต้นไม้ที่ตรัสรู้ไว้เบื้องพระปฤษฎางค์
ทรงปูลาดหญ้ากว้าง ๕๘ ศอก
ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังของมาร ในราตรีปฐมยาม
ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในมัชฌิมยาม
ทรงชำระทิพยจักษุในปัจฉิมยาม
ทรงพิจารณาปัจจยาการ
ทรงออกจากจตุตถฌานที่มีอานาปานสติเป็นอารมณ์

ทรงหยั่งสำรวจในปัญจขันธ์
ก็ทรงเห็นลักษณะทั้งหลายด้วยปัญญาอันสม่ำเสมอ โดยอุทยัพพยญาณ
ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณ

ทรงแทงตลอดมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณกำหนดกำเนิด ๔ ญาณ
กำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ และพระพุทธคุณทั้งสิ้น

ทรงมีความดำริบริบูรณ์แล้ว ประทับนั่ง ณ โคนไม้ที่ตรัสรู้
ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 314
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
เมื่อไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมากชาติ
ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนตัณหา นายช่างผู้สร้างเรือน
เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนอีกไม่ได้
โครงสร้างเรือนของท่านเราหักหมดแล้ว
ยอดเรือนเราก็รื้อออกแล้ว
 จิตของเราถึงธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว.

คติแห่งไฟที่ลุกโพลง ที่ภาชนะสัมฤทธิ์ ที่นายช่างตี ด้วยพะเนินเหล็ก
กำจัดแล้วก็สงบเย็นลงโดยลำดับ ไม่มีใครรู้คติความไปของมันได้ ฉันใด.

คติของพระขีณาสพผู้หลุดพ้นโดยชอบ
ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะ บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหว
ก็ไม่มีใครจะรู้คติของท่านได้ ฉันนั้น. ๑

ทรงยับยั้งอยู่ด้วยสุขในผลสมาบัติ
ณ โคนโพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์

ในสัปดาห์ที่ ๘ ทรงอาศัยการอาราธนาของพรหม
ทรงใคร่ครวญว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่ใครเล่าหนอ
ก็ได้ทรงเห็นภิกษุ ๑๐ โกฏิ ซึ่งบวชกับพระองค์ ว่า
กุลบุตรพวกนี้สะสมกุศลมูลไว้ จึงบวชตามเรา ซึ่งกำลังบวช บำเพ็ญเพียรกับเรา บำรุงเรา
เอาเถิด เราจะพึงแสดงธรรมแก่กุลบุตรพวกนี้ก่อนใครหมด

ครั้นทรงใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ก็ทรงตรวจดูว่า
ภิกษุเหล่านั้น บัดนี้อยู่ที่ไหน
ก็ทรงเห็นว่าอยู่กันที่เทวะวัน กรุงอรุนธวดีระยะทาง ๑๘ โยชน์แต่ที่นี้
จึงทรงอันตรธานจากโคนโพธิพฤกษ์
ไปปรากฏที่เทวะวันเหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น.
๑. ขุ. อุ ๒๕/ข้อ ๑๗๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 315
สมัยนั้น ภิกษุสิบโกฏิ เหล่านั้น อาศัยกรุงอรุนธวดี อยู่ที่เทวะวัน.
ก็แลเห็นพระทศพลทรงพุทธดำเนินมาแต่ไกล
พากันมีใจผ่องใสรับเสด็จ
รับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ปูลาดพุทธอาสน์ ทำความเคารพ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแวดล้อม ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

ณ ที่นั้นพระโกณฑัญญทศพล
อันหมู่มุนีแวดล้อมแล้ว ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์อันรุ่งโรจน์
ประดุจท้าวสหัสนัยน์อันหมู่เทพชั้นไตรทศแวดล้อม
ประดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารทที่โคจร ณ พื้นนภากาศอันไร้มลทิน
ประดุจดวงจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม.

ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัส พระธัมมจักกัปวัตตนสูตร
มีปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ อันยอดเยี่ยม
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงซ่องเสพแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น
ทรงยังเทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ
มีภิกษุสิบโกฏิ เป็นประธาน ให้ดื่มอมฤตธรรม.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ภายหลัง สมัยพระทีปังกรพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ ผู้นำโลก
ผู้มีพระเดชไม่มีที่สุดผู้มีบริวารยศกำหนดไม่ได้ มีพระคุณประมาณมิได้ยากที่ผู้ใดจะเข้าเฝ้า
มีพระขันติอุปมาดังแผ่นธรณี
มีพระศีลคุณอุปมาดังสาคร มีพระสมาธิอุปมาดังเขาเมรุมีพระญาณอุปมาดังท้องนภากาศ.
พระพุทธเจ้า ทรงประกาศอินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจ
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทุกเมื่อ.

เมื่อพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลกทรงประกาศ
พระธรรมจักร อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งแรกก็ได้มีแก่ เทวดาและมนุษย์ แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 316
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทีปงฺกรสฺส อปเรน ความว่า ในสมัยต่อจากสมัยของพระทีปังกรศาสดา.
บทว่า โลณฺฑญฺโญ นาม ได้แก่ เป็นพระนามาภิไธยที่ทรงได้รับ โดยพระโคตรของพระองค์.
บทว่า นายโก ได้แก่ เป็นผู้นำวิเศษ.

บทว่า อนนฺตเตโช ได้แก่ มีพระเดชไม่มีที่สุด
ด้วยเดชแห่งพระศีลคุณพระญาณและบุญ.
เบื้องต่ำแต่อเวจี
เบื้องบนถึงภวัคคพรหม
เบื้องขวาง โลกธาตุอันไม่มีที่สุด
ในระหว่างนี้ แม้บุคคลผู้หนึ่ง
ชื่อว่า เป็นผู้สามารถที่จะยืนมองพระพักตร์ของพระองค์ไม่มีเลย

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า อนนฺตเตโช.
บทว่า อมิตยโส ได้แก่ มีบริวารยศไม่มีที่สุด.
จริงอยู่ แสนปีของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตลอดจนถึงสมัยเสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในระหว่างนี้ จำนวนภิกษุบริษัทกำหนดไม่ได้เลย.
เพราะฉะนั้นจึงตรัสว่า
อมิตยโส แม้ผู้มีเกียรติคุณที่กำหนดมิได้ ก็ตรัสว่า อมิตยโส.
บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ผู้ประมาณมิได้ โดยปริมาณหมู่แห่งคุณ
เหตุนั้นจึงชื่อว่า อปฺปเมยฺโย มีพระคุณหาประมาณมิได้

เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
พุทฺโธปิ พุทฺธสฺส ภเณยฺย วณฺณํ
กปฺปมฺปิ เจ อญฺญมภาสมาโน
ขีเยถ กปฺโป จิรทีฆมนฺตเร
วณฺโณ น ขีเยถ ตถาคตสฺส.
ถ้าแม้ว่าพระพุทธเจ้า พึงตรัสสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้า
โดยไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย แม้ตลอดทั้งกัป.
กัปที่มีในระหว่างกาลอันยาวนาน ก็จะพึงสิ้นไป
แต่การสรรเสริญพระคุณของพระตถาคต ยังหาสิ้นไปไม่.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 317
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงเรียกว่าอัปปเมยยะ
เพราะทรงมีหมู่พระคุณประมาณมิได้.
บทว่า ทูราสโท ได้แก่ เป็นผู้อันใครๆ เข้าเฝ้าได้ยาก
อธิบายว่า ความเป็นผู้อันใครๆ ไม่อาจเบียดเสียดกันเข้าไปเฝ้า
ชื่อว่า ทุราสทะ คือ เป็นผู้อันใครๆ ไม่มีอำนาจเทียบเคียงได้.
บทว่า ธรณูปโม ได้แก่ ผู้เสมอด้วยแผ่นธรณี.
บทว่า ขมเนน ได้แก่ เพราะพระขันติ
พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่า ผู้อุปมาด้วยแผ่นธรณ
เพราะไม่ทรงหวั่นไหวด้วยอิฐารมณ์และอนิฐารมณ์ มีลาภและไม่มีลาภเป็นต้น
เหมือนมหาปฐพีอันหนาถึงสองแสนสี่หมื่นโยชน์ ไม่ไหวด้วยลมปกติฉะนั้น.
บทว่า สีเลน สาครูปโม ได้แก่ ทรงเสมอด้วยสาคร
เพราะไม่ทรงละเมิดขอบเขตด้วยศีลสังวร
จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มหาสมุทร ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ล่วงขอบเขต ดังนี้.
บทว่า สมาธินา เมรูปโม ได้แก่ ทรงเป็นผู้เสมอคือเสมือนด้วยขุนเขาเมรุ
เพราะไม่มีความหวั่นไหวอันจะเกิดแต่ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อสมาธิ
หรือว่ามีพระสรีระมั่นคง เหมือนขุนเขาเมรุ.
ในบทว่า ญาเณน คคนูปโม นี้ ท่านทำอุปมาด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุด
เพราะพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีที่สุด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อนันตะ ไม่มีที่สุดไว้ ๔ อย่าง
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
สตฺตกาโย จ อากาโส จกฺกวาฬา จนนฺตกา
พุทฺธญาณํ อปฺปเมยฺยํ น สกฺกา เอเต วิชานิตุํ.
หมู่สัตว์ ๑
อากาศ ๑
จักรวาล ไม่มีที่สุด ๑
พระพุทธญาณ หาประมาณมิได้ ๑
ทั้ง ๔ นี้อันใคร ๆไม่อาจรู้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 318
เพราะฉะนั้น จึงทรงทำอุปมาญาณอันไม่มีที่สุด ด้วยอากาศที่ไม่มีที่สุดแล.
บทว่า อินฺทฺริยพลโพชฺฌงฺคมคฺคสจฺจปฺปกาสนํ ความว่า
แม้สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน แสะอิทธิบาท ก็เป็นอันทรงถือเอาด้วย
ด้วยการถือเอา อินทรีย์ พละ โพชฌงค์และมรรคสัจเหล่านี้
เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศแสดงธรรมเป็นเครื่องประกาศ
โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยสังเขป ๔ มีอินทรีย์เป็นต้น.
บทว่า หิตาย แปลว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล.
บทว่า ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตนฺเต ได้แก่ เมื่อทรงให้เทศนาญาณเป็นไปอยู่.

ต่อจากนั้น ในมหามงคลสมาคม
เทวดาในหมื่นจักรวาล เนรมิตอัตภาพอันละเอียด
ประชุมกันในจักรวาลนี้นี่แล.

เล่ากันว่า ในมหามงคลสมาคมนั้น
เทพบุตรองค์หนึ่ง ทูลถามมงคลปัญหา กะพระโกณฑัญญทศพล
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสมงคลทั้งหลายโปรดเทพบุตรองค์นั้น.

ในมหามงคลสมาคมนั้น
เทวดาเก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต.
จำนวนพระอริยบุคคลมีพระโสดาบัน เป็นต้นกำหนดไม่ได้เลย
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมนอกไปจากนั้น
โปรดมนุษย์และเทวดาทั้งหลายในสมาคม
อภิสมัยการตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ เทวดาเก้าหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตโต ปรมฺปิ ได้แก่ แม้ในส่วนอื่นอีก จากนั้น.
บทว่า เทเสนฺเต ได้แก่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม.
บทว่า นรมรูนํ ได้แก่ แก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย. ครั้งใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 319
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ย่ำยีมานะของเดียรถีย์
ทรงแสดงธรรม ณ ภาคพื้นนภากาศ
ครั้งนั้น มนุษย์และเทวดาแปดหมื่นโกฏิ บรรลุพระอรหัต
ผู้ที่ตั้งอยู่ในผล ๓ เกินที่จะนับได้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงย่ำยีพวก
เดียรถีย์ จึงทรงแสดงธรรมโปรด ครั้งนั้น อภิสมัย
การตรัสรู้ธรรมครั้งที่ ๓ จึงได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
แก้อรรถ
พึงนำ ตทา ศัพท์ มาจึงจะเห็นความในคาถานั้นว่า
ครั้งใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยจึงได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ได้ยินว่า
พระโกณฑัญญศาสดา
ตรัสรู้พระอภิสัมโพธิญาณแล้ว พรรษาแรก
ทรงอาศัย กรุงจันทวดี ประทับอยู่ ณ พระวิหาร จันทาราม

ในที่นั้น ภัททมาณพ บุตรของพราหมณ์มหาศาล ชื่อ สุจินธระ และ
สุภัททมาณพ บุตรของ ยโสธรพราหมณ์
 
ฟังพระธรรมเทศนาเฉพาะพระพักตร์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
มีใจเลื่อมใส ก็บวชในสำนักของพระองค์ พร้อมกับมาณพหมื่นหนึ่งแล้วบรรลุพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระโกณฑัญญศาสดา
อันภิกษุแสนโกฏิมีพระสุภัททเถระ
เป็นประธานแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ เพ็ญเดือนเชษฐะ(เดือน ๗) นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๑.
ต่อจากนั้น เมื่อพระโอรสของพระโกณฑัญญศาสดา พระนามว่า วิชิตเสนะ
ทรงบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ณ ท่ามกลางภิกษุพันโกฏิ
มีพระวิชิตเสนะนั้นเป็นประธาน นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 320
สมัยต่อมา พระทศพลเสด็จจาริก ณ ชนบท
ทรงยัง พระเจ้าอุเทน ซึ่งมีชนเก้าสิบโกฏิเป็นบริวารให้ทรงผนวชพร้อมด้วยบริษัท
เมื่อพระเจ้าอุเทนนั้น ทรงบรรลุพระอรหัตแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้า อันพระอรหันต์เก้าสิบโกฏิ
มีพระเจ้าอุเทนนั้นเป็นประธานแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นการประชุมครั้งที่ ๓
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุมภิกษุ ผู้เป็นพระขีณาสพ ไร้มลทินผู้มีจิตสงบผู้คงที่ ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุพันโกฏิ
ครั้งที่ ๓ ประชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ.

ได้ยินว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า วิชิตาวี
ประทับอยู่ ณ กรุงจันทวดี
เล่ากันว่า พระองค์อันคนชั้นดี เป็นอันมากแวดล้อมแล้ว
ทรงปกครองแผ่นดิน อันเป็นที่อยู่แห่งน้ำและขุมทรัพย์
พร้อมทั้งขุนเขาสุเมรุและยุคันธร
ทรงไว้ซึ่งรัตนะหาประมาณมิได้โดยธรรม ไม่ใช้อาชญา ไม่ใช้ศัสตรา

ครั้งนั้น พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
อันพระขีณาสพแสนโกฏิแวดล้อมแล้ว เสด็จจาริก ณ ชนบท เสด็จถึงกรุงจันทวดีโดยลำดับ.

เล่ากันว่า
พระเจ้าวิชิตาวี ทรงสดับข่าวว่า
เขาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จถึงนครของเราแล้ว จึงออกไปรับเสด็จ
จัดแจงสถานที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า
นิมนต์เพื่อเสวยภัตตาหาร ณ วันรุ่งขึ้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์.

วันรุ่งขึ้น ก็ทรงให้เขาจัดภัตตาหารเป็นอย่างดีแล้ว
ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์นับได้แสนโกฏิ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 321
พระโพธิสัตว์ ทรงให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว
จบอนุโมทนา ทรงทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เมื่อจะทรงทำการสงเคราะห์มหาชน
ขอโปรดประทับอยู่ในนครนี้นี่แหละตลอดไตรมาส
ได้ทรงถวายอสทิสทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เป็นนิตย์ ตลอดไตรมาส.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ ว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตกาล
แล้วทรงแสดงธรรมแก่พระองค์ท้าวเธอทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว
ทรงมอบราชสมบัติ ออกทรงผนวช ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก
ทำสมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕ ให้เกิดแล้ว มีฌานไม่เสื่อม
ก็บังเกิดในพรหมโลก
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่าวิชิตาวี เป็นใหญ่เหนือปฐพี มีสมุทรสาครเป็นที่สุด.
เรายังพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่แสนโกฏิ
พร้อมด้วยพระผู้ทรงเป็นนาถะเลิศแห่งโลก ให้อิ่มหนำด้วยข้าวนำอันประณีต.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้นำโลก
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
จักเป็นพระพุทธเจ้าผู้มีคุณที่ประมาณมิได้ในโลก ในกัปต่อจากกัปนี้.

พระตถาคต จักออกทรงผนวช จากกรุงกบิลพัสดุ์อันรื่นรมย์
ทรงกระทำความเพียร คือ กระทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต จักประทับนั่งที่โคนต้นอชปาลนิโครธ รับมธุปายาส ณ ที่นั้น
แล้วเสด็จไปสู่ฝั่งแห่งแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 322
พระชินเจ้า พระองค์นั้น ครั้นเสวยมธุปายาสที่ฝั่งเนรัญชรานั้นแล้ว
ก็เสด็จไปที่ควงโพธิพฤกษ์ตามเส้นทางที่มีผู้จัดแจงไว้.

ลำดับนั้น
พระองค์ผู้ทรงพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมณฑ์อันประเสริฐสุด
จักตรัสรู้ (พระสัมมาสัมโพธิญาณ) ณ ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพุทธมารดา พระนามว่า มายา
มีพระชนกพุทธบิดา พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า โกลิตะและอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง
จักมีพุทธอุปัฏฐากชื่อ อานันทะ บำรุงพระชินะนั้น.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่าเขมา และอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีจิตสงบและมั่นคง.
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
จักมีอัครอุปัฏจาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถะและอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระชนมายุของพระโคตมะผู้มียศพระองค์นั้น ประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลายฟังพระดำรัสของพระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ไม่มีผู้เสมอนี้แล้ว ก็พากันปลื้มใจว่า ผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.

เทวดาในหมื่นโลกธาตุ พากันโห่ร้องปรบมือ
หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 323
ผิว่า พวกเราพลาดคำสอน ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ตรงหน้า ก็ถือท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า พ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไป
ในอนาคตกาล ก็จักอยู่ต่อหน้าท่านผู้นี้ ฉันนั้น.

เราได้ฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้นไป
เมื่อจะให้สำเร็จประโยชน์นั้น นั่นแล จึงถวายมหาราชสมบัติแด่พระชินเจ้า
ครั้นถวายมหาราชสมบัติแล้ว ก็บวชในสำนักของพระองค์.

เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย นวังคสัตถุศาสน์ทุกอย่าง
ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.
เราอยู่อย่างไม่ประมาท ในพระศาสนานั้น
ในอิริยาบถนั่งนอนและเดิน ก็ถึงฝั่งแห่งอภิญญาเข้าถึงพรหมโลก.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อหํ เตน สมเยน ได้แก่ เราในสมัยนั้น.
บทว่า วิชิตาวี นาม ได้แก่ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มีพระนามอย่างนี้.
ในบทว่า สมุทฺทํ อนฺตมนฺเตน นี้ ความว่า เราเป็นใหญ่ ตลอด
ปฐพีที่ตั้งจักรวาลบรรพต ทำจักรวาลบรรพตเป็นเขตแดน ทำสมุทรสาครเป็นที่สุด
ความเป็นใหญ่มิใช่ปรากฏด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 324
เล่ากันว่า
ด้วยอานุภาพแห่งจักรรัตนะ พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จไปยังบุพวิเทหทวีป
ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ทางส่วนบนสมุทร มีเขาสิเนรุอยู่เบื้องซ้าย

ในที่นั้น พระเจ้าจักรพรรดิ จะประทานโอวาทว่า
ไม่ควรฆ่าสัตว์มีชีวิต
ไม่ควรถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้.
ไม่ควรประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
ไม่ควรพูดเท็จ
ไม่ควรดื่มน้ำเมา
จงบริโภคของตามบริโภคได้.

เมื่อประทานโอวาทอย่างนี้แล้ว
จักรรัตนะนั้นก็เหาะสู่อากาศหยั่งลงสมุทรด้านทิศบูรพา
หยั่งโดยประการใดๆ คลื่นที่หดตัว ก็แตกกระจาย
เมื่อเดินลงก็เดินลงสู่น้ำในมหาสมุทร ชั่วโยชน์เดียว
ตั้งอยู่น่าดูอย่างยิ่ง เหมือนฝาแก้วไพฑูรย์แก้วมณี
ทั้งสองข้างภายในสมุทร โดยประการนั้น ๆ
จักรรัตนะนั้นไปตลอดที่มีสาครด้านทิศบูรพาเป็นที่สุดอย่างนั้น ก็หมุนกลับ
เมื่อจักรรัตนะนั้นหมุนกลับ บริษัทนั้นก็อยู่ทางปลาย พระเจ้าจักรพรรดิอยู่ตรงกลาง
ตัวจักรรัตนะอยู่ท้าย จักรรัตนะแม้นั้น กระทบน้ำ มีมณฑลดื่มเป็นที่สุดเท่านั้น
เหมือนไม่ยอมพรากชายน้ำ จึงเข้าสู่ริมฝั่ง.

พระเจ้าจักรพรรดิ
ทรงชนะบุพวิเทหทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศบูรพา เป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว
มีพระราชประสงค์จะทรงชนะชมพูทวีป ซึ่งมีสมุทรด้านทิศทักษิณเป็นที่สุด
จึงมุ่งพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ เสด็จไปตามทางที่จักรรัตนะแสดง จักรรัตนะนั้น

ครั้นชนะชมพูทวีป ซึ่งมีขนาดหมื่นโยชน์แล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศทักษิณ
ก็ไปโดยนัยที่กล่าวแล้วแต่หนหลัง เพื่อชนะอปรโคยานทวีป ซึ่งมีขนาดเจ็ดพันโยชน์

ครั้นชนะอปรโคยานทวีปนั้น
ซึ่งมีสาครเป็นที่สุดแล้ว ก็ขึ้นจากสมุทรด้านทิศปัจฉิมไปอย่างนั้นเหมือนกัน
เพื่อชนะอุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีขนาดแปดพันโยชน์ ก็ชนะอย่างนั้นเหมือนกัน

ทำอุตตรกุรุทวีปนั้น มีสมุทรเป็นที่สุด ก็ขึ้นแม้จากสมุทรด้านทิศอุดร.
ความเป็นใหญ่ เป็นอันพระเจ้าจักรพรรดิทรงประสบแล้วเหนือปฐพี
ที่มีสาครเป็นที่สุด ด้วยเหตุมีประมาณเพียงเท่านี้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เราเป็นใหญ่เหนือปฐพีมีสมุทรเป็นที่สุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 325
บทว่า โกฏิสตสหสฺสานํ ได้แก่ แสนโกฏิ. หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
บทว่า วิมลานํ ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลาย.
บทว่า สหโลกคฺคนาเถน ความว่า แสนโกฏิกับด้วยพระทศพล.
บทว่า ปรมนฺเนน แปลว่า ด้วยข้าวอันประณีต.
บทว่า ตปฺปหึ แปลว่า ให้อิ่มแล้ว.
บทว่า อปริเมยฺยิโต กปฺเป ความว่า
ล่วงไปสามอสงไขยกำไรแสนกัปนับตั้งแต่กัปนี้ คือ ในภัทรกัปนี้.
บทว่า ปธานํ แปลว่า ความเพียร.
บทว่า ตเมว อตฺถํ สาเธนฺโต ความว่า
บำเพ็ญประโยชน์คือทานบารมีอันทำความเป็นพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล ให้สำเร็จ ให้เป็นผล.
บทว่า มหารชฺชํ ได้แก่ ความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ.
บทว่า ชิเน ได้แก่ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า หรือพึงเห็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถจตุตถีวิภัตติ.
บทว่า อทํ แปลว่า ได้ให้แล้ว.
พึงเห็นการเชื่อมความด้วยบทนี้ว่า เอวมตฺถํ สาเธนฺโต
อาจารย์บางพวกสวดว่า
มหารชฺชํ ชิเน ททึ ดังนี้ก็มี.
บทว่า ททิตฺวาน ได้แก่ สละ.
บทว่า สุตฺตนฺตํ ได้แก่ สุตันตปิฎก.
บทว่า วินยํ ได้แก่ วินัยปิฎก.
บทว่า นวฺงคํ ได้แก่ นวังสัตถุศาสน์มีสุตตะ เคยยะเป็นต้น.
 บทว่า โสภยึ ชินสาสนํ ได้แก่ ประดับพร้อมด้วยอาคมและอธิคมอันเป็นโลกิยะ.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น .
บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยสติ.
บทว่า พฺรหฺมโลกมคญฺฉหํ ตัดบทเป็น พฺรหฺมโลกํอคญฺฉึ อหํ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระองค์นี้
มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี
พระชนกทรงพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดาเทวี.
คู่พระอัครสาวกคือ พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พระอุปัฏฐากชื่อว่า อนุรุทธะ
คู่พระอัครสาวิกา คือ พระติสสา และ พระสุอุปติสสา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ คือต้น สาลกัลยาณี [ขานาง]
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 326
พระชนมายุประมาณแสนปี
พระองค์มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า วิชิตเสนะ
มีอุปัฏฐาก พระนามว่า เจ้าจันทะ
ประทับอยู่ ณ พระวิหารจันทารามแล

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้ทรงแสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า รัมมวดี
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุนันทะ
มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระภัททะ และ พระสุภัททะ
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอนุรุทธะ.

พระโกณฑัญญพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระติสสา และ พระอุปติสสา
มีตัดต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าต้นสาลกัลยาณี.

พระมหามุนีพระองค์นั้น สูง ๘๘ ศอก สง่างาม
เหมือนดวงจันทร์ เหมือนดวงอาทิตย์เที่ยงวัน ฉะนั้น.
ในยุคนั้น ทรงมีพระชนมายุแสนปี

พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น ก็ยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แผ่นเมทนี งดงาม ด้วยพระขีณาสพทั้งหลายผู้ไร้มลทิน
ก็เหมือนท้องนภากาศ งดงามด้วยเหล่าดวงดาวทั้งหลาย
พระโกณฑัญญพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทรงงดงามอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
พระขีณาสพแม้เหล่านั้น หาประมาณมิได้ อันโลกธรรมให้ไหวมิได้
ยากที่สัตว์จะเข้าไปหา พระผู้มียศใหญ่เหล่านั้น
แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบแล้ว ต่างก็ดับขันธ์ปรินิพพาน.
พระวรฤทธิ์ของพระชินเจ้า ที่ไม่มีผู้เทียบได้นั้น
และพระสมาธิที่พระญาณอบรมแล้ว ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสั้น
สังขารทุกอย่างก็ว่างเปล่าโดยแน่แท้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาลกลฺยาณิโก ได้แก่ ต้นสาลกัลยาณี ต้นสาลกัลยาณีนั้น เกิดในสมัยมีพระพุทธเจ้า
และสมัยมีพระเจ้าจักรพรรดิเท่านั้น ไม่เกิดในสมัยอื่น.

เล่ากันว่า
ต้นสาลกัลยาณีนั้น ผุดขึ้นวันเดียวเท่านั้น.
บทว่า ขีณาสเวหิ วิมเลหิ วิจิตฺตา อาสิ เมทนี ความว่า
แผ่นเมทนีนี้รุ่งเรืองด้วยผ้ากาสาวะ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย น่าดูอย่างยิ่ง
ศัพท์ว่า ยถา หิ เป็นนิบาตลงในอรรถอุปมา.
บทว่า อุฬูภิ แปลว่า ด้วยดวงดาวทั้งหลาย อธิบายว่า แผ่นเมทนีนี้ งดงามด้วยพระขีณาสพทั้งหลาย
ชื่อว่า สง่างามเหมือนท้องนภากาศงดงามด้วยหมู่ดาวทั้งหลาย.
บทว่า อสุงฺโขพฺภา ได้แก่ ไม่กำเริบ ไม่วิกาด้วยโลกธรรม ๘ ประการ.
บทว่า วิชฺชุปาตํว ทสฺเสตฺวา แปลว่า แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบ.
ปาฐะว่า วิชฺชุปฺปาตํ ว ดังนี้ก็มี.
ความจริง ครั้งพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อปรินิพพานก็โลดขึ้นสู่อากาศชั่ว ๗ ต้นตาล รุ่งโรจน์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 328
ไปรอบๆ เหมือนสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ สีน้ำเงินแก่
เข้าเตโชธาตุแล้วก็ปรินิพพาน เหมือนไฟหมดเธอ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
แสดงตัวเหมือนสายฟ้าแลบ.
บทว่า อตุลิยา แปลว่า ชั่งไม่ได้ ไม่มีผู้เสมือน.
บทว่า ญาณปริภาวิโต แปลว่า อันญาณให้เจริญแล้ว
คาถาที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยที่กล่าวมาแต่หนหลังแล.

พระโกณฑัญญสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารจันทาราม ที่น่ารื่นรมย์
เขาสร้างพระเจดีย์สำหรับพระองค์ เจ็ดโยชน์.
พระธาตุทั้งหลาย ของพระศาสดาพระองค์นั้นไม่กระจัดกระจาย
คงดำรงอยู่เป็นแท่งเดียว เหมือนรูปปฏิมาทอง.

มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ช่วยกันเอาหินอ่อนสีเหลือง ก่อแทนดิน
ใช้น้ำมันและเนยแทนน้ำสร้างจนแล้วเสร็จแล.
จบ พรรณนาวงศ์พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329


หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 10