พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 458
๑๐. วงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
ว่าด้วยพระประวัติของปทุมุตตรพุทธเจ้า
[๑๑] ต่อจาก สมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า พระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่ง
สัตว์สองเท้า พระชินะผู้ไม่กระเพื่อม เปรียบดังสาคร.
พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในกัปใด กัปนั้น ชื่อว่า
มัณฑกัป หมู่ชนที่สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ
ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แม้ต่อจากนั้น เมื่อพระองค์ทรงหลั่งฝนคือธรรมยังสัตว์ทั้งหลายให้เอิบอิ่ม
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ สัตว์สามหมื่นเจ็ดพัน.
ครั้งพระมหาวีระ เข้าเฝ้าพระเจ้าอานันทะ เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรี ทรงหลั่งฝนคือธรรม
อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์ห้าล้าน.
พระพุทธเจ้าผู้ฉลาดในเทศนา ทรงโอวาทให้สัตว์รู้ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 459
พระปทุมุตตรศาสดา ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
สาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ครั้งพระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
จำพรรษา ณ เวภารบรรพต สาวกเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก ผู้ออกจากคาม
นิคมและรัฐ บวชเป็นสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐชื่อ ชฎิล ได้ถวายภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า
แด่พระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า ในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้วเสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น อัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนาง มายา
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อพระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อ พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อพระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียกว่าต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อนันทมาตา และอุตตรา.
พระโคดมผู้มีพระยศ พระองค์จักมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของพระผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 461
ผิว่า พวกเราพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ไซร้ ในอนาคตกาล พวกเรา ก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจะข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นี้ไซร้ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสแม้ของพระองค์แล้วอธิษฐานข้อ
วัตรยิ่งยวดขึ้นไป ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ทั้งหมด มีใจผิดปกติ ใจเสีย
ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างแล้ว
บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ยอมบำรุงบำเรอก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้นออกไปจากรัฐ.
พวกเดียรถีย์ทั้งหมดประชุมกันในที่นั้น เข้าไปที่สำนักของพระพุทธเจ้า
ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระขอพระองค์โปรดเป็นสรณะ ด้วยเถิด.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้เอ็นดู มีพระกรุณาแสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง
ทรงตั้งเดียรถีย์ที่ประชุมกันทั้งหมด ไว้ในศีล ๕.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 462
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ไม่วุ่นวายอย่างนี้
ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลายงดงามด้วย
พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญคงที่.
พระปทุมุตตรศาสดา
ทรงมีพระนครชื่อหังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยเก้าพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อ นารี พาหนะ ยสวดี.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม จำนวนสี่หมื่น
สามพันนาง มีพระอัครมเหสีพระนามว่า
พระนางวสุลทัตตา พระโอรสพระนามว่า พระอุตตระ.
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออก
อภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท ทรงตั้งความเพียร ๗ วัน.
พระมหาวีระ ปทุมุตตระ ผู้นำพิเศษ
ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรม ณ พระราชอุทยาน มิถิลาอันสูงสุด.
พระปทุมุตตรศาสดา
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระเทวิละ และพระสุชาตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสุมนะ.
พระอัครสาวิกาชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์เรียกว่า ต้นสลละต้นช้างน้าว.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า อมิตะ และติสสะ อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า หัตถา และ สุจิตตา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 463
พระมหามุนี สูง ๕๘ ศอก
พระลักษณะประเสริฐ ๓๒ ประการ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไป ๑๒ โยชน์ โดยรอบ
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือ ภูเขา ปิดกั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
แล้ว ตัดความสงสัยทุกอย่าง ก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้ว ก็ดับไปฉะนั้น.
พระปทุมุตตรชินพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
พระสถูปอันประเสริฐของพระองค์ ณ ที่นั้น สูง ๑๒ โยชน์.
จบวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 464
พรรณนาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้าที่ ๑๐
พระศาสนาของพระนารทพุทธเจ้าเป็นไปได้เก้าหมื่นปี ก็อันตรธาน.
กัปนั้นก็พินาศไป ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติในโลก
ตลอดอสงไขยแห่งกัปทั้งหลาย.
ว่างพระพุทธเจ้า มีแสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า.
แต่นั้น เมื่อกัปและอสงไขยทั้งหลายล่วงไป ๆ ในกัปหนึ่ง ที่สุดแสนกัปนับแต่กัปนี้
พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงพิชิตมาร ปลงภาระ มีพระเมรุเป็นสาระ
ไม่มีสังสารวัฏ มีสัตว์เป็นสาระ ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
พระนามว่า ปทุมุตตระ ก็อุบัติขึ้นในโลก.
แม้พระองค์ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากดุสิตนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุชาดาเทวี
ผู้เกิดในสกุลที่มีชื่อเสียง อัครมเหสีของ พระเจ้าอานันทะ
ผู้ทำความบันเทิงจิตแก่ชนทั้งปวง กรุงหังสวดี.
พระนางสุชาดาเทวี นั้น อันทวยเทพอารักขาแล้ว ถ้วนกำหนดทศมาส
ก็ประสูติ พระปทุมุตตรกุมาร ณ พระราชอุทยานหังสวดี.
ในสมัยปฏิสนธิ และสมภพก็มีปาฏิหาริย์ ดังกล่าวแล้วแต่หนหลัง.
ดังได้สดับมา
ในสมัยพระราชกุมารพระองค์นั้น ทรงสมภพ ฝนดอกปทุมก็ตกลงมา.
ด้วยเหตุนั้น ในวันเฉลิมพระนามพระกุมาร
พระประยูรญาติทั้งหลายจึงเฉลิมพระนามว่า ปทุมุตตรกุมาร.
พระกุมารพระองค์นั้นทรงครองฆราวาสวิสัยหมื่นปี.
พระองค์มีปราสาท ๓ หลังเหมาะแก่ฤดูทั้งสาม ชื่อ นรวาหนะ ยสวาหนะ และ วสวัตดี
มีพระสนมนารีแสนสองหมื่นนาง
มีพระนางวสุทัตตาเทวี เป็นประมุข
เมื่อ พระอุตตรกุมาร ผู้ยอดเยี่ยมด้วยพระคุณทุกอย่าง
พระโอรสของพระนางวสุทัตตาเทวีทรงสมภพแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 465
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ทรงพระดำริจักเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์
พอทรงพระดำริเท่านั้นปราสาทที่ชื่อว่า วสวัตดี ก็ลอยขึ้นสู่อากาศ
เหมือนจักรของช่างหม้อไปทางท้องอัมพร เหมือนเทพวิมาน และเหมือนดวงจันทร์เพ็ญ
ทำโพธิพฤกษ์ไว้ตรงกลางลงที่พื้นดิน เหมือนปราสาทที่กล่าวแล้ว
ในการพรรณนาวงศ์ของพระโสภิตพุทธเจ้า.
ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษเสด็จลงจากปราสาทนั้น ทรงห่มผ้ากาสายะ
อันเป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์ ซึ่งเทวดาถวาย ทรงผนวชในปราสาทนั้นนั่นเอง
ส่วนปราสาทกลับมาตั้งอยู่ในที่ตั้งเดิมของตน.
บริษัททุกคนที่ไปกับพระมหาสัตว์ พากันบวช เว้นพวกสตรี.
พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๗ วัน
พร้อมกับผู้บวชเหล่านั้น วันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส
ที่ ธิดารุจานันทเศรษฐี อุชเชนีนิคม ถวายแล้ว ทรงพักกลางวัน ณ สาลวัน
เวลาเย็นทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ สุมิตตะอาชีวก ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น สลละ ช้างน้าว
ทรงทำประทักษิณโพธิพฤกษ์นั้น ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๘ ศอก
ทรงนั่งขัดสมาธิ อธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมทั้งตัวมาร
ยามที่ ๑ ทรงระลึกได้บุพเพนิวาส.
ยามที่ ๒ ทรงชำระทิพยจักษุให้บริสุทธิ์,
ยามที่ ๓ ทรงพิจารณาปัจจยาการออกจากจตุตถฌาน
มีอานาปานัสสติเป็นอารมณ์ แล้วหยั่งลงในขันธ์ ๕
ทรงเห็นลักษณะ ๕๐ ถ้วนด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
ทรงเจริญวิปัสสนาจนถึงโคตรภูญาณแทงตลอดพระพุทธคุณทั้งสิ้น ด้วยอริยมรรค
ทรงเปล่งพระอุทานที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประพฤติมาว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
ได้ทราบว่า ครั้งนั้น ฝนดอกปทุมตกลงมา ประหนึ่งประดับทั่วภายในทั้งหมื่นจักรวาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 466
ต่อจากสมัยของพระนารทพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า
พระชินะผู้ไม่หวั่นไหว เปรียบดังสาครที่ไม่กระเพื่อมฉะนั้น.
พระพุทธเจ้าได้อุบัติในกัปใด กัปนั้นเป็นมัณฑกัป
หมู่ชนผู้สั่งสมกุศลไว้ ก็ได้เกิดในกัปนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาครูปโม ได้แก่ มีภาวะลึกล้ำเสมือนสาคร.
ในคำว่า มณฺฑกปฺโป วา โส อาสิ นี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์อุบัติในกัปใด กัปนี้ชื่อว่า มัณฑกัป.
จริงอยู่
กัปมี ๒ คือ สุญญกัป และอสุญญกัป
บรรดากัปทั้งสองนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ
ย่อมไม่อุบัติในสุญญกัป เพราะฉะนั้นกัปนั้น จึงเรียกว่า สุญญกัป
เพราะว่างเปล่าจากบุคคลผู้ที่คุณ.
อสุญญกัปนี้ ๕ คือ
สารกัป
มัณฑกัป
วรกัป
สารมัณฑกัป
ภัททกัป.
ในอสุญญกัปนั้นกัปที่ประกอบด้วยสาระคือคุณ เรียกว่า สารกัป
เพราะปรากฏ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระองค์เดียว.
ผู้กำเนิดคุณสาร ยังคุณสารให้เกิดส่วนในกัปใด
เกิดพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า มัณฑกัป.
ในกัปใด เกิดพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
บรรดาพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้น
พระองค์ที่ ๑ พยากรณ์พระองค์ที่ ๒
พระองค์ที่ ๒ พยากรณ์พระองค์ที่ ๓.
ในกัปนั้น มนุษย์ทั้งหลาย มีใจเบิกบาน ย่อมเลือก โดยปณิธานที่
คนปรารถนา เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า วรกัป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 467
ส่วนในกัปเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า สารมัณฑกัป
เพราะประเสริฐกว่า มีสาระกว่า กัปก่อน ๆ
ในกัปใดเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ กัปนั้นเรียกว่า ภัททกัป.
ก็ภัททกัปนั้น หาได้ยากยิ่ง.
ก็กัปนั้น โดยมาก สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มากด้วยกัลยาณสุข.
โดยมาก ติเหตุกสัตว์ย่อมทำความสิ้นกิเลส ทุเหตุกสัตว์ย่อมถึงสุคติ.
อเหตุกสัตว์ ก็ได้เหตุ.
เพราะฉะนั้น กัปนั้น จึงเรียกว่า ภัททกัป.
ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อสุญญกัปมี ๕ เป็นต้น.
สมจริงดังที่พระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า
เอโก พุทฺโธ สารกปฺเป มณฺฑกปฺเป ชินา ทุเว
วรกปฺเป ตโย พุทฺธา สารมณฺเฑ จตุโร พุทฺธา
ปญฺจ พุทฺธา ภทฺทกปฺเป ตโต นตฺถาธิกา ชินา.
ในสารกัป มีพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์
ในมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์
ในวรกัป มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์
ในสารมัณฑกัป มีพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์
ในภัททกัป มีพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์พระพุทธเจ้ามากกว่านั้นไม่มี ดังนี้.
ส่วนในกัปใด พระปทุมุตตรทศพลอุบัติ
กัปนั้นแม้เป็นสารกัป ท่านก็เรียกว่า มัณฑกัป
เพราะเป็นเช่นเดียวกับมัณฑกัป ด้วยคุณสมบัติ.
วาศัพท์พึงเห็นว่า ลงในอรรถอุปมา.
บทว่า อุสฺสนฺนกุสลา ได้แก่ ผู้สั่งสมบุญไว้.
บทว่า ชนตา ได้แก่ ชุมชนก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ.
ผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงยับยั้ง ณ โพธิบัลลังก์ ๗ วัน
ทรงย่างพระบาทเบื้องขวา ด้วยหมายพระหฤทัยว่า จะวางพระบาทลงที่แผ่นดิน.
ลำดับนั้น
ดอกบัวบกทั้งหลายมีเกสรและช่อละเอียดไร้มลทิน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 468
มีใบดังเกิดในน้ำไม่หม่นหมองไม่บกพร่องแต่บริบูรณ์
ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นมา
บัวบกเหล่านั้นมีใบชิดกัน ๙๐ ศอก
เกสร ๓๐ ศอก
ช่อ ๑๒ ศอก
เรณูของดอกแต่ละดอกขนาดหม้อใหม่
ส่วนพระศาสดาสูง ๕๘ ศอก
ระหว่างพระพาหาสองข้างของพระองค์ ๑๘ ศอก
พระนลาต ๕ ศอก
พระหัตถ์และพระบาท ๑๑ ศอก.
พอพระองค์ทรงเหยียบช่อ ๑๒ ศอก
ด้วยพระบาท ๑๑ ศอก
เรณูขนาดหม้อใหม่ ก็ฟุ้งขึ้นกลบพระสรีระ ๕๘ ศอก
แล้วกลับท่วมทับ ทำให้เป็นเหมือนฝุ่นมโนศิลาป่นเป็นจุณ.
หมายเอาข้อนั้น
พระอาจารย์ผู้รจนาคัมภีรสังยุตตนิกายจึงกล่าวว่า
พระศาสดาปรากฏในโลกว่า พระปทุมุตตระ ดังนี้.
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมเหนือโลกทั้งปวง
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงตรวจดูสัตว์ทั้งหลาย ผู้เป็นดังภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา
ทรงเห็นพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เทวละ และสุชาตะ กรุงมิถิลา ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ทันใดก็เสด็จโดยทางอากาศ ลงที่พระราชอุทยานกรุงมิถิลา
ใช้พนักงานเฝ้าพระราชอุทยานให้เรียกพระราชกุมารทั้งสองพระองค์มาแล้ว
ทั้งสองพระองค์นั้น ทรงดำริว่า พระปทุมุตตรกุมาร โอรสของพระเจ้าอาของเรา ทรงผนวช.
ทรงบรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณเสด็จถึงนครของเรา
จำเราจักเข้าไปเฝ้าพระองค์พร้อมด้วยบริวาร
ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ นั่งแวดล้อม.
ครั้งนั้น พระทศพล อันพระราชกุมารและบริวารเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงรุ่งโรจน์ดุจจันทร์เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ที่นั้น.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๑ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 469
สมัยต่อมา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมหาชนให้ร้อน ด้วยความร้อนในนรก
ทรงแสดงธรรมในสมาคมของสรทดาบส
ทรงยังหมู่สัตว์นับได้สามล้านเจ็ดแสน ให้ดื่มอมตธรรม
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากนั้น เมื่อทรงหลั่งฝนธรรม ให้สัตว์ทั้ง
หลายเอิบอิ่ม อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ก็ครั้ง พระเจ้าอานันทมหาราช ปรากฏพระองค์ในกรุงมิถิลา
ในสำนักของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
พร้อมด้วยบุรุษ [ทหาร] สองหมื่นและอมาตย์ยี่สิบคน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ
ทรงให้ชนเหล่านั้นบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาทุกคน อันชนเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
เสด็จไปทำการสงเคราะห์พระชนก
ประทับอยู่ ณ กรุงหังสวดี ราชธานี
ในที่นั้น พระองค์เสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรม ในท้องนภากาศ
ตรัสพุทธวงศ์เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ในกรุงกบิลพัสดุ์
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งพระมหาวีระ เข้าไปโปรดพระเจ้าอานันทะ
เสด็จเข้าไปใกล้พระชนก ทรงลั่นอมตเภรี.
เมื่อทรงลั่นอมตเภรีแล้ว ทรงหลั่งฝนคือ ธรรมอภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์ห้าล้าน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อานนฺทํ อุปสงฺกมิ ตรัสหมายถึงพระเจ้าอานันทะ พระชนก.
บทว่า อาหนิ แปลว่า ลั่น (ตี).
บทว่า อาหเตก็คือ อาหตาย ทรงลั่นแล้ว.
บทว่า อมตเภริมฺหิ ก็คือ อมตเภริยา เมื่อ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 470
กลองอมตะ พึงเห็นว่าเป็นลิงควิปลาส
ปาฐะว่า อาเสวิเต ดังนี้ก็มี ปาฐะนั้น มีความว่า อาเสวิตาย อันเขาซ่องเสพแล้ว.
บทว่า วสฺสนฺเต ธมฺมวุฏฺฐิยา ความว่า หลั่งฝนคือธรรม
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอุบายเพื่อกระทำอภิสมัยจึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้ทรงฉลาดในเทศนา ทรงสั่งสอนให้สัตว์เข้าใจ
ให้สัตว์ทั้งหลายข้าม ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า โอวาทกะ ได้แก่ ชื่อว่า โอวาทกะ
เพราะสั่งสอนด้วยพรรณนาคุณานิสงส์ของสรณะและการสมาทานศีล และธุดงค์.
บทว่า วิญฺญาปโก ได้แก่ ชื่อว่า วิญญาปกะ เพราะให้เขารู้สัจจะ ๔ คือให้เขาตรัสรู้.
บทว่า ตารโก ได้แก่ ให้ข้ามโอฆะ ๔.
ครั้งนั้น พระศาสดาทรงมีพระพักตร์เสมือนจันทร์เพ็ญในวันเพ็ญมาฆบูรณมี
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ ณ มิถิลา ราชอุทยาน กรุงมิถิลา
นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาปทุมุตตระ ทรงมีสันนิบาตประชุมสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ.
ครั้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จำพรรษา ณ ยอดเวภารบรรพต
ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนที่มาชมบรรพต
ทรงยังชนเก้าหมื่นโกฏิให้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา
อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 471
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
เสด็จจำพรรษา ณ เวภารบรรพต ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระคุณ ผู้เป็นนาถะของ ๓ โลก
ทรงทำการเปลื้องมหาชนจากเครื่องผูก เสด็จจาริกไปตามชนบท
ภิกษุแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปอีก
ภิกษุที่ออกบวชจากคามนิคมและรัฐแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คามนิคมรฏฺฐโต ก็คือ คามนิคมรฏฺเฐหิ จากคามนิคมรัฐชนบท
หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน ปาฐะนั้น ความว่า ผู้ออกบวชจากคามนิคมและรัฐทั้งหลาย.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นผู้ครองรัฐใหญ่ชื่อว่า ชฎิล มีทรัพย์หลายโกฏิ
ได้ถวายทานอย่างดีพร้อมทั้งจีวร แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
เสร็จอนุโมทนาภัตทาน พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ในอนาคตกาล จักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ ในที่สุดแสนกัป
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นผู้ครองรัฐ ชื่อชฎิล
ได้ถวายภัตตาหารพร้อมทั้งผ้า แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 472
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในแสนกัปนับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต ตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็อธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้น
ได้ทำความเพียรมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สมฺพุทฺธปฺปมุขํ สงฺฆํ ก็คือ พุทฺธปฺปมุขสฺส สงฺฆสฺส
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ทุติยาวิภัตติลงในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.
บทว่า สภตฺตํ ทุสฺสมทาสหํ ความว่า เราได้ถวายภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร.
บทว่า อุคฺคทฬฺหํ แปลว่า มั่นคงยิ่ง.
บทว่า ธิตึ ความว่า ได้ทำความเพียร.
ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า ปทุมุตตระ
ไม่มีพวกเดียรถีย์ เทวดาและมนุษย์ทุกคนถึงพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวเป็นสรณะ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พวกเดียรถีย์ ผู้มีใจผัดปกติ มีใจเสียถูกกำจัดมานะหมด
บุรุษบางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้นไม่ยอมบำรุงบำเรอ
ก็ขับไล่เดียรถีย์เหล่านั้น ออกไปจากแว่นแคว้น.
ทุกคนมาประชุมกันในที่นั้น ก็เข้าไปที่สำนักของพระพุทธเจ้า
ทูลวอนว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 473
พระองค์ทรงเป็นที่พึ่ง ข้าแต่พระผู้มีพระจักษุ ขอพระองค์ทรงเป็นสรณะ.
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเอ็นดู มีพระกรุณาแสวงประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย
ก็ทรงยังเดียรถีย์ที่ประชุมกันทั้งหมดให้ตั้งอยู่ในศีล.
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่อากูลอย่างนี้
ว่างเปล่าจากเดียรถีย์ทั้งหลาย งดงามด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชำนาญ ผู้คงที่.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า พฺยาหตา ได้แก่ ผู้มีความถือตัวและความกระด้างถูกขจัดแล้ว
ในคำว่า ติตฺถิยา นี้ พึงทราบว่าติตถะ พึงทราบว่าติตถกระ พึงทราบว่าติตถิยะ.
ใน ๓ อรรถนั้น ชื่อว่า ติตถะ เพราะคนทั้งหลายข้ามไป
ด้วยอำนาจทิฏฐิมีสัสสตะทิฏฐิเป็นต้น ได้แก่ ลัทธิ.
ผู้ยังลัทธินั้นให้เกิดขึ้น ชื่อว่า ติตถกระ ผู้มีในลัทธิ ชื่อว่า ติตถิยะ.
พึงทราบว่าที่ตรัสว่า พวกเดียรถีย์ ถูกกำจัดความถือตัวและกระด้างเสียแล้วเป็นต้น
ก็เพื่อแสดงว่า เขาว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระไม่มีเดียรถีย์ ถึงเดียรถีย์เหล่าใด
ยังมีเดียรถีย์แม้เหล่านั้น ก็เป็นเช่นนี้.
บทว่า วิมนา ได้แก่ มีใจผิดแผกไป.
บทว่า ทุมฺมนา เป็นไวพจน์ของคำว่า วิมนา นั้นนั่นแหละ.
บทว่า น เตสํ เกจิ ปริจรนฺติ ความว่า บุรุษแม้บางพวกของเดียรถีย์เหล่านั้น
ไม่ทำการนวดฟั้น ไม่ให้ภิกษาหาร ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา
ไม่ยอมลุกจากที่นั่ง ไม่ทำอัญชลีกรรม.
บทว่า รฏฺฐโต ได้แก่ แม้จากรัฐทั่วไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 474
บทว่า นิจฺฉุภนฺติ ได้แก่ นำออกไป รุกราน อธิบายว่า ไม่ให้ที่อยู่แก่เดียรถีย์เหล่านั้น.
บทว่า เต ได้แก่ เดียรถีย์ทั้งหลาย.
บทว่า อุปคญฺฉุํ พุทฺธสนฺติเก ความว่า พวกอัญญเดียรถีย์
แม้ทั้งหมด ที่ถูกพวกมนุษย์ชาวแว่นแคว้นรุกราน อย่างนี้ มาประชุมแล้วก็ถึง
พระปทุมุตตรทศพลพระองค์เดียวเป็นสรณะ
พากันกล่าวถึงสรณะอย่างนี้ว่า
ขอพระองค์โปรดทรงเป็นศาสดา เป็นนาถะ เป็นคติ เป็นที่ไปเบื้องหน้า
เป็นสรณะของพวกข้าพระองค์เถิด.
ชื่อว่า อนุกัมปกะ เพราะทรงเอ็นดู.
ชื่อว่า การุณิกะ เพราะทรงประพฤติด้วยความกรุณา.
บทว่า สมฺปตฺเต ได้แก่ พวกเดียรถีย์ที่มาประชุมเข้าถึงสรณะ.
บทว่า ปญฺจสีเล ปติฏฺฐหิ ความว่า ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕.
บทว่า นิรากุลํ ได้แก่ ไม่อากูล อธิบายว่า ไม่ปะปนด้วยลัทธิอื่น.
บทว่า สุญฺญกํ ได้แก่ ว่างเปล่าจากเดียรถีย์เหล่านั้น.
บทว่า ตํ พึงเติมคำลงไปว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.
บทว่า วิจิตฺตํ ได้แก่ งามวิจิตร.
บทว่า วสีภูเตหิ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า หังสวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดาเทวี.
คู่พระอัครสาวก ชื่อ พระเทวิละ และพระสุชาตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อ พระสุมนะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อ พระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสลละ ช้างน้าว.
พระสรีระสูง ๕๘ ศอก
พระรัศมีของพระองค์แผ่ไปกินเนื้อที่ ๑๒ โยชน์ โดยรอบ
พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวสุทัตตา
พระโอรสพระนามว่า อุตตระ
เล่ากันว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารนันทาราม
อันเป็นที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ กระจัดกระจายทั่วไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 475
พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป
ชุมนุมกันช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการสูง ๑๒ โยชน์
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปทุมุตตรศาสดา
มีพระนคร ชื่อว่า หังสวดี
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอานันทะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุชาดา.
พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่มี
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระอมิตา และ พระอสมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อต้นสลละ(ต้นช้างน้าว).
พระมหามุนีสูง ๕๘ ศอก
พระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ เช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง.
พระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปรอบๆ ๑๒ โยชน์
ยอดเรือน บานประตู ฝา ต้นไม้ กองศิลา คือ ภูเขาก็กั้นพระรัศมีนั้นไม่ได้.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุแสนปี
พระปทุมุตตระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ย่อมยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังชนเป็นอันมากให้ข้าม
โอฆสงสาร ตัดความสงสัยทุกอย่างแล้ว ก็เสด็จดับ
ขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับฉะนั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 476
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นคสิลุจฺจยา ได้แก่ กองศิลากล่าวคือภูเขา.
บทว่า อาวรณํ ได้แก่ ปกปิด ทำไว้ภายนอก.
บทว่า ทฺวาทสโยชเน ความว่า พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
แผ่ไปในที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน.
ในคาถาที่เหลือในที่ทุกแห่งความชัดแล้วทั้งนั้นแล.
ตั้งแต่นี้ไป เราจักย่อความที่มาแล้วซ้ำซากมีการบำเพ็ญบารมีเป็นต้น
จะกล่าวแต่ความที่แปลกกันเท่านั้น ก็หากว่า เราจะกล่าวซ้ำซากความที่กล่าว
มาแล้วเมื่อไร จักจบ การพรรณนามีอย่างนี้แล.
จบพรรณาวงศ์พระปทุมุตตรพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 477