ลำดับนั้น
ท่านพระสีวลีเถระ ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับเอตทัคคะแล้ว
ระลึกถึงบุรพกรรมของตนแล้ว เกิดความโสมนัสใจ
เมื่อจะประกาศถึงเรื่องราวที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน
จึงกล่าวคำเริ่มต้นว่า
ปทุมุตฺตโร นาม ชิโน ดังนี้.
ข้าพเจ้า จักกระทำการพรรณนาเนื้อความเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๙ ภาค ๑ - หน้าที่ 351
บทว่า สีลํ ตสฺส อสงฺเขยฺย ความว่า
ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระองค์นั้น
กำหนดนับไม่ได้ สิกขาบททั้งหลายที่ตรัสไว้แล้ว อย่างนี้ว่า:-
สังวรวินัยเหล่านี้คือ
จำนวน ๙ พันโกฏิ,๑๘๐ โกฏิ, ๕ ล้าน และอื่นอีก ๓๖
พระสัมพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้ว คือ
ทรงแสดงไว้แล้วโดยมุขเปยยาล ในสิกขาวินัยสังวรแล.
อธิบายว่า
ก็ศีลของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใคร ๆ ไม่อาจจะกำหนดนับได้โดยสิ้นเชิง.
บทว่า สมาธิวชิรูปโม ความว่า เพชรที่อยู่ ย่อมทำการตัดรัตนะเช่น
แก้วอินทนิล
แก้วไพฑูรย์
แก้วมณี
แก้วผลึก และ
เพชรตาแมว เป็นต้น
ให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้ ฉันใด
สมาธิในโลกุตตรมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ
ย่อมแทง
ย่อมทำลาย
ย่อมตัดได้เด็ดขาด
ซึ่งธรรมทั้งหลายอันเป็นฝ่ายตรงกันข้ามและเป็นข้าศึก.
บทว่า อสงฺเขยฺยํ ญาณวรํ ความว่า หมู่แห่งพระญาณ เช่น พระสยัมภูญาณและ
พระสัพพัญญุตญาณเป็นต้นของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งสามารถ
เพื่อจะรู้และแทงตลอดอริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสังขตธรรมและ
อสังขตธรรมทั้งหลายได้ อันบุคคลกำหนดนับไม่ได้ คือ ปราศจากการนับ
โดยประเภทเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันเป็นต้น.
บทว่า วิมุตฺติ จ อโนปมา ความว่าวิมุตฺติ ๔ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
ไม่มีข้ออุปมา ปราศจากข้ออุปมาเพราะพ้นจากสังกิเลสทั้งหลาย
อันใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อจะอุปมาว่า เป็นเช่นกับสิ่งเหล่านี้.
คำที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสีวลิเถราปทาน