วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓ - คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด - กระดานสนทนาธรรม
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2024, 01:56:31 AM »

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

๓. วงศ์ พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓
ว่าด้วยพระประวัติของพระมงคลพุทธเจ้า

[๔] ต่อมาจากสมัย ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า มงคล ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระองค์ไม่มีใครเทียบ ยิ่งกว่าพระชินพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ข่มรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ทำหมื่นโลกธาตุให้สว่างจ้า.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔ อันประเสริฐสูงสุด.
สัตว์นั้น ๆ ก็ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ลงได้,
ในการที่ทรงบรรลุพระโพธิญาณ อันหาที่เทียบมิได้
แล้วทรงแสดงธรรมครั้งแรก
ธรรมาภิสมัย ครั้งที่ ๑ ก็ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรด ในภพของท้าวสักกะเทวราชจอมเทพ
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ เทวดาแสนโกฏิ.
ครั้ง พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้า ก็ทรงลั่นธรรมเถรีอันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 330
ครั้งนั้น ข้าราชบริพารตามเสด็จพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้น ก็ได้เป็นผู้บวชด้วยเอหิภิกษุอุปสัมปทาทั้งหมด ไม่เหลือเลย.

สมัยพระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตการประชุม ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๒ ก็เป็นการประชุมสาวกแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ เป็นการประชุมสาวกเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมสาวกผู้เป็นพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อสุรุจิ
เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท
เราเข้าเฝ้า ถึงพระศาสดาเป็นสรณะ
บูชาพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว
ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วยควปานะ ขนมแป้งผสมน้ำนมโค.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้าพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่นับไม่ได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตเสด็จออกอภิเนษกรมณ์
จากกรุงกบิลพัศดุ์ที่น่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 331
พระตถาคต ประทับ ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส เสด็จเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น
เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดตกแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มียศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยมแล้ว
ตรัสรู้ ณ โคนต้นโพธิพฤกษ์ ชื่อว่าอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า มายา
พระชนกพระนามว่า สุทโธทนะ ท่านผู้นี้จักมีนามว่าพระโคตมะ.
จักมีคู่อัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีคู่อัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
ต้นโพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า อัสสัตถพฤกษ์.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
จักมีอัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 332
พระโคตมพุทธเจ้าผู้มียศพระองค์นั้น
จักมีพระชนมายุ ประมาณ ๑๐๐ ปี.

มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
สดับพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่นี้แล้ว
ก็พากันปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ พร้อมทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสอนของพระโลกนาถพระองค์นี้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำเฉพาะหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำทางหลัง ข้ามมหานทีฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่าจะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัสของพระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสมากขึ้น อธิษฐานวัตรยิ่งยวดขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มบริบูรณ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 333
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
จึงถวายเคหสมบัติของเรา แด่พระมงคลพุทธเจ้า แล้วก็บวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัยและนวังคสัตถุสาสน์ได้หมด ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้งดงาม.

เราเมื่ออยู่ในพระศาสนานั้น ไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงฝั่งในอภิญญา ๕ ก็ไปพรหมโลก.

พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า อุตตระ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทเยี่ยมยอด ๓ หลัง ชื่อ ยสวา สุจิมา สิริมา
ทรงมีพระสนมนารีสามหมื่นถ้วน
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ.
พระชินเจ้าทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือม้า
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้เป็นยอดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้สงบ อันพรหมทูลอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรเสด็จจาริกไป.

พระมงคลพุทธเจ้า

ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ทรงมีอัครสาวกชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 334
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลาและพระอโสกา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่าต้นนาคะ คือต้นกากะทิง.
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และ สุมนา.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีหลายแสนแล่นออกจากพระสรีระนั้น.
สมัยนั้น ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ถึงเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นทั้งหลายในมหาสมุทร ใครๆ ก็ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ ฉันใด
สาวกทั้งหลายของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้น.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่ตราบใด
ในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีการตายของสาวกผู้ยังมีกิเลส ตราบนั้น.
พระผู้มียศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร ทรงรุ่งเรืองแล้ว ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนดวงไฟ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 335
ทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก
รุ่งเรืองแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนกองไฟดับ ประดุจดวงอาทิตย์อัสดงคต ฉะนั้น.
พระมงคลพุทธเจ้า ปรินิพพาน ณ อุทยาน ชื่อ เวสสระ
ชินสถูปของพระองค์ ณ อุทยานนั้น สูงสามสิบโยชน์.
จบวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

พรรณาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้าที่ ๓

ดังได้สดับมา
เมื่อพระโกณฑัญญศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ศาสนาของพระองค์ดำรงอยู่แสนปี
เพราะพระสาวกของพระพุทธะและอนุพุทธะอันตรธาน
ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธาน.
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า ล่วงไปอสงไขยหนึ่ง
ในกัปเดียวกันนี่แล ก็บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์ คือ
พระมังคละ
พระสุมนะ
พระเรวตะ
พระโสภิตะ

ใน ๔ พระองค์นั้น พระมงคลพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงบำเพ็ญบารมี สิบหกอสงไขย กำไรแสนกัป
ก็บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
ทรงดำรงตลอดอายุในสวรรค์ชั้นนั้น
เมื่อบุพนิมิต ๕ ประการ เกิดขึ้นแล้ว ก็เกิดพุทธโกลาหลขึ้น
ครั้งนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลก็ประชุมกันในจักรวาลนั้น
จึงพากันอ้อนวอนว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 336
กาโลยํ เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิยํ
สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมตํ ปทํ.
ข้าแต่ท่านมหาวีระ นี้เป็นกาลอันสมควรสำหรับพระองค์
โปรดเสด็จอุบัติในพระครรภ์ของพระมารดาเถิด
พระองค์เมื่อทรงยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดตรัสรู้อมตบทเถิด เจ้าข้า.

ทรงถูกเทวดาทั้งหลายอ้อนวอนอย่างนี้แล้ว
ทรงพิจารณาวิโลกนะ ๕ ประการ ก็จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต
ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระนางอุตตราเทวี
ราชสกุลของ พระเจ้าอุตตระ ผู้ยอดเยี่ยม
ใน อุตตระนคร ซึ่งเป็นนครสูงสุดเหมือนครทุกนคร

ครั้งนั้นได้ปรากฏปาฏิหาริย์เป็นอันมากปาฏิหาริย์เหล่านั้น
พึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในวงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้านั่นแล.

นับตั้งแต่พระมงคลมหาสัตว์ ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางอุตตระมหาเทวีพระองค์นั้น
พระรัศมีแห่งพระสรีระก็แผ่ไปตลอดเนื้อที่ประมาณ ๘๐ ศอก ทั้งกลางคืนกลางวัน
แสงจันทร์และแสงอาทิตย์สู้ไม่ได้
พระรัศมีนั้น กำจัดความมืดได้โดยที่พระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์เกิดขึ้น
ไม่ต้องใช้แสงสว่างอย่างอื่น พระพี่เลี้ยงพระนม ๖๘ นางคอยปรนนิบัติอยู่.

เล่ากันว่า
พระนางอุตตราเทวีนั้น มีเทวดาถวายอารักขา ครบทศมาส
ก็ประสูติพระมังคลมหาบุรุษ ณ มงคลราชอุทยาน ชื่อว่า อุตตรมธุรอุทยาน
อันมีไม้ดอกหอมอบอวล ไม้ต้นติดผลมีกิ่งและค่าคบ ประดับด้วยดอกบัวต้นและ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 337
บัวสาย มีเนื้อกวาง ราชสีห์ เสือ ช้าง โคลาน ควาย เนื้อฟาน และฝูงเนื้อ
นานาชนิดเที่ยวกันไป น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
พระมหาสัตว์พระองค์นั้นพอประสูติเท่านั้น
ก็ทรงแลดูทุกทิศ หันพระพักตร์สู่ทิศอุดร
ทรงย่างพระบาท ๗ ก้าว
ทรงเปล่งอาสภิวาจา
ขณะนั้น เทวดาสิ้นทั้งหมื่นโลกธาตุ ก็ปรากฏกาย
ประดับองค์ด้วย ทิพยมาลัยเป็นต้น
ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ แซ่ซ้องถวายสดุดีชัยมงคล
ปาฏิหาริย์ทั้งหลายมีนัยที่กล่าวแล้วทั้งนั้น ในวันขนานพระนามพระมหาบุรุษนั้น
โหรทำนายลักษณะขนานพระนามว่า มงคลกุมาร
เพราะประสูติด้วยมงคลสมบัติทุกอย่าง.

ได้ยินว่า
พระมหาบุรุษนั้นมีปราสาท ๓ หลัง คือ ยสวา รุจิมา สิริมา
สตรีเหล่านาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนสามหมื่น
มีพระนางยสวดีเป็นประธาน
ณ ปราสาทนั้นพระมหาสัตว์เสวยสุขเสมือนทิพยสุข เก้าพันปี
ทรงได้พระโอรสพระนามว่า สีลวา
ในพระครรภ์ของพระนาง ยสวดี พระอัครมเหสี
ทรงม้าตัวงามนามว่า ปัณฑระ ที่ตกแต่งตัวแล้ว
เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ทรงผนวช
มนุษย์สามโกฏิ ก็พากันบวชตามเสด็จพระมหาสัตว์ที่ทรงผนวชพระองค์นั้น
พระมหาบุรุษ อันภิกษุเหล่านั้นแวดล้อมแล้วทรงบำเพ็ญความเพียรอยู่ ๘ เดือน.

แต่นั้น ก็เสวยข้าวมธุปายาส มีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่ไว้
อันนางอุตตรา ธิดาของ อุตตรเศรษฐี ในหมู่บ้านอุตตรคามถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน ซึ่งประดับด้วยไม้ดอกหอมกรุ่น มีแสงสีเขียว น่ารื่นรมย์

ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่อุตตระอาชีวกถวาย
เสด็จเข้าไปยังต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อนาคะ [กากะทิง]
มีร่มเงาเย็นคล้ายอัญชันคิรี สีครามแก่ ประหนึ่งมียอด มีตาข่ายทองคลุม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 338
เว้นจากการชุมนุมของฝูงมฤคนานาพันธุ์ ประดับด้วยกิ่งหนาทึบ
ที่ต้องลมอ่อน ๆ แกว่งไกวคล้ายฟ้อนรำ ถึงต้นนาคะโพธิที่น่าชื่นชม
ก็ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ
ประทับยืนข้างทิศอีสาน [ตะวันออกเฉียงเหนือ
ทรงลาดสันถัตหญ้า ๕๘ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น
ทรงอธิษฐานความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔
ทรงทำการพิจารณาปัจจยาการหยั่งลงโดยอำนาจอนิจจลักษณะเป็นต้นในขันธ์ทั้งหลาย
ก็ทรงบรรลุพระอนุตตรสมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ
ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
เราแสวงหาตัณหานายช่างผู้สร้างเรือน
เมื่อไม่พบก็ท่องเที่ยวไปตลอดชาติสงสารเป็นอันมาก
การเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์
ดูก่อนตัณหา นายช่างผู้สร้างเรือน
ตัวท่านเราพบแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีกแล้ว
โครงสร้างเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว
ยอดเรือนท่านเราก็รื้อเสียแล้ว
จิตเราถึงธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้
เพราะเราบรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว.

ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระ พระมงคลพุทธเจ้า
มีเกินยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ
รัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ไม่เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 339
ซึ่งมีรัศมีพระสรีระ ประมาณ ๘๐ ศอกบ้าง วาหนึ่งบ้างโดยรอบ
ส่วนรัศมีแห่งพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ เป็นนิจนิรันดร์
ต้นไม้ ภูเขา เรือน กำแพง หม้อน้ำ บานประตูเป็นต้น
ได้เป็นเหมือนหุ้มไว้ด้วยแผ่นทอง พระองค์มีพระชนมายุถึงเก้าหมื่นปี.

รัศมีของดวงจันทร์ดวงอาทิตย์และดวงดาวเป็นต้น
ไม่มีตลอดเวลาถึงเท่านั้น การกำหนดเวลากลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ
สัตว์ทั้งหลายทำการงานกันทุกอย่างด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น
เหมือนทำงานด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์เวลากลางวัน
โลกกำหนดเวลาตอนกลางคืนกลางวัน โดยดอกไม้บานยามเย็นและนกร้องยามเช้า.
ถามว่า อานุภาพนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ ไม่มีหรือ.
ตอบว่า ไม่มี หามิได้
ความจริง พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงประสงค์
ก็ทรงแผ่พระรัศมีไปได้ตลอดหมื่นโลกธาตุ หรือยิ่งกว่านั้น
แต่รัศมีแห่งพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้ามงคล
แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุเป็นนิจนิรันดร์
เหมือนรัศมีวาหนึ่งของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ก็ด้วยอำนาจความปรารถนาแต่เบื้องต้น.

เขาว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระโอรสและพระชายา
ในอัตภาพ เช่นเดียว
กับอัตภาพ เป็นพระเวสสันดร
ประทับอยู่ ณ ภูเขาเช่นเดียวกับเขาวงกต.

ครั้งนั้น
ยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่ตนหนึ่ง
กินมนุษย์เป็นอาหาร
ชอบเบียดเบียนคนทุกคน
ชื่อ ขรทาฐิกะ

ได้ข่าวว่า
พระมหาบุรุษ
ชอบให้ทาน

จึงแปลงกาย เป็นพราหมณ์
เข้าไปหา ทูลขอทารก
สองพระองค์ กะพระมหาสัตว์

พระมหาสัตว์
ทรงดีพระทัยว่า

เราจะให้ลูกน้อย สองคน
แก่ พราหมณ์ดังนี้

ได้ทรงประทาน
พระราชบุตรทั้งสอง พระองค์แล้ว
ทำให้แผ่นดิน หวั่นไหว จนถึงน้ำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 340
ขณะนั้น
ทั้งที่พระมหาสัตว์ ทรงเห็นอยู่

ยักษ์ละเพศ
เป็นพราหมณ์นั้นเสีย

มีดวงตากลม
เหลือกเหลือง ดังเปลวไฟ
มีเขี้ยวโง้ง ไม่เสมอกัน
น่าเกลียดน่ากลัว
มีจมูกบี้แบน
มีผมแดงหยาบยาว
มีเรือนร่าง เสมือนต้นตาล ไหม้ไฟ ใหม่ ๆ

จับทารก สองพระองค์
เหมือน กำเหง้าบัว
เคี้ยวกิน

พระมหาบุรุษ
มองดูยักษ์

พอยักษ์อ้าปาก
ก็เห็นปากยักษ์นั้น
มีสายเลือดไหลออก เหมือนเปลวไฟ
ก็ไม่เกิดโทมนัส แม้เท่าปลายผม

เมื่อคิดว่า
เราให้ทานดีแล้ว
ก็เกิดปีติโสมนัส มากในสรีระ.

พระมหาสัตว์นั้น
ทรงทำความปรารถนาว่า
ด้วยผลแห่งทาน ของเรานี้

ในอนาคตกาล
ขอรัศมีทั้งหลาย
จงแล่นออกโดยทำนองนี้

เมื่อพระองค์อาศัยความปรารถนา
เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว
รัศมีทั้งหลายจึงเปล่ง ออกจากสรีระ
แผ่ไปตลอดสถานที่ มีประมาณเท่านั้น.

บุพจริยาอย่างอื่นของพระองค์ยังมีอีก.
เล่ากันว่า
ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์
พระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นี้
เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง
คิดว่า ควรที่จะสละชีวิตของเรา
เพื่อพระพุทธเจ้าพระองค์นี้
ให้เขาพันทั่วทั้งสรีระโดยทำนอง
พันประทีปด้าม ให้บรรจุถาดทองมีค่านับแสน
ซึ่งมีช่อดอกไม้ตูมขนาดศอกหนึ่ง
เต็มด้วยของหอมและเนยใส
จุดไส้เทียนพันไส้ไว้ในถาดทองนั้น
ใช้ศีรษะเทินถาดทองนั้นแล้วให้จุดไฟทั่วทั้งตัว
ทำประทักษิณพระเจดีย์ของพระชินเจ้า
ให้เวลาล่วงไปตลอดทั้งคืน
เมื่อพระโพธิสัตว์พยายามอยู่จนอรุณขึ้นอย่างนี้
ไออุ่นก็ไม่จับแม้เพียงขุมขน ได้เป็นเหมือนเวลาเข้าไปสู่ห้องดอกปทุม
จริงทีเดียว ชื่อว่า ธรรมนี้ย่อมรักษาบุคคลผู้รักษาตน
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ
ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
เอสานิสํโส ธมฺเม สุจิณฺเณ
น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 341
ธรรมแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่ประพฤติดีแล้ว
ผู้ประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปทุคติ ดังนี้.

ด้วยผลแห่งกรรมแม้นี้
แสงสว่างแห่งพระสรีระของพระองค์จึงแผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระนามว่ามงคล
ก็ทรงกำจัดความมืดในโลก ทรงชูประทีปธรรม.
รัศมีของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น ไม่มีผู้เทียบ
ยิ่งกว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่น ๆ
ครอบงำแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุก็สว่างจ้า.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตมํ ได้แก่ ความมืดในโลกและความมืดในดวงใจ.
บทว่า นิหนฺตฺวาน ได้แก่ ครอบงำ.
ในคำว่า ธมฺโมกฺกํ นี้อุกฺกา ศัพท์นี้ ใช้ในอรรถเป็นอันมาก มีเบ้าของช่างทองเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น
เบ้าของช่างทองทั้งหลาย พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า
สณฺฑาเสน ชาตรูปํ คเหตฺวา อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ใช้คีมคีบทองใส่ลงในปากเบ้า.
ภาชนะถ่านไฟของช่างทองทั้งหลาย
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา
ในอาคตสถานว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย อุกฺกํ พนฺธิตฺวา อุกฺกามุขํ อาลิมฺเปยฺย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 342
พึงผูกภาชนะถ่านไฟ
ครั้นผูกภาชนะถ่านไฟแล้ว พึงฉาบปากภาชนะถ่านไฟ. เตาไฟของช่างทอง
ก็พึงทราบว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า กมฺมารานํ ยถา อุกฺกาอนฺโต ฌายติ โน พหิ
เปรียบเหมือนเตาของช่างทองทั้งหลาย ย่อมไหม้แต่ภายใน ไม่ไหม้ภายนอก.
ความเร็วของพายุ พึงทราบว่า
อุกฺกา ในอาคตสถานว่า เอวํวิปาโก อุกฺกาปาโต ภวิสฺสติ มีอุกกาบาต จักมีผลเป็นอย่างนี้.
คบเพลิง ท่านเรียกว่า อุกฺกา ในอาคตสถานว่า อุกฺกาสุธาริยนานาสุ
เมื่อคบเพลิงทั้งหลายอันเขาชูอยู่.
แม้ในที่นี้คบเพลิงท่านประสงค์ว่า อุกฺกา.
เพราะฉะนั้นในที่นี้จึงมีความว่า ทรงชูคบเพลิงที่สำเร็จด้วยธรรม
พระองค์ทรงชูคบเพลิงอันสำเร็จด้วยธรรมแก่โลก
ซึ่งถูกความมืด คือ อวิชชาปกปิดไว้ อันความมืดคืออวิชชาครอบงำไว้.
บทว่า อตุลาสิ ได้แก่ ไม่มีรัศมีอื่นเทียบได้ หรือปาฐะก็อย่างนี้เหมือนกัน.
ความว่า มีพระรัศมีอันพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ เทียบไม่ได้.
บทว่า ชิเนหญฺเญหิ ตัดบทเป็น ชิเนหิ อญฺเญหิ แปลว่า กว่าพระชินเจ้าพระองค์อื่นๆ.
บทว่า จนฺทสุริยปฺปภํ หนฺตฺวา ได้แก่ กำจัดรัศมีของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า เว้นแสงสว่างของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
หมื่นโลกธาตุย่อมสว่างจ้าด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.

ก็พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้ว
ทรงยับยั้ง ณ โคนต้นไม้ที่ตรัสรู้ ๗ สัปดาห์
ทรงรับคำวอนขอให้ทรงแสดงธรรมของพรหม
ทรงใคร่ครวญว่าเราจะแสดงธรรมนี้แก่ใครหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ภิกษุสามโกฏิที่บวชกับพระองค์ ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 343
ครั้งนั้น ทรงดำริว่า
กุลบุตรเหล่านี้บวชตามเราซึ่งกำลังบวชอยู่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
พวกเขาถูกเราซึ่งต้องการวิเวก สละไว้

เมื่อวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เข้าไปอาศัย สิริวัฒนนครอยู่ ยังชัฏสิริวัน
เอาเถิด เราจักไปแสดงธรรมแก่พวกเขาในที่นั้น
แล้วทรงถือบาตรจีวรของพระองค์ เหาะสู่อากาศ
เหมือนพระยาหงส์ ปรากฏพระองค์ ณ ชัฏสิริวัน

ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
แสดงอันเตวาสิกวัตรแล้ว นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติมาแล้ว แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ต่อจากนั้น ภิกษุสามโกฏิก็บรรลุพระอรหัต
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศสัจจะ ๔
อันประเสริฐสุด เทวดาและมนุษย์นั้น ๆ ดื่มรสสัจจะบรรเทาความมืดใหญ่ได้.
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม ได้มีแก่ เทวดาและมนุษย์แสนโกฏิ
ในปฐมธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่ชั่งไม่ได้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า จตุโร แปลว่า ๔.
บทว่า สจฺจวรุตฺตเม ความว่า จริงด้วย ประเสริฐด้วย
ชื่อว่า สัจจะอันประเสริฐ อธิบายว่า สัจจะสูงสุด.
ปาฐะว่า จตฺตาโร สจฺจวรุตฺตเม ดังนี้ก็มี ความว่า สัจจะอันประเสริฐ สูงสุดทั้ง ๔.
บทว่า เต เต ได้แก่ เทวดาและมนุษย์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 344
นั้นนั่น อันพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงแนะนำแล้ว.
บทว่า สจฺจรสํ ได้แก่ ดื่มรสอมตะคือการแทงตลอดสัจจะ ๔.
บทว่า วิโนเทนฺติ มหาตมํ ความว่า บรรเทา คือกำจัด ความมืด คือโมหะ ที่พึงละด้วยมรรคนั้น ๆ.
บทว่า ปตฺวาน ได้แก่ แทงตลอด.
ในบทว่า โพธึ นี้ โพธิ ศัพท์นี้มคฺเค ผเล จ นิพฺพาเน รุกฺเข ปญฺญตฺติยํ ตถา
สพฺพญฺญุเต จ ญาณสฺมึ โพธิสทฺโท ปนาคโต.
ก็โพธิศัพท์มาในอรรถ คือ มรรค ผล นิพพาน ต้นไม้ บัญญัติ พระสัพพัญญุตญาณ.
จริงอย่างนั้น
โพธิ ศัพท์ มาในอรรถว่า มรรค
ได้ในประโยคเป็นต้นว่า โพธิ วุจฺจติ จตูสุ มคฺเคสุ ญาณํ
ญาณในมรรค ๔ เรียกว่า โพธิ.
มาในอรรถว่า ผล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อุปสมาย อภิญฺญายสมฺโพธาย สํวตฺตติ
ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้พร้อม.
มาในอรรถว่า นิพพาน ได้ในประโยคนี้ว่า ปตฺวาน โพธึ อมตํอสงฺขตํ
บรรลุพระนิพพาน อันไม่ตาย ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้.
มาในอรรถว่า ต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
ได้ในประโยคนี้ว่า อนฺตรา จ คยํ อนฺตรา จ โพธึ ระหว่างแม่น้ำคยาและต้นโพธิ์.
มาในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคนี้ว่า โพธิ โข ราชกุมาโร โภโต โคตมสฺส
ปาเท สิรสา วนฺทติ พระราชกุมารพระนามว่า โพธิ
ถวายบังคมพระยุคลบาทของพระโคดม ด้วยเศียรเกล้า.

มาในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณ ได้ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติโพธึ วรภูริเมธโส
พระผู้มีพระปัญญาดีอันประเสริฐดังแผ่นดิน ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าลงในอรรถว่า
พระสัพพัญญุตญาณลงในอรรถแม้ พระอรหัตมรรคญาณก็ควร. .
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
บทว่า อตุลํ ได้แก่ เว้นที่จะชั่งได้ คือเกินประมาณ อธิบายว่า ไม่มีประมาณ
พึงถือความว่า ในปฐมธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ซึ่งทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม.

สมัยใด พระมงคลพุทธเจ้า
ทรงอาศัยนคร ชื่อ จิตตะ ประทับอยู่
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มมานะ ของพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นจำปา
เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ที่โคนต้นคัณฑัมพพฤกษ์แล้ว
ประทับนั่งเหนือพื้นพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ใต้โคนต้นปาริฉัตตกะ ณ ภพดาวดึงส์
ซึ่งเป็นภพประเสริฐ สำเร็จด้วยทองและเงินใหม่ งดงาม
เป็นแดนสำเริงสำราญของเหล่าเทวดาและอสูรหนุ่มสาว ตรัสพระอภิธรรม.

สมัยนั้น
ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรมได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
สมัยใด
พระเจ้าจักรพรรดิ พระนาม สุนันทะ
ทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ณ สุรภีนคร ทรงได้จักรรัตนะ.
เล่ากันว่า
เมื่อ พระมงคลทศพลเสด็จอุบัติขึ้นในโลก
จักรรัตนะนั้นก็เขยื้อนจากฐาน

พระเจ้าสุนันทะ
ทรงเห็นแล้ว ก็หมดความบันเทิงพระหฤทัย
จึงทรงสอบถามพวกพราหมณ์ว่า
จักรรัตนะนี้ บังเกิดเพราะกุศลของเรา เหตุไฉน จึงเขยื้อนจากฐาน
สมัยนั้น
พราหมณ์เหล่านั้นจึงพยากรณ์ ถึงเหตุที่จักรรัตนะนั้นเขยื้อน แด่พระราชาว่า
จักรรัตนะจะเขยื้อนจากฐาน
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิหมดพระชนมายุ
เพราะพระเจ้าจักรพรรดิทรงผนวช หรือเพราะ พระพุทธเจ้าปรากฏ
แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระชนมายุของพระองค์ยังไม่สิ้นดอก พระพุทธเจ้าข้า
พระองค์ทรงมีพระชนมายุยืนยาว.
แต่พระมงคลสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติแล้วในโลก
ด้วยเหตุนั้น จักรรัตนะของพระองค์จึงเขยื้อน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 346
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิราช พร้อมทั้งบริษัท จึ
งทรงไหว้จักรรัตนะนั้นด้วยเศียรเกล้า
ทรงวอนขอว่า
ตราบใดเราจักสักการะพระมงคลทศพล
ด้วยอานุภาพของท่าน ขอท่านอย่าเพิ่งอันตรธานไป ตราบนั้นด้วยเถิด.
ลำดับนั้น
จักรรัตนะนั้นก็ได้ตั้งอยู่ที่ฐานตามเดิม.
แต่นั้น พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ ผู้มีความบันเทิงพระหฤทัย
พรั่งพร้อม อันบริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แวดล้อมแล้ว
ก็เสด็จเข้าเฝ้าพระมงคลทศพล ผู้เป็นมงคลของโลกทั้งปวง
ทรงอังคาสพระศาสดาพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวกให้อิ่มหนำสำราญด้วยมหาทาน
ถวายผ้าแคว้นกาสีแด่พระอรหันต์แสนโกฏิรูป
ถวายบริขารทุกอย่างแด่พระตถาคต
ทรงทำการบูชาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ซึ่งทำความประหลาดใจสิ้นทั้งโลก แล้วเข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้า ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง
ทรงทำอัญชลีดั่งช่อดอกบัวอันไร้มลทิน อันรุ่งเรืองด้วยทศนขสโมธานไว้เหนือเศียรเกล้า
ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
แม้พระราชโอรสของพระองค์ พระนามว่า อนุราชกุมาร ก็ประทับนั่งอย่างนั้นเหมือนกัน.

ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุบุพพิกถาโปรดชนเหล่านั้น
ซึ่งมีพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิเป็นประธาน
พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔.

ลำดับนั้น
พระศาสดาทรงสำรวจบุพจริยาของชนเหล่านั้น
ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งบาตรจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์
ก็ทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งประดับด้วยข่ายจักร
ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุมาเถิด.
ในทันทีภิกษุทุกรูป ก็มีผมขนาดสองนิ้ว
ทรงบาตรจีวรสำเร็จด้วยฤทธิ์ ถึงพร้อมด้วยอาการอันสมควรแก่สมณะ
ประหนึ่งพระเถระ ๖๐ พรรษา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 347
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรม ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ภพของท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่เทวดาแสนโกฏิ.
สมัยใด พระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ เสด็จเข้าไปเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระสัมพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
สมัยนั้น หมู่ชนที่ตามเสด็จพระเจ้าสุนันทะมีจำนวนเก้าสิบโกฏิ
ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ไม่มีเหลือ เป็นเอหิภิกขุ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุรินฺทเทวภวเน ความว่า ในภพของท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพอีก.
บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ พระอภิธรรม.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ตี.
บทว่า วรุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐได้ทรงลั่นธรรมเภรีอันสูงสุด.
บทว่า อนุจรา ได้แก่ เสวกผู้ตามเสด็จประจำ.
บทว่า อาสุํ ได้แก่ ได้มีแล้ว.
ปาฐะว่า ตทาสิ นวุติโกฏิโย ดังนี้ก็มี.
ความว่า หมู่ชนของพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิพระองค์นั้นได้มีแล้ว
ถ้าจะถามว่า หมู่ชนนั้น มีจำนวนเท่าไร ก็จะตอบได้ว่า มีจำนวนเก้าสิบโกฏิ.

เล่ากันว่า
ครั้งนั้น เมื่อพระมงคลโลกนาถประทับอยู่ ณ เมขลบุรี
ในนครนั้นนั่นแล สุเทวมาณพ และ ธัมมเสนมาณพ มีมาณพพันหนึ่งเป็นบริวาร
พากันบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
เมื่อคู่พระอัครสาวกพร้อมบริวารบรรลุพระอรหัต ในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 348
พระศาสดาทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในท่ามกลางภิกษุแสนโกฏิ นี้เป็นการประชุมครั้งแรก.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในการประชุมของบรรพชิต
ในสมาคมญาติอันยอดเยี่ยม ณ อุตตราราม อีก นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในท่ามกลางภิกษุเก้าหมื่นโกฏิ
ในสมาคมคณะภิกษุพระเจ้าสุนันทจักรพรรดิ นี้เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีการประชุม ๓ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ.
ครั้งที่ ๒ ประชุมภิกษุแสนโกฏิ
ครั้งที่ ๓ ประชุมภิกษุเก้าสิบโกฏิ
ครั้งนั้น เป็นการประชุมภิกษุขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ ชื่อว่า สุรุจิ
ในหมู่บ้าน สุรุจิพราหมณ์ เป็นผู้จบไตรเพทพร้อมทั้งนิฆัณฑุศาสตร์ เกฏุภศาสตร์
ทั้งประเภทอักขรศาสตร์ ชำนาญร้อยกรอง ชำนาญร้อยแก้ว
ทั้งเชี่ยวชาญในโลกายตศาสตร์และมหาปุริสลักษณศาสตร์

ท่านสุรุจิพราหมณ์นั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ฟังธรรมกถาอันไพเราะของพระทศพลแล้วเลื่อมใสถึงสรณะ
นิมนต์พระผู้พระภาคเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์สาวก ว่า
พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์ด้วยเถิด
ท่านพราหมณ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า
ท่านพราหมณ์ ท่านต้องการภิกษุจำนวนเท่าไร
จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุบริวารของพระองค์มีเท่าไรเล่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้น เป็นการประชุมครั้งที่ ๑
เพราะฉะนั้น เมื่อตรัสว่าแสนโกฏิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 349
สุรุจิพราหมณ์ จึงนิมนต์ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเป็นเช่นนั้น ขอพระองค์โปรดทรงรับอาหารของข้าพระองค์
พร้อมกับภิกษุทุกรูปพระเจ้าข้า.
พระศาสดาจึงทรงรับนิมนต์.

พราหมณ์ ครั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว
ก็กลับไปบ้านตน คิดว่า ภิกษุจำนวนถึงเท่านี้ เราก็สามารถถวายข้าวต้มข้าวสวยและผ้าได้
แต่สถานที่ท่านจะนั่งกันจักทำอย่างไร
ความคิดของท่านพราหมณ์นั้น
ก็ร้อนไปถึงพระแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ของท้าวสหัสนัยน์ สักกเทวราช
ซึ่งสถิตอยู่เหนือยอดขุนเขาพระเมรุ
ระยะทางแปดหมื่นสี่พันโยชน์
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงเห็นอาสน์ร้อนขึ้นมา
ก็เกิดปริวิตกว่า ใครหนอประสงค์จะให้เราเคลื่อนย้ายจากที่นี้
ทรงเล็งทิพยเนตรตรวจดูมนุษยโลก
ก็เห็นพระมหาบุรุษ คิดว่า
พระมหาสัตว์ผู้นี้ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
คิดถึงเรื่องสถานที่ ภิกษุสงฆ์นั้นจะนั่ง แม้เราก็ควรจะไปที่นั้น แล้วรับส่วนบุญ
จึงปลอมตัวเป็นนายช่างไม้ ถือมีดและขวานแล้ว
ปรากฏตัวต่อหน้าพระมหาบุรุษ กล่าวว่า ใครหนอมีกิจที่จะจ้างเราทำงานบ้าง.
พระมหาสัตว์เห็นแล้วก็ถามว่า
ท่านสามารถทำงานของเราได้หรือ เขาบอกกล่าวว่า
ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่เราไม่รู้ ไม่มี ผู้ใด ประสงค์จะให้ทำสิ่งไร ๆ ไม่ว่าจะเป็นมณฑป ปราสาท หรือ
นิเวศน์เป็นต้นไร ๆ อื่น เราก็สามารถทำได้ทั้งนั้น.
พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าอย่างนั้นเรามีงาน.
เขาถามว่า งานอะไรเล่า นายท่าน.
พระมหาสัตว์บอกว่า เรานิมนต์ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ เพื่อฉันอาหารวันพรุ่งนี้
ท่านจักต้องสร้างมณฑป สำหรับภิกษุเหล่านั้นนั่ง นะ
เขากล่าวว่า ได้สิ พ่อคุณ.
เขากล่าวว่า ดีละ
ถ้าอย่างนั้นเราจักทำ
แล้วก็ตรวจดูภูมิประเทศแห่งหนึ่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 350
ภูมิประเทศเหล่านั้นประมาณสิบสองโยชน์ 
พื้นเรียบเหมือนวงกสิณ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง.

เขาคิดอีกว่า
มณฑปที่เห็นเป็นแก่นไม้สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ
จงผุดขึ้น ณ ที่ประมาณเท่านี้ แล้วตรวจดู
ในทันใด มณฑปที่ชำแรกพื้นดินผุดโผล่ขึ้น
ก็เสมือนมณฑปจริง มณฑปนั้น
มีหม้อเงินอยู่ที่เสาทอง
มีหม้อทองอยู่ที่เสาเงิน
มีหม้อแก้วประพาฬอยู่ที่เสาแก้วมณี
มีหม้อแก้วมณีอยู่ที่เสาแก้วประพาฬ
มีหม้อรัตนะ ๗ อยู่ที่เสารัตนะ ๗.

ต่อนั้น เขาตรวจดูว่า ข่ายกระดิ่ง จงห้อยระหว่างระยะของมณฑป
พร้อมกับการตรวจดู ข่ายกระดิ่งก็ห้อย ซึ่งเมื่อต้องลมพานอ่อนๆ
ก็เปล่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
เหมือนอย่างดนตรีเครื่อง ๕ ได้เป็นเหมือนเวลาบรรเลงทิพยสังคีต.

เขาคิดว่า
พวงของหอม พวงดอกไม้ พวงใบไม้และพวงรัตนะ ๗ ของทิพย์
จงห้อยลงเป็นระยะๆ. พร้อมกับคิด พวงทั้งหลายก็ห้อย.

อาสนะ เครื่องลาดมีค่าเป็นของกับปิยะ และเครื่องรองทั้งหลาย
สำหรับภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จงชำแรกแผ่นดินผุดโผล่ขึ้น ในทันใด ของดังกล่าวก็ผุดขึ้น

เขาคิดว่า
หม้อน้ำ จงตั้งอยู่ทุก ๆ มุม ๆ ละหม้อ
ทันใดนั่นเองหม้อน้ำทั้งหลายเต็มด้วยน้ำสะอาดหอม
และเป็นกัปปิยะมีรสอร่อย เย็นอย่างยิ่ง มีปากปิดด้วยใบทอง
ก็ตั้งขึ้น ท้าวสหัสสนัยน์นั้น ทรงเนรมิตสิ่งของมีประมาณเท่านี้แล้ว
เข้าไปหาพราหมณ์กล่าวว่า
นายท่าน มานี่แน่ะ ท่านเห็นมณฑปของท่านแล้วโปรดให้ด่าจ้างแก่เราสิ
พระมหาสัตว์ไปตรวจดูมณฑปนั้น
เมื่อเห็น มณฑปนั่นแลสรีระก็ถูกปีติ ๕ อย่างถูกต้อง แผ่ซ่านมิได้ว่างเว้นเลย.
ครั้งนั้น
พระมหาสัตว์เมื่อแลเห็น ก็คิดอย่างนี้ว่า
มณฑปนี้มิใช่ฝีมือมนุษย์สร้าง
อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา
จึงร้อนถึงภพของท้าวสักกเทวราช
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 351
ต่อนั้น ท้าวสักกจอมทวยเทพจึงทรงเนรมิตมณฑปนี้แน่แล้ว.
พระมหาสัตว์คิดว่า
การจะถวายทานวันเดียวในมณฑปเห็นปานนี้ไม่สมควรแก่เรา
จำเราจะถวายตลอด ๗ วัน ธรรมดาทานภายนอก แม้มีประมาณเท่านั้น
ก็ยังไม่อาจทำหัวใจของพระโพธิสัตว์ให้พอใจได้
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอาศัยจาคะย่อมจะชื่อว่าพอใจ
ก็แต่ในเวลาที่ตัดศีรษะที่ประดับแล้วหรือควักลูกตาที่หยอดแล้ว
หรือถอดเนื้อหัวใจให้เป็นทาน.

จริงอยู่ ในสิวิชาดก
เมื่อพระโพธิสัตว์ของเรา สละทรัพย์ห้าแสนกหาปณะทุกๆ วัน
ให้ทาน ๕ แห่ง คือท่ามกลางนคร และที่ประตูทั้ง ๕.
ทานนั้นไม่อาจให้เกิดความพอใจในจาคะได้เลย.
แต่สมัยใด
ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวเป็นพราหมณ์ มาขอจักษุทั้งสองข้าง
สมัยนั้น
พระโพธิสัตว์นั้น ก็ควักจักษุเหล่านั้นให้ กำลังทานนั่นแหละ จึงเกิดความร่าเริง
จิตมิได้เปลี่ยนแปลงแม้แต่เท่าปลายเส้นผม.
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
พระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลาย
อาศัยแต่ทานภายนอกจึงมิได้อิ่มเลย
เพราะฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้พระองค์นั้น คิดว่า
เราควรถวายทานแก่ภิกษุจำนวนแสนโกฏิ
จึงให้ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ณ มณฑปนั้นแล้วถวายทาน ชื่อว่า ควปานะ [ขนมแป้งผสมนมโค] ๗ วัน.
โภชนะที่เขาบรรจุหม้อขนาดใหญ่ๆ ให้เต็มด้วยน้ำนมโคแล้วยกตั้งบนเตา
ใส่ข้าวสารทีละน้อยๆ ลงที่น้ำนมซึ่งสุกโดยเคี่ยวจนข้นแล้วปรุงด้วยน้ำผึ้ง
คลุกน้ำตาลกรวดละเอียดและเนยใสเข้าด้วยกัน เรียกกันว่า ควปานะ ในบาลีนั้น
ควปานะนี้นี่แหละ เขาเรียกว่าโภชนะอร่อยมีรส ๔ ดังนี้ก็มี. แต่มนุษย์ทั้งหลาย
ไม่อาจอังคาสได้ แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ที่อยู่ช่องว่างช่องหนึ่งจึงอังคาสได้
สถานที่นั้นแม้มีขนาดสิบสองโยชน์ ก็ยังไม่พอรับภิกษุเหล่านั้นได้เลย
 แต่ภิกษุเหล่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 352
นั้นนั่งโดยอานุภาพของตนๆ.
วันสุดท้าย พระมหาบุรุษให้เขาล้างบาตรภิกษุทุกรูป
บรรจุด้วยเนยใส เนยขึ้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น
ได้ถวายพร้อมด้วยไตรจีวร ผ้าจีวรที่ภิกษุสังฆนวกะ ในที่นั้นได้แล้ว ก็เป็นของมีค่านับแสน.
ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อทรงทำอนุโมทนา
ทรงใคร่ครวญดูว่า มหาบุรุษผู้นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ จักเป็นใครกันหนอ
ก็ทรงเห็นว่า ในอนาคตกาล
เขาจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ
ในที่สุดสองอสงไขย กำไรแสนกัป

แต่นั้น จึงทรงเรียกพระมหาสัตว์มา
แล้วทรงพยากรณ์ว่า ล่วงกาลประมาณเท่านี้
ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะ.
ลำดับนั้น
พระมหาบุรุษสดับคำพยากรณ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
ก็มีหัวใจปลาบปลื้ม คิดว่า พระองค์ตรัสว่าเราจักเป็นพระพุทธเจ้า
เราก็ไม่ต้องการอยู่ครองเรือนจึงละสมบัติเห็นปานนั้นเสียเหมือนก้อนเขฬะ
บวชในสำนักของพระศาสดา เรียนพระพุทธวจนะ ยังอภิญญาและสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด
มีฌานไม่เสื่อม ดำรงอยู่จนตลอดอายุ
ที่สุดอายุ บังเกิดแล้วในพรหมโลก.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ ชื่อว่าสุรุจิ เป็นผู้คงแก่เรียน ทรงมนต์ จบไตรเพท.
เราเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถึงพระองค์เป็นสรณะ
แล้วบูชาพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน
ด้วยของหอมและดอกไม้
ครั้นบูชาด้วยของหอมและดอกไม้แล้ว ก็เลี้ยงให้อิ่มหนำสำราญด้วย ขนมควปานะ.

พระมงคลพุทธเจ้า
ผู้ทรงเป็นยอดของสัตว์สองเท้า
แม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า ในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 353
ตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัศดุ์แล้ว
ตั้งความเพียรกระทำทุกกรกิริยาแล้ว ฯลฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

เราฟังพระดำรัสของ พระมงคลพุทธเจ้านั้นแล้ว
ก็ยังจิตให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นไป
แล้วอธิษฐาน ข้อวัตรยิ่งขึ้น เพื่อบำเพ็ญบารมีให้สมบูรณ์.
ครั้งนั้น เราเพิ่มพูนปีติ เพื่อบรรลุพระสัมโพธิญาณอันประเสริฐ
ก็ถวายเคหะของเราแด่พระพุทธเจ้า แล้วบวชในสำนักของพระองค์.
เราเล่าเรียนพระสูตร พระวินัย และนวังคสัตถุศาสน์ทั้งหมด
ยังศาสนาพระชินเจ้าให้งดงาม
เราอยู่ในพระศาสนานั้น อย่างไม่ประมาท
เจริญพรหมวิหารภาวนา ก็ถึงฝั่งอภิญญา เข้าถึงพรหมโลก
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า คนฺธมาเลน ได้แก่ ด้วยของหอมและ ดอกไม้.
คำว่า ควปานะ นี้ได้กล่าวมาแล้ว.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฆตปาเนน ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตปฺปยึ แปลว่า ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว.
บทว่า อุตฺตรึปิ วตมธิฏฺฐสึ ได้แก่ อธิษฐานข้อวัตร ยวดยิ่งขึ้น.
บทว่า ทสปารมิปูริยา ได้แก่ เพื่อทำบารมี ๑๐ ให้เต็ม.
บทว่า ปีตึ ได้แก่ ความยินดีแห่งใจ.
บทว่า อนุพฺรูหนฺโต ได้แก่ ให้เจริญ.
บทว่า สมฺโพธิวรปตฺติยา ได้แก่ เพื่อบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า.
บทว่า พุทฺเธ ทตฺวาน ได้แก่ บริจาคแด่พระพุทธเจ้า.
บทว่า มํ เคหํ ความว่า บริจาคเคหะคือสมบัติ
๑. ดูความพิศดารในวงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔ หน้า ๓๕๘.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 354
ทุกอย่างของเรา แด่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า เพื่อเป็นปัจจัย ๔.
บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในพระพุทธศาสนานั้น.
บทว่า พฺรหฺมํ ได้แก่ เจริญพรหมวิหารภาวนา.

ก็พระผู้มีพระภาค มงคลพุทธเจ้า
มีพระนคร ชื่อว่า อุตตรนคร
แม้พระชนกของพระองค์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
แม้พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตระ
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะและ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และ พระอโสกา
ต้นไม้ที่ตรัสรู้ ชื่อต้นนาคะ[กากะทิง]
พระสรีระสูง ๘๘ ศอก
พระชนมายุประมาณเก้าหมื่นปี

ส่วนพระชายาพระนามว่า ยสวดี
พระโอรสพระนามว่า สีวละ
เสด็จอภิเนษกรมณ์โดยยานคือ ม้า
ประทับ ณ พระวิหาร อุตตราราม
อุปัฏฐากชื่อ อุตตระ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ดำรงพระชนม์อยู่เก้าหมื่นปี
ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.

หมื่นจักรวาลก็มืดลงพร้อมกัน
โดยเหตุอย่างเดียวเท่านั้น
มนุษย์ทุกจักรวาล ก็พากันร่ำไห้คร่ำครวญเป็นการใหญ่
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระมงคลพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีนคร ชื่ออุตตรนคร
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุตตระ
พระชนนีพระนามว่า พระนางอุตตรา.
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสุเทวะ พระธรรมเสนะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตะ.
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อพระสีวลา และพระอโสกา
ต้นไม้ตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เรียกว่า ต้นนาคะ.
พระมหามุนี สูง ๘๘ ศอก
พระรัศมีแล่นออกจากพระสรีระนั้นหลายแสน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 355
ในยุคนั้น
ทรงมีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
คลื่นในมหาสมุทร ใครๆ ไม่อาจนับคลื่นเหล่านั้นได้ฉันใด
สาวกของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้นใครๆ ก็ไม่อาจนับสาวกเหล่านั้นได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระมงคลสัมพุทธเจ้า

ผู้นำโลก ยังดำรงอยู่เพียงใด ความตายของผู้ยังมีกิเลสในศาสนาของพระองค์ ก็ไม่มีเพียงนั้น.
พระผู้มีพระยศใหญ่พระองค์นั้น ทรงชูประทีปธรรม
ยังมหาชนให้ข้ามโอฆสงสาร แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนดวงไฟลุกโพลงแล้วก็ดับไปฉะนั้น.
พระองค์ ครั้นทรงแสดงความที่สังขารทั้งหลายเป็นสภาวธรรมแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน
เหมือนกองไฟลุกโพลงแล้วก็ดับ เหมือนดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างแล้ว ก็อัสดงคตฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ตโต ได้แก่ จากพระสรีระของพระมงคลพุทธเจ้าพระองค์นั้น.
บทว่า นิทฺธาวตี ก็คือ นิทฺธาวนฺติ พึงเห็นว่าเป็นวจนะวิปลาส. .
บทว่า รํสี ก็คือ รัศมีทั้งหลาย.
บทว่า อเนกสตสหสฺสีก็คือ หลายแสน.
บทว่า อูมี ได้แก่ ระลอกคลื่น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 356
บทว่า คเณตุเยแปลว่า เพื่อคำณวน คือนับ.
อธิบายว่า คลื่นในมหาสมุทร ใคร ๆ ไม่อาจนับว่าคลื่นในมหาสมุทรมีเท่านี้ ฉันใด
แม้สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ ที่แท้เกินที่จะนับได้ ก็ฉันนั้น.
บทว่า ยาว ได้แก่ ตลอดกาลเพียงใด.
บทว่า สกิเลสมรณํ ตทา ความว่า บุคคลเป็นไปกับด้วยกิเลสทั้งหลาย
ชื่อว่าผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส.
ความตายของผู้เป็นไปกับด้วยกิเลส ชื่อว่า สกิเลสมรณะ ความตายของผู้มีกิเลส.
ความตายของผู้มีกิเลสนั้นไม่มี.

เขาว่า สมัยนั้น
สาวกทั้งหลายในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
บรรลุพระอรหัตแล้ว ก็พากันปรินิพพานหมด
ผู้เป็นปุถุชนหรือเป็นพระโสดาบันเป็นต้นก็ยังไม่ทำกาลกิริยา [ตาย]
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สมฺโมหมารณํ ตทา ดังนี้ก็มี.
บทว่า ธมฺโมกฺกํ แปลว่า ประทีปธรรม.
ไฟท่านเรียกว่า ธูมเกตุ
แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าประทีป
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า เหมือนประทีปส่องแสงแล้วก็ดับไป.
บทว่า มหายโส ได้แก่ พระผู้มีบริวารมาก
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า นิพฺพุโต โส สสาวโก.
บทว่า สงฺขารานํ ได้แก่ สังขตธรรมธรรมที่มีปัจจัย.
บทว่า สภาวตฺตํ ได้แก่ สามัญลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น.
บทว่า สุริโย อตฺถงฺคโต ยถา ความว่า ดวงอาทิตย์ซึ่งมีรัศมีนับพัน
กำจัดกลุ่มความมืดทั้งหมด และส่องสว่างหมดทั้งโลก ยังถึงอัสดงคต ฉันใด
แม้พระมงคลพุทธเจ้าผู้เป็นดั่งดวงอาทิตย์ ผู้ทำความแย้มบานแก่เวไนยสัตว์ผู้เป็นดั่งดงบัว
ทรงกำจัดความมืดในโลกทั้งภายในทั้งภายนอกทุกอย่าง
ทรงรุ่งเรืองด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ ก็ถึงความดำรงอยู่ไม่ได้
ก็ฉันนั้น คาถาที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระมงคลพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357





 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9