พระวีตโสกเถระ51-123
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 123
๕. วีตโสกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระวีตโสกเถระ
[๒๘๒] ได้ยินว่า พระวีตโสกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงรับเอากระจกจากช่างกัลบกนั้นมาส่องดูร่างกาย
ร่างกายของเรานี้ได้ปรากฏเป็นของว่างเปล่า
ความมืดคืออวิชชา ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดแล้ว บัดนี้ ภพใหม่มิได้มี.
อรรถกถาวีตโสกเถรคาถา
คาถาของท่านพระวีตโสกเถระ เริ่มต้นว่า เกเส เม โอลิขิสฺสนฺติ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำแล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ
สั่งสมบุญมากมายไว้ในภพนั้น ๆ เกิดในตระกูลพราหมณ์
ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ
ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปศาสตร์ของพราหมณ์ แล้วละกามทั้งหลาย
บวชเป็นฤๅษี อันหมู่ฤๅษีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในป่า
สดับข่าวความบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าร่าเริงยินดีแล้ว
ดำริว่า พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาโอกาสเฝ้าได้ยาก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 124
อุปมาเหมือนดอกมะเดื่อ เราควรเข้าเฝ้าในบัดนี้แหละ
ดังนี้แล้วแล้วเดินทางไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับบริษัทหมู่ใหญ่
เมื่อเหลือทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่งจะถึง ก็ล้มป่วยถึงความตาย
โดยสัญญา อันส่งไปแล้วในพระพุทธเจ้า
บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เกิดเป็นน้องชายคนเล็กของพระเจ้าธรรมาโศกราช
ในที่สุดแห่งปีพุทธศักราช ๒๑๘ ในพุทธุปบาทกาลนี้.
ท่านได้มีพระนามว่า วีตโสกะ.
วีตโสกราชกุมาร เจริญวัยแล้ว ถึงความสำเร็จในวิชาและศิลปะศาสตร์
ที่พึงศึกษาร่วมกับขัตติยกุมารทั้งหลายแล้ว (ศึกษาจนแตกฉานเชี่ยวชาญ)
แกล้วกล้าในสุตตันตปิฎกและในพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๆ ที่เป็นคฤหัสถ์
โดยอาศัยพระคิริทัตตเถระ
วันหนึ่งรับกระจกจากมือของช่างกัลบก ในเวลาปลงพระมัสสุ
มองดูพระวรกาย เห็นอวัยวะที่มีหนังเหี่ยวและผมหงอกเป็นต้น
บังเกิดความสลดพระทัย ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา แล้วยกขึ้นสู่ภาวนา เป็นพระโสดาบัน บนอาสนะนั้นเอง
บวชในสำนักของพระคิริทัตตเถระ แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.
สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
เราเป็นคนเล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพทชำนาญในคัมภีร์ทำนายมหาปุริสลักษณะ
คัมภีร์อิติหาสะพร้อมด้วยคัมภีร์นิคัณฑุศาสตร์และคัมภีร์เกตุภศาสตร์
ครั้งนั้นพวกศิษย์มาหาเราปานดังกระแสน้ำ
เราไม่เกียจคร้าน บอกมนต์แก่ศิษย์เหล่านั้นทั้งกลางวันและกลางคืน
ในกาลนั้น พระสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 125
ทรงกำจัดความมืดมิดให้พินาศแล้ว ยังแสงสว่างคือพระญาณให้เป็นไป
ครั้งนั้น ศิษย์ของเราคนหนึ่ง ได้บอกแก่ศิษย์ทั้งหลายของเรา พวกเขาได้ฟังความนั้น
จึงได้บอกเรา เราคิดว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้เป็นนายกของโลก
เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ชนย่อมอนุวัตรตามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น เราไม่มีลาภ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้มีการอุบัติเลิศลอย มีจักษุ ทรงยศใหญ่ไฉนหนอ
เราพึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดเป็นผู้นำของโลก
เราถือหนังเสือผ้าเปลือกไม้กรองและคนโทน้ำของเราแล้ว
ออกจากอาศรม เชิญชวนพวกศิษย์ว่า ความเป็นผู้นำโลกหาได้ยาก
เหมือนกับดอกมะเดื่อ กระต่ายในดวงจันทร์ หรือเหมือนกับน้ำนมกา ฉะนั้น
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลกแม้ความเป็นมนุษย์ก็หาได้ยาก และ
เมื่อความเป็นผู้นำโลก และความเป็นมนุษย์ทั้งสองอย่างมีอยู่ การได้ฟังธรรมก็หาได้ยาก
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกเราจักได้ดวงตาอันเป็นของพวกเรา
มาเถิดท่านทั้งหลาย
เราจักไปยังสำนักของพระพุทธเจ้า ด้วยกันทุกคน
ศิษย์ทุกคนแบกคนโทน้ำ นุ่งหนังเสือทั้งเล็บ
พวกเขาเต็มไปด้วยภาระ คือ ชฎา พากันออกไปจากป่าใหญ่ในครั้งนั้น
พวกเขามองดูประมาณชั่วแอก แสวงหาประโยชน์อันสูงสุด เดินมาเหมือนลูกช้าง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 126
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง ประหนึ่งไกรสรสีหราช ฉะนั้น เขาทั้งหลายไม่มีความสะดุ้ง
หมดความละโมบ มีปัญญา มีความประพฤติสงบ เที่ยวเสาะแสวงหาโมกขธรรม
ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด (ก่อนจะถึงที่หมาย) เหลือระยะทางอีกหนึ่งโยชน์ครึ่ง
เราเกิดเจ็บป่วยขึ้น เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแล้วตาย ณ ที่นั้น
ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้
เราได้สัญญาใดในกาลนั้น ด้วยการได้สัญญานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระพุทธเจ้า.
เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯ ล ฯ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตผล
ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
ช่างกัลบกเข้ามาหาเรา ด้วยคิดว่า จักตัดผมของเรา
เราจึงเอากระจก จากช่างกลับนั้น มาส่องดูดูร่างกาย
ร่างกายของเรามิได้ปรากฏเป็นของเปล่า ความมืดคือ
อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้
หายหมดสิ้นไป กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เกเส เม โอลิขิสฺลนฺติ กปฺปโกอุปสงฺกมิ ความว่า ในเวลาที่เราเป็นคฤหัสถ์
ในเวลาโกนหนวด ช่างกัลบก คือช่างทำผม คิดว่า จักตัด จะแต่งผมของเรา จึงเข้ามาหาเรา โดยเตรียมจะตัดผมเป็นต้น.
บทว่า ตโต ได้แก่ จากช่างกัลบกนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 127
บทว่า สรีรํ ปจฺจเวกฺขิสฺส ความว่า พิจารณาร่างกายที่ชราครอบงำแล้ว ด้วยตนเองว่า ร่างกายของเราถูกชราครอบงำแล้วหนอ ดังนี้ ด้วยมุข คือการดูนิมิตบนใบหน้า
ที่มีผมหงอกและหนังเหี่ยวย่นเป็นต้น ในกระจก ได้ทั่วทั้งร่าง.
ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างนี้ ร่างกายของเราก็ปรากฏเป็นของว่างเปล่าคือร่างกายของเราได้ปรากฏ คือ
เห็นชัดว่าเป็นของว่างเปล่า จากสภาพต่าง ๆมีสภาพที่เที่ยง ยั่งยืนและเป็นสุข เป็นต้น.
เพราะเหตุไร ?
เพราะความมืดคือ อวิชชาในกาย อันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน ได้หายหมดสิ้นไป
อธิบายว่า คนทั้งหลาย ที่อยู่ในอำนาจของความมืด ในกายของตน ด้วยความมืดกล่าวคือ อโยนิโสมนสิการใด
เมื่อไม่เห็นสภาพมีสภาพที่ไม่งามเป็นต้น แม้มีอยู่ย่อมถือเอาอาการว่าเป็นของงามเป็นอันไม่มีอยู่
ความมืดคืออวิชชา
ในกายอันเป็นต้นเหตุแห่งความมืดมน คือเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำความมืดนั้น
ได้หายหมดสิ้นไป ด้วยแสงสว่างแห่งญาณ กล่าวคือ โยนิโสมนสิการ
ต่อจากนั้น
กิเลสดุจผ้าขี้ริ้วทั้งปวง เราก็ตัดได้ขาด คือกิเลสทั้งหลายอันได้นามว่า โจฬา
เพราะเป็นดุจพวกโจร โดยการเข้าไปตัดภัณฑะคือกุศล หรือเป็นดุจผ้าขี้ริ้ว
เพราะความเป็นท่อนผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้งแล้วในกองขยะเป็นต้น โดยเป็นเศษผ้าที่ติดลูกไฟ (หรือ) โดยเป็นผ้าที่คนดีไม่ต้องการ
เพราะความเป็นของอันอิสรชน คือคนเจริญรังเกียจ อันเราตัดขาดแล้ว
ก็เพราะความที่กิเลสเพียงดังผ้าขี้ริ้วเหล่านั้น เป็นของอันเราเพิกถอนได้แล้ว ด้วยมรรคอันเลิศ นั่นแล
บัดนี้ภพใหม่จึงมิได้มี ได้แก่การจะไปเกิดในภพใหม่ ไม่มีอีกต่อไป.
จบอรรถกถาวีตโสกเถรคาถา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้าที่ 128