71-97
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 97
ปัญจสีลสมาทานิยเถราปทานที่ ๔ (๒๔)
ว่าด้วยผลแห่งการรักษาเบญจศีล
[๒๖] เวลานั้น เราเป็นคนทำงานรับจ้างอยู่ในนครจันทวดี
เรามัวประกอบในการนำมาซึ่งการงานของผู้อื่น จึงไม่ได้บวช
โลกทั้งหลายถูกความมืดใหญ่หลวงปิดบังแล้ว ย่อมถูกไฟ ๓ กองเผา
เราควรจะปลีกตัวออกไปด้วยอุบายอะไรหนอ.
ไทยธรรมของเราไม่มี และเราเป็นคนยากไร้ ทำงานรับจ้างอยู่
ถ้ากระไร เราพึงรักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์เถิด.
เราจึงเข้าไปหาพระภิกษุชื่อนี้นิสภะ ผู้เป็นสาวกของพระมุนี
พระนามว่าอโนมทัสสี แล้วได้รับสิกขาบท ๕.
เวลานั้น เรานี้อายุแสนปี เรารักษาเบญจศีลให้บริบูรณ์
ตลอดเวลาเท่านั้น เมื่อเวลาใกล้ตายมาถึงเข้า ทวยเทพย่อมยังเราให้ชื่นชม (เชื้อเชิญเรา) ว่า
ท่านผู้นิรทุกข์ รถอันเทียมด้วยม้าพันหนึ่งนี้ปรากฏแล้วเพื่อท่าน.
เมื่อจิตดวงสุดท้ายเป็นไป เราได้ระลึกถึงศีลของเรา
ด้วยกรรมดีที่ได้ทำแล้วนั้น เราได้ไปสู่ภพดาวดึงส์
ได้เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ ครั้ง
แวดล้อมด้วยนางอัปสรทั้งหลาย เสวยสุขอันเป็นทิพย์อยู่.
และได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗๕ ครั้ง
ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณานับมิได้.
เราอันกุศลมูลตักเตือนแล้วเคลื่อนจากเทวโลก มาเถิด
ในตระกูลพราหมณ์มหาศาลอันมั่งคั่งในนครเวสาสี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 98
เมื่อศาสนาของพระชินเจ้ายังรุ่งเรืองอยู่ มารดาและบิดา
ของเราได้รับสิกขาบท ๕ในเวลาเข้าพรรษา เราฟังเรื่องศีลอยู่
พร้อมกับมารดาบิดา จึงระลึกถึงศีลของเราได้
เรานั่งอยู่บนอาสนะอันเดียว ได้บรรลุอรหัตแล้ว.
เราได้บรรลุอรหัตนับแต่เกิดได้ ๕ ปี พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุทรงทราบคุณของเราแล้ว
ได้ประทานอุปสมบทให้เรา เรารักษาสิกขาบท ๕ ให้บริบูรณ์แล้ว ไม่ได้ไปสู่วินิบาตเลยตลอดกัปหาประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรานั้นได้เสวยยศเพราะกำลังแห่งศีลเหล่านั้น.
เมื่อจะประกาศผลของศีลที่เราได้เสวยแล้ว โดยจะนำมา
ประกาศตลอดโกฏิกัป ก็พึงประกาศได้เพียงส่วนเดียว.
เรารักษาเบญจศีลแล้ว ย่อมได้เหตุ ๓ ประการ คือเรา
เป็นผู้มีอายุยืนนาน ๑ มีโภคสมบัติมาก ๑ มีปัญญาคมกล้า ๑.
เมื่อประกาศผลของศีลทั้งปวงกะหมู่มนุษย์อันมีประมาณ
ยิ่ง เราท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมได้ฐานะเหล่านี้.
พระสาวกของพระชินเจ้าทั้งหลาย ประพฤติอยู่ในศีล
หาประมาณมิได้ ถ้าจะพึงยินดีอยู่ในภพ จะพึงมีผลเช่นไร.
เบญจศีลอันเราผู้เป็นคนรับจ้าง มีความเพียรประพฤติแล้ว
เราพ้นจากเครื่องผูกทั้งปวงได้ในวันนี้ด้วยศีลนั้น ในกัปอัน
ประมาณมิได้แต่กัปนี้ เรารักษาเบญจศีลแล้ว ไม่รู้จักทุคติเลย
นี้เป็นผลแห่ง (การรักษา) เบญจศีล.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้าที่ 99
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสันภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และแม้
อภิญญา ๖ เราพึงทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า
เราได้ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระปัญจสีลสมาทานิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบปัญจสีลสมาทานนิยเถราปทาน