เราผู้เดียวเท่านั้น เพราะไม่มีผู้อื่นเป็นเพื่อนสอง.
เชื่อมความว่า เราเป็นชฎิลดาบสคือผู้ทรงไว้ซึ่งชฎา
ไม่มีเพื่อนสอง คือเว้น จากดาบสคนที่ ๒ในกาลนั้นเราอยู่ที่ภูเขา ชื่อว่า นิสภะ.
บทว่า ผลํ มูลญฺจ ปณฺณญฺจน ภุญฺชามิ อหํ ตทา ความว่า ในกาลนั้น คือในกาลที่เราอยู่ที่นิสภบรรพตนั้น เราไม่ได้บริโภคผลไม้ เหง้ามันและใบไม้ที่เก็บจากต้น.
เมื่อแสดงถึงข้อนั้นว่า เป็นเช่นนี้ จะเป็นอยู่ได้อย่างไร
จึงกล่าวว่า ปวตฺตํ วสุปาตาหํ ดังนี้. เชื่อมความว่า
ในกาลนั้นเราอาศัยใบไม้เป็นต้น ที่หล่นเองในที่นั้น ๆ คือ ที่ตกไปตามธรรมดาของตน เป็นอาหารเลี้ยงชีพ
อีกอย่างหนึ่งบาลีว่า ปวตฺตปณฺฑุปณฺณานิ ดังนี้ก็มี. ความว่า
เราอาศัยใบไม้เหลืองที่หล่นเองเลี้ยงชีพ.
บทว่า นาหํ โกเปมิ อาชีวํ ความว่า เราแม้เมื่อจะสละชีวิต คือเมื่อทำการบริจาค ย่อมไม่ยังสัมมาอาชีวะให้กำเริบคือให้พินาศ ในการแสวงหาอาหาร มีมูลผลาผลเป็นต้น
ด้วยอำนาจตัณหา.
บทว่า อาราเธมิสกํ จิตฺตํ ความว่า ย่อมยังจิตคือใจของตนให้ยินดี คือให้เลื่อมใส ด้วย
ความมักน้อยและสันโดษ.
บทว่า วิวชฺเชมิ อเนสนํ ความว่า เราเว้นการแสวงหาอันไม่สมควร ด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรม และทูตกรรมเป็นต้นให้ห่างไกล.
บทว่า ราคูปสํหิตํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อใดคือในกาลใด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 83
จิตของเราสัมปยุตด้วยราคะย่อมเกิดขึ้น
ในกาลนั้นเราพิจารณาตนด้วยตนเอง คือพิจารณาด้วยญาณแล้วบรรเทา.
บทว่า เอกคฺโค ตํ ทเมมหํ ความว่า เราเป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่น ในอารมณ์แห่งกรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง ย่อมฝึกคือกระทำการทรมานจิตที่ประกอบด้วยราคะ.