ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด เล่ม35หน้า81พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 81
[/color]
๖. กุหสูตรว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใด
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง
ใจไม่มั่น ภิกษุเหล่านั้นนับว่าไม่นับถือเรา และชื่อว่าออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้แล้ว
ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ให้พระธรรมวินัยนี้.
ส่วนภิกษุเหล่าใด
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดี ภิกษุเหล่านั้นนับว่านับถือเรา และไม่ออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้
ภิกษุเหล่าใด
หลอกลวง
ดื้อรั้น
พล่ามเพ้อ
ไว้ตัว
เย่อหยิ่ง และ
ใจไม่มั่นภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
ภิกษุเหล่าใด
ไม่หลอกลวง
ไม่พล่ามเพ้อ
ฉลาด
ไม่ดื้อรั้น
ใจมั่นคงดีภิกษุเหล่านั้นแล ย่อนงอกงามในพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.
จบกุหสูตรที่ ๖
[/color][/b]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 82
[/color][/b]
อรรถกถากุหสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในกุหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กุหา แปลว่า ผู้หลอกลวง.
บทว่า ถทฺธา ได้แก่ ดื้อรั้นด้วยความโกรธ และมานะ.
บทว่า ลปา ได้แก่ พูดพล่าม.
บทว่า สิงฺคี ความว่า ผู้ประกอบด้วยกิเลสที่ปรากฏเสมือนเขาสัตว์
ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่าบรรดากิเลสเหล่านั้น
การไว้ตัวเป็นไฉน ? คือ การไว้ตัว ภาวะคือการไว้ตัวภาวะคือการไว้ในตัวในอิริยาบถ ๔
กิริยาวางท่าในอิริยาบถ ๔ ภาวะคือความมีคนแวดล้อม กิริยาวางท่ากับคนแวดล้อม.
บทว่า อุนฺนฬา ความว่า เป็นดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น คือยกมานะเปล่า ๆ ขึ้นตั้ง.
บทว่า อสมาหิตา ความว่า ไม่ได้แม้เพียงเอกัคคตาจิต.
บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุเหล่านั้นของเรา ไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา.
ก็บทนี้ว่า เต มยฺหํ ตรัสเพราะบวชอุทิศพระศาสดา.
บทว่า เต โข เม ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ก็ตรัสเพราะบวชอุทิศตนในศาสนาแม้นี้
แต่ตรัสว่า มามกา เพราะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.
บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺลํ อาปชฺชนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญ
เพราะ เจริญด้วยศีลาทิคุณ ความงอกงาม
เพราะไม่หวั่นไหว ความไพบูลย์
เพราะ แผ่ไปในที่ทุกสถาน
ก็ภิกษุเหล่านี้นั้นย่อมงอกงามจนถึงอรหัตมรรค
เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า งอกงาม.
ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถากุหสูตรที่ ๖__
[/color][/b]