พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 509
๑๓. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า
[๑๔] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า
ก็มีพระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำโลก
ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้
แม้พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์
ทรงกำจัดความมืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้
แม้พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทัฏฐิของท้าวเธอ ก็ได้แสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้
ก็เป็นมหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารภีฝึกคน
ทรงฝึกพระยาช้างโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 510
พระปิยทัสสีพระพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกแสนโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนี พระสาวกเก้าหมื่นโกฏิ
ประชุมพร้อมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสาวกแปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น
เราเป็นมาณพพราหมณ์ชื่อว่า กัสสปะ คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระองค์ เกิดความเลื่อมใส ได้สร้างสังฆาราม ด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ทรงพยากรณ์เราว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 511
พระชินเจ้าพระองค์นั้น
เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศทรงประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระอัครสาวกชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และ อุตตรา.
พระโคดมพุทธเจ้า
ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 512
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า ผิว่า
พวกเราจักพลาดศาสนา ของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจักข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำ
ข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้า
พระองค์นิไซร้ ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระปิยทัสสีศาสดา
มีพระนครชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุจันทา.
พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่เก้าพันปี
มีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และคิริคูหา
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงามสามหมื่นหนึ่งพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา
พระโอรสพระนามว่า กัญจนาเวฬะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 513
พระผู้เป็นยอดบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอธิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน.
พระมหาวีระปิยทัสสีมหามุนี ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร
ณ อุสภราชอุทยาน ที่น่ารื่นรมย์ใจ.
พระปิยทัสสีศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่าพระปาลิตะ และพระสีพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า กกุธะ ต้นกุ่ม.
อัครอุปัฏฐากชื่อว่า สันทกะ และธัมมิกะ อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า วิสาขาและธัมมทินนา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระบริวารยศหาประมาณมิได้
มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ พระองค์นั้น สูง ๘๐ ศอก
เห็นกันชัดเหมือนพระยาสาลพฤกษ์.
รัศมีแสงของดวงไฟ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หามีเหมือนพระรัศมีของพระปิยทัสสี ผู้ไม่มีผู้เสมอผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
แม้พระองค์ผู้เป็นเทพแห่งเทพก็มีพระชนมายุเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 514
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ก็ดี
คู่พระสาวกที่ไม่มีผู้เปรียบได้เหล่านั้นก็ดี
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระปิยทัสสีวรมุนี เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสัตถาราม
ชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ โยชน์แล.
จบวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 515
พรรณนาวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓
ต่อมาจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่ง ในที่สุดแห่งหนึ่งพัน
แปดร้อยกัปแต่ภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าบังเกิด ๓ พระองค์ คือ
พระปิยทัสสี
พระอัตถทัสสี
พระธัมมทัสสี
ใน ๓ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงบำเพ็ญบารมีแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางจันทาเทวี ผู้มีพระพักตร์เสมือนดวงจันทร์
อัครมเหสีของพระเจ้าสุทัตตะ กรุงสุธัญญวดี
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติออกจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วรุณราชอุทยาน
ในวันเฉลิมพระนามของพระองค์พระชนกชนนี
ทรงเฉลิมพระนามว่า ปิยทัสสี
เพราะเห็นปาฏิหาริย์วิเศษอันเป็นที่รักของโลก
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
นัยว่าทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า สุนิมมละ วิมละ และ คิริพรหา
ปรากฏพระสนมนารีสามหมื่นสามพันนาง
มี พระนางวิมลามหาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า กัญจนเวฬะ ของพระนางวิมลาเทวีประสูติแล้ว
พระมหาบุรุษนั้น ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า
ทรงผนวชแล้ว บุรุษโกฏิหนึ่งบวชตามเสด็จ
พระมหาบุรุษอันชนโกฏิหนึ่งนั้น แวดล้อมแล้วพระองค์นั้น
ทรงบำเพ็ญเพียร ๖ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาของ วสภพราหมณ์
บ้านวรุณพราหมณ์ ถวายแล้วทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาลวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำที่สุชาตะอาชีวก ถวายแล้ว
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อว่า กกุธะ ต้นกุ่ม
ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๕๓ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิ แทงตลอดพระสัพพัญณุตญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 516
ทรงยับยั้ง ณ โคนโพธิพฤกษ์นั้นนั่นแหละ ๗ สัปดาห์
ทรงทราบว่า ผู้ที่บวชกับพระองค์ สามารถแทงตลอดอริยธรรม
จึงเสด็จไป ณ ที่นั้นทางอากาศ ลงที่ อุสภวดีราชอุทยาน
ใกล้ กรุงอุสกวดี อันภิกษุโกฏิหนึ่งแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๑
ต่อมาอีก
ราชาแห่งเทพ พระนามว่า สุทัสสนะ
ประทับอยู่ ณ สุทัสสนบรรพต ไม่ไกลกรุงอุสภวดี
ท้าวเธอเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็พวกมนุษย์ทั่วชมพูทวีป
นำเครื่องสังเวยมีค่านับแสน มาเซ่นสรวงท้าวเธอ ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
ประทับบนอาสนะเดียวกันกับพระราชาแห่งมนุษย์ ทรงรับเครื่องสังเวย
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ปิยทัสสี
ทรงพระดำริว่า จำเราจักบรรเทามิจฉาทิฏฐิของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสีย
เมื่อท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นเสด็จไปยังสมาคมยักษ์
จึงเสด็จเข้าไปยังภพของท้าวเธอ ขึ้นสู่ที่สิริไสยาสน์ประทับนั่งเปล่งพระฉัพพรรณรังสี
เหมือนดวงอาทิตย์ในฤดูสาวทเปล่งแสงเหนือยุคนธรบรรพต
เทวดาที่เป็นบริวารรับใช้ของท้าวเธอ
ก็บูชาพระทศพลด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น ยืนแวดล้อม.
ฝ่ายท้าวสุทัสสนเทวราช กลับจากยักขสมาคม
เห็นฉัพพรรณรังสีแล่นออกจากภพของตน
ก็คิดว่า ในวันอื่นๆ ไม่เคยเห็นภพของเรา จำเริญรุ่งเรื่องด้วยแสงรัศมีมากมายเช่นนี้
ใครหนอ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ เข้าไปในที่นี้
ตรวจดูก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งรุ่งโรจน์ด้วยแสงพระฉัพพรรณรังสี
ดังดวงอาทิตย์ในฤดูสารทเหนือยอดอุทัยคิรี
คิดว่า สมณะโล้นผู้นี้ อันชนใกล้ชิดบริวารของเราแวดล้อมแล้วนั่งเหนือที่นอนอันดี
ก็ถูกความโกรธครอบงำใจคิดว่า เอาเถิด จำเราจักสำแดงกำลังของเราแก่สมณะโล้นนั้น
แล้วก็ทำภูเขานั้นทั้งลูกลุกเป็นเปลวไฟอันเดียว
ตรวจดูว่าสมณะโล้นคงเป็นเถ้าเพราะเปลวไฟแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 517
แต่ก็เห็นพระทศพลมีพระวรกายถูกแสงรังสีมากมาย แล่นท่วมไป
มีพระพักตร์ผ่องวรรณะงาม มีพระฉวีสดใสรุ่งโรจน์อยู่
ก็คิดว่า สมณะผู้นี้ทนไฟไหม้ได้
เอาเถิด จำเราจักรุกรานสมณะผู้นี้ด้วยกระแสน้ำหลากแล้วฆ่าเสีย
จึงปล่อยกระแสน้ำหลากอันลึกล้ำตรงไปยังวิมาน.
แต่นั้น น้ำก็ไม่เปียกเพียงขนผ้าแห่งจีวร หรือเพียงพระโลมา
ในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งประทับนั่งในวิมานนั้น อันเต็มด้วยกระแสน้ำหลาก
แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช รู้ว่า ด้วยกระแสน้ำหลากนี้
สมณะหายใจไม่ออก ก็จักตาย จึงเสกมนต์พ่นอัดน้ำแล้วตรวจดู
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอันบริษัทของตนแวดล้อม
รุ่งโรจน์ด้วยแสงแลบแห่งเปลวรังสีต่างชนิด ดุจดวงรัชนีกรในฤดูสารท
ส่งแสงลอดหลืบเมฆสีเขียวครามทนการลบหลู่ตนไม่ได้
ก็คิดว่า จำเราจักฆ่าสมณะนั้นเสียเถิด
แล้วก็บันดาลฝนอาวุธ ๙ ชนิด ให้ตกลง ด้วยความโกรธ
ลำดับนั้น ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
อาวุธทุกอย่างก็กลายเป็นพวงดอกไม้หอมนานาชนิดงามน่าดูอย่างยิ่ง
หล่นลงแทบเบื้องบาทของพระทศพล.
แต่นั้น ท้าวสุทัสสนเทวราช เห็นความอัศจรรย์นั้นก็ยิ่งมีใจโกรธขึ้ง
จึงเอามือทั้งสองจับพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า
หมายจะฉุดคร่าออกไปจากภพของตน
ก็เหวี่ยงเลยมหาสมุทรไปถึงจักรวาลบรรพต
ตรวจดูว่า สมณะยังเป็นอยู่หรือตายไปแล้ว
ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังคงประทับนั่ง อยู่เหนืออาสนะนั้นนั่นแหละ
ก็คิดว่า โอ สมณะนี้มีอานุภาพมาก เราไม่สามารถจะฉุดคร่าสมณะผู้นี้ออกไปจากที่นี้ได้
หากว่าใครรู้เรื่องเรา เราก็จักอัปยศหาน้อยไม่
จำเราจักปล่อยสมณะนั้นไปเสีย ตราบเท่าที่ใครยังไม่เห็นสมณะผู้นี้.
ลำดับนั้น
พระทศพลทรงทราบความประพฤติทางจิตของท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
ก็ทรงอธิษฐานอย่างที่พวกเทวดาและมนุษย์ทุกคนเห็นท้าวเธออยู่
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 518
ในวันนั้นนั่นเอง พระราชา ๑๐๑ พระองค์ทั่วชมพูทวีป
ก็พากันมาประชุมเพื่อถวายเครื่องสังเวยแด่ท้าวสุทัสสนเทวราชนั้น
พระราชาแห่งมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น
ทรงเห็นท้าวสุทัสสนเทวราชประทับนั่งจับพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ก็มีจิตเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเทวราชของพวกเรา
บำเรอพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี จอมมุนี
โอ ! ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายน่าอัศจรรย์
โอ ! พระพุทธคุณทั้งหลาย วิเศษจริง ๆ
ก็พากันนอบน้อม ยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียรเกล้าหมดทุกคน ณ สันนิบาตนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี
ทรงทำท้าวสุทัสสนเทวราชนั้นให้เป็นประมุข ทรงแสดงธรรมโปรด
ครั้งนั้น เทวดาและมนุษย์เก้าหมื่นโกฏิ บรรลุพระอรหัต นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
ครั้งเมื่อศัตรูของพระพุทธเจ้า
ในกุมุทนครซึ่งมีขนาด ๙ โยชน์ ชื่อพระโสณเถระ เหมือนพระเทวทัต
ปรึกษากับ พระมหาปทุมราชกุมาร ให้ปลงพระชนม์พระชนกของพระราชกุมารนั้น
แม้พยายามต่างๆ เพื่อปลงพระชนม์ของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ก็ไม่อาจปลงพระชนม์ได้
ท่านจึงเรียกควาญพญาช้างชื่อ โทณมุขะ
ประเล้าประโลมเขา บอกความว่า เมื่อใดพระสมณะปิยทัสสีผู้นี้ เข้าไปบิณฑบาตยังนครนี้
เมื่อนั้น ท่านจงปล่อยพญาช้างชื่อโทณมุข ให้ฆ่าพระสมณะปิยทัสสีเสีย.
ครั้งนั้น
นายควาญช้างนั้น เป็นราชวัลลภ ไม่ทันพิจารณาถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
รู้แต่ว่า สมณะผู้นี้จะพึงทำเราให้หลุดพ้นจากตำแหน่งแน่
จึงรับคำ วันรุ่งขึ้นก็กำหนดเวลาที่พระทศพลเสด็จเข้าไปยังพระนครเข้าไปหาพญาช้างโทณมุข
ซึ่งมีหน้าผากเหมือนหม้อข้าวเหนือตระพองที่เกิดดีแล้ว
มีลำงวงยาวเสมือนธนู มีหูอ่อนกว้างใหญ่
ตาเหลืองดังน้ำผึ้ง ที่นั่งบนตัวดี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 519
ตะโพกหนาทึบกลมกลึง ระหว่างเข่าเก็บของลับไว้
งางามเหมือนงอนไถ ขนหางสวย โคนหางน่ายำเกรง
สมบูรณ์ด้วยลักษณะครบทุกอย่าง
งามน่าดูเสมือนเมฆสีเขียวคราม
ไปยังถิ่นที่ราชสีห์ชอบเยื้องกรายเหมือนก้อนเมฆเดินได้
มีกำลังเท่า ๗ ช้างสาร ตกมัน ๗ ครั้ง มีพิษทั่วตัว
เหมือนมัจจุมารที่มีเรือนร่างทำให้เมามันมึนยิ่งขึ้น
ปรนด้วยวิธีพิเศษเช่นคำข้าวคลุกกำยานหยอดยาตา รมควัน ฉาบทา เป็นต้น
แล้วก็ส่งไปเพื่อต้องการปลงพระชนม์พระมุนีผู้ประเสริฐ
ผู้ป้องกันชนที่เป็นอริได้ เหมือนช้างเอราวัณ ป้องกันช้างข้าศึกฉะนั้น
ลำดับนั้น
พญาช้างโทณมุขนั้น เป็นช้างพลายตัวดี
พอหลุดไปเท่านั้น ก็ฆ่าช้าง ควาย ม้า ชาย หญิง มีเนื้อตัวพร้อมทั้งงาและงวงเปรอะ
ไปด้วยเลือดของผู้ที่ถูกฆ่า มีตาที่คลุมด้วยข่ายแห่งความตาย หักทะลายเกวียน
บานประตู ประตูเรือนยอด เสาระเนียดเป็นต้น อันฝูงกา สุนัข และ แร้งเป็นต้นติดตามไป
ตัดอวัยวะของควาย คน ม้า และ ช้างพลาย เป็นต้น
กินเหมือนยักษ์กินคน เห็นพระทศพลอันหมู่ศิษย์แวดล้อม กำลังเสด็จมาแต่ไกล
มีกำลังเร็วเสมือนครุฑในอากาศ นุ่งไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยความเร็ว.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมือง มีใจเปี่ยมไปด้วยความเร่าร้อน
เพราะภัย ก็เข้าไปยังซากกองกำแพงแห่งปราสาท
เห็นพระยาช้างวิ่งแล่นมุ่งหน้าตรงพระตถาคตก็ส่งเสียงร้อง ฮ้า ! ฮ้า !
ส่วนอุบาสกบางพวก เริ่มห้ามกันพญาช้างนั้น ด้วยวิธีการต่างๆ.
ลำดับนั้น คือพระพุทธนาคพระองค์นั้นทรงแลดูพญาช้าง ซึ่งกำลังมา
มีพระหฤทัยเยือกเย็นด้วยพระกรุณาแผ่ไป
ก็ทรงแผ่พระเมตตาไปยังพญาช้างนั้น.
แต่นั้น พญาช้างเชือกนั้น ก็มีสันดานประจำใจอันพระเมตตาที่ทรงแผ่ไปทำให้อ่อนโยน
สำนึกรู้โทษและความผิดของตน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 520
ไม่อาจยืนต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ด้วยความละอาย จึงหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดุจแทรกเข้าไปในแผ่นปฐพี.
พญาช้างเชือกนั้นหมอบลงอย่างนั้นแล้ว เรือนร่างเสมือนกลุ่มหมอก ก็เจิดจ้า
เหมือนก้อนเมฆสีเขียวความเข้าไปใกล้ยอดภูเขาทองที่ฉาบด้วยแสงสนธยา.
ครั้งนั้น พวกชนชาวเมืองเห็นพญาช้างหมอบจบเศียรเกล้าลงแทบเบื้องบาทของพระจอมมุนี
ก็มีใจเปี่ยมด้วยปีติอย่างยิ่ง ก็พากันส่งเสียงโห่ร้องสาธุการ
กึกก้องดังเสียงราชสีห์ บูชาพระองค์มีประการต่าง ๆ ด้วยดอกไม้หอม
มาลัยจันทน์จุรณหอมและเครื่องประดับเป็นต้น โยนแผ่นผ้าไปโดยรอบ
เทพเภรีก็บรรลือลั่นในท้องนภากาศ
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพญาช้างพลาย
ซึ่งหมอบจบเศียรเกล้าแทบเบื้องพระบาท ดั่งยอดเขาที่อาบสีดำ
ก็ทรงลูบกระพองพญาช้าง ด้วยฝ่าพระหัตถ์ อันประดับด้วยขอช้าง ธง สังข์ และจักร
จึงทรงพร่ำสอนพญาช้างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา
ที่เกื้อกูลแก่ความประพฤติทางจิตของพญาช้างนั้นว่า
ดูก่อนพญาช้าง
เจ้าจงฟังคำของเราที่พร่ำสอนและจงเสพคำพร่ำสอนของเรานั้น
ซึ่งประกอบด้วยประโยชน์เกื้อกูล จงกำจัดความยินดีในการฆ่า
ความมีจิตร้ายของเจ้าเสีย จงเป็นช้างที่น่ารัก ผู้สงบ.
ดูก่อนพญาช้าง ผู้ใดเบียดเบียนสัตว์มีชีวิต
ด้วยโลภะ และ โทสะ หรือด้วยโมหะผู้นั้น ชื่อว่า ผู้ฆ่า
สัตว์มีชีวิต ย่อมเสวยทุกข์อันร้ายกาจ ในนรก ตลอดกาลนาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 521
ดูก่อนพญาช้าง
เจ้าอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนั้นด้วยความประมาท
หรือแม้ด้วยความเมาอีกนะ เพราะผู้ทำสัตว์มีชีวิตที่ตกล่วงไป
ย่อมประสบทุกข์แสนสาหัสในนรกตลอดกัป.
ผู้เบียดเบียน ครั้นเสวยทุกข์อันร้ายกาจในนรกแล้ว
ผิว่า ไปสู่มนุษยโลก ก็ยิ่งเป็นผู้มีอายุสั้น มีรูปร่างแปลกประหลาด ยังมีส่วนพิเศษแห่งทุกข์.
ดูก่อนกุญชร
พญาช้างผู้เบาปัญญา เจ้ารู้ว่าชีวิตเป็นที่รักอย่างยิ่งของเจ้าฉันใด
ในมหาชนชีวิตแม้ของผู้อื่นก็เป็นที่รักฉันนั้น แล้วพึงงดเว้นปาณาติบาตอย่างเด็ดขาด.
ถ้าเจ้ารู้จักโทษที่ไม่เว้นการเบียดเบียน และคุณที่เว้นขาดจากปาณาติบาตแล้ว
จงเว้นขาดปาณาติบาตเสีย ก็ปรารถนาสุขในสวรรค์ในโลกหน้าได้.
ผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตฝึกตนดีแล้ว ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจในโลกนี้
เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไป พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมกล่าวว่า เขาก็อยู่ยั้งในสวรรค์.
ใครๆ ในโลก ย่อมไม่ปรารถนาให้ทุกข์มาถึงผู้เกิดมาแล้ว
ทุก ๆ คน ย่อมแสวงสุขกันทั้งนั้น
ดูก่อนพญาช้างผู้ยิ่งใหญ่
เพราะฉะนั้น เจ้าจงละการเบียดเบียนเสีย
เจริญแต่เมตตาและกรุณาในเวลาอันสมควรเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 522
ลำดับนั้น
พญาช้างอันพระทศพลทรงพร่ำสอนอย่างนี้ ก็ได้สำนึก เป็นผู้ที่ทรงฝึกปรือแล้วอย่างยิ่ง
ถึงพร้อมด้วยวินัย แล จรรยา ก็ได้เป็นเหมือนศิษย์.
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี พระองค์นั้น
ทรงทรมานพญาช้างโทณมุข
เหมือนพระศาสดาของเราทรงทรมานช้างธนปาลแล้ว
จึงทรงแสดงธรรมโปรดในสมาคมแห่งมหาชนนั้น.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้าก็มีพระสยัมภู
พุทธเจ้า พระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ผู้นำโลก
อันเข้าเฝ้าได้ยาก เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีบริวารยศอันประมาณมิได้ รุ่งโรจน์ดุจดวงอาทิตย์
ทรงกำจัดความมืดทุกอย่าง ประกาศพระธรรมจักร.
พระพุทธเจ้าผู้มีพระเดช ที่ชั่งไม่ได้แม้พระองค์
นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราชทรงชอบใจมิจฉาทิฏฐิ
พระศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิของท้าวเทวราชพระองค์นั้นแล้ว ก็ทรงแสดงธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ เป็นมหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 523
ครั้งพระศาสดาผู้เป็นสารถีฝึกคน
ทรงแนะนำพญาช้างชื่อโทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ใน สุมังคลนคร มีสหายสองคน คือ
พระราชโอรส พระนามว่า ปาลิตะ
บุตรปุโรหิต ชื่อว่า สัพพทัสสิกุมาร
สองสหายนั้น
เมื่อพระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกอยู่
สดับข่าวว่า เสด็จถึงพระนครของพระองค์ มีบริวารแสนโกฏิ
ก็ออกไปรับเสด็จ สดับฟังธรรมของพระองค์แล้วก็ถวายมหาทาน ๗ วัน
ในวันที่ ๗ จบอนุโมทนาภัตทานของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมกับบริวารแสนโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
สมัยต่อมา
สัตว์เก้าหมื่นโกฏิบรรลุพระอรหัต.
ในสมาคมของท้าวสุทัสสนเทวราช
พระศาสดาอันภิกษุสาวกเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ต่อมาอีก
ในสมัยทรงแนะนำพญาช้างโทณมุข
สัตว์แปดหมื่นโกฏิบวชแล้วบรรลุพระอรหัต
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ท่ามกลางภิกษุสาวกเหล่านั้น นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
พระสาวกแสนโกฏิ ประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
พระมุนีสาวกเก้าหมื่นโกฏิ ประชุมพร้อมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสาวกแปดหมื่นโกฏิ ประชุมกันเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 524
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นมาณพพราหมณ์ชื่อ กัสสปะ
เรียนจบไตรเพท ครบ ๕ ทั้งอิติหาสศาสตร์
ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ให้สร้างสังฆาราม ที่น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
ด้วยการบริจาคทรัพย์แสนโกฏิ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล ๕.
ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์นั้นว่า
ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป นับแต่กัปนี้
จักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพระนามว่า โคตมะ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นมาณพพราหมณ์ ชื่อว่า กัสสปะ
คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราฟังธรรมของพระปิยทัสสีพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แล้ว ก็เกิดความเลื่อมใส ให้สร้างสังฆารามด้วยทรัพย์แสนโกฏิ.
เราถวายอารามแด่พระองค์แล้ว ก็ร่าเริงสลดใจยึดสรณะและศีล ๕ ไว้มั่น.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น ประทับนั่งท่ามกลางสงฆ์
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า เมื่อล่วงไป ๑,๘๐๐ กัป
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสจึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป
เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 525
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สรเณ ปญฺจสีเล จ ความว่า สรณะ ๓ และศีล ๕.
บทว่า อฏฺฐารเส กปฺปสเต ความว่า ล่วงไป ๑,๘๐๐ กัปนับแต่ภัตรกัปนี้.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าปิยทัสสี พระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุจันทาเทวี.
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสุชาดาและพระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นกกุธะ ต้นกุ่ม
พระสรีระสูง ๘๐ศอก
พระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางวิมลา
พระโอรสพระนามว่า พระกัญจนาเวฬะ
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระปิยทัสสีศาสดา ทรงมีพระนคร ชื่อว่า สุธัญญะ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางจันทา.
พระปิยทัสสีศาสดา
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระปาลิตะ และ พระสัพพทัสสี
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระโสภิตะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสุชาดา และ พระธัมมทินนา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นกกุธะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 526
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น มีพระบริวารยศหา
ประมาณมิได้ มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
สูง ๘๐ ศอก ปรากฏชัดเหมือนต้นพญาสาละ.
พระรัศมีของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้นเป็นเช่นใด
รัศมีของดวงไฟ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ หาเป็นเช่นนั้นไม่.
พระผู้มีพระจักษุ ดำรงอยู่ในโลกเก้าหมื่นปี
พระชนมายุของพระผู้เป็นเทพแห่งเทพพระองค์นั้น ก็มีเพียงเท่านั้น.
พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ก็ดี
คู่พระอัครสาวกผู้ไม่มีผู้เทียบได้เหล่านั้น ก็ดี ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่าแน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สาลราชาว ความว่า เห็นได้ชัดเหมือนพญาสาลพฤกษ์
ที่มีลำต้นเกลากลมออกดอกบานสะพรั่งทั่วทั้งต้น ดูน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.
บทว่า ยุคานิปิ ตานิ ได้แก่ คู่ มีคู่พระอัครสาวกเป็นต้น.
คาถาที่เหลือทุกแห่งง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 527