[๒๓๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลอันยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ
ครั้นต่อมา จิตของพวกเธอ
น้อมไปเพื่อความกำหนัดก็มี
น้อมไปเพื่อความคัดเคืองก็มี
น้อมไปเพื่อความหลงก็มี
จึงมีความรังเกียจว่า สิกขาบทอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว
แต่พวกเรา
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 456
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ
พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ
แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่ท่านพระอานนท์ ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ
ตรัสว่า มีอยู่เหมือนกัน อานนท์ ข้อที่ภิกษุทั้งหลาย
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้เห็นว่าได้เห็น
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้ถึงว่าได้ถึง
สำคัญมรรคผลที่ตนยังมิได้บรรลุว่าได้บรรลุ
สำคัญมรรคผลที่ตนยังได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง
จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ แต่ข้อนั้นนั่นแล เป็นอัพโพหาริก
ลำดับนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมีกถา
ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๔. อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตริมนุสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ
น้อมเข้ามาในตนว่า
ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้
ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้
ครั้นสมัยอื่นแต่นั้นอันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไม่ถือเอาตามก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว
มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น
ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ
เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้.
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 457
(หน้า459) บทภาชนีย์
[๒๓๖] ที่ชื่อว่า อุตริมนุสธรรม ได้แก่
๑. ฌาน
๒. วิโมกข์
๓. สมาธิ
๔. สมาบัติ
๕. ญาณทัสสนะ
๖. มรรคภาวนา
๗.การทำให้แจ้งซึ่งผล
๘. การละกิเลส
๙. ความเปิดจิต
๑๐. ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 460
ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.
ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่ วิชชา ๓.
ที่ชื่อว่า มรรคภาวนา ได้แก่
สติปัฏฐาน ๔
สัมมัปปธาน ๔
อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕
พละ ๕
โพชฌงค์ ๗
อริยมรรคมีองค์ ๘.
ที่ชื่อว่า การทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่
การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
การทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล
การทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล
การทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.
ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่
การละราคะ
การละโทสะ
การละโมหะ.
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่
ความเปิดจิตจากราคะ
ความเปิดจิตจากโทสะ
ความเปิดจิตจากโมหะ
ที่ชื่อว่า ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า ได้แก่
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยปฐมฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยทุติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยตติยฌาน
ความยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่าด้วยจตุตถฌาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 461