พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 357
๔. วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
ว่าด้วยพระประวัติของพระสุมนพุทธเจ้า
[๕] ต่อจากสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์.
ครั้งนั้น ทรงลั่นอมตเภรี คือ คำสั่งสอนของพระชินพุทธเจ้ามีองค์ ๙
ซึ่งประกอบพร้อมด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายแล้วทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด
ทรงสร้างนคร คือ พระสัทธรรมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระองค์ทรงสร้างถนนใหญ่ ที่ไม่ขาดไม่คด แต่ตรง
ใหญ่กว้าง คือ สติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
ทรงคลี่วางสามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา อภิญญา ๖ และสมาบัติ ๘ ไว้ ณ ถนนนั้น.
ชนเหล่าใด ไม่ประมาท ไม่มีตะปูตรึงใจประกอบด้วยหิริและวีริยะ
ชนเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ ซึ่งคุณประเสริฐเหล่านี้ ตามสบาย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 358
พระศาสดา เมื่อทรงยกชนเป็นอันมากขึ้นด้วยการประกอบนั้น อย่างนี้นี่แล
ก็ทรงสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ เป็นครั้งที่ ๑.
สมัยใด
พระมหาวีระ ทรงสั่งสอนหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น สัตว์พันโกฏิ ก็ตรัสรู้ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.
สมัยใด
เทวดาและมนุษย์ พร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ทูลถามนิโรธปัญหาและข้อสงสัยทางใจ.
แม้สมัยนั้น สัตว์เก่าหมื่นโกฏิ ก็ได้ตรัสรู้ครั้งที่ ๓
ในการแสดงธรรมในการตอบนิโรธปัญหา.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ ผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอยู่จำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศปวารณา พระตถาคตก็ทรงปวารณาพรรษา พร้อมด้วยภิกษุแสนโกฏิ.
ต่อจากสันนิบาต การประชุมครั้งที่ ๑ นั้น
ในการประชุมภิกษุเก้าหมื่นโกฎิ ณ ภูเขาทองไร้มลทินเป็นการประชุม ครั้งที่ ๒.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 359
สมัยที่ท้าวสักกะเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นครั้งที่ ๓.
สมัยนั้น เราเป็นพญานาคชื่ออตุละ มีฤทธิ์มากสั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราออกจากพิภพนาค
พร้อมด้วยเหล่าญาตินาคทั้งหลาย บำรุงบำเรอพระชินพุทธเจ้าด้วยดนตรีทิพย์.
เราเลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ
ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลก
พระองค์นั้น ทรงพยากรณ์เราว่า
ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัศดุ์
อันน่ารื่นรมย์แล้ว ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้านั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำ
เนรัญชรา เสด็จเข้าไปที่โคนโพธิพฤกษ์โดยทางอันดีที่เขาจัดไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 360
ต่อนั้น พระผู้มีพระยศใหญ่ ทรงทำประทักษิณ
โพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม จักตรัสรู้ ณ โพธิพฤกษ์ ชื่ออัสสัตถะ ต้นโพธิใบ.
ท่านผู้นี้จักมีพระชนนี พระนามว่า มายา
พระชนก พระนามว่า สุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ชื่อ โคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อพระโกลิตะ พระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น.
โพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า อัสสัตถะ ต้นโพธิใบ
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะและหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตาและอุตตรา.
พระโคดมผู้พระยศ พระองค์นั้น มีพระชนมายุประมาณ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดา ฟังพระดำรัสนี้ของพระสุมนพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่แล้ว
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุพร้อมทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง
ปรบมือ หัวร่อร่าเริง ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 361
ผิว่า พวกเราจักพลาดคำสั่งสิ้น ของพระโลกนาถ
พระองค์นี้ ในอนาคตกาล พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้าง
หน้า ก็ยังถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด
พวกเราทุกคน ผิว่า จะละพ้นพระชินเจ้าพระองค์นี้ไปเสีย
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว
ก็ยิ่งเลื่อมใสอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อว่า เมขละ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
พระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยเก้าหมื่นปี
มีปราสาทยอดเยี่ยม ๓ ปราสาท ชื่อ จันทะ สุจันทะและวฏังสะ.
ทรงมีพระสนมนารี แต่งกายงาม หกหมื่นสามพันนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า วฏังสกี มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 362
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง ทรงตั้งความเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.
พระมหาวีระ สุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละ ราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ และพระภาวิตัตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทน.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา และพระอุปโสณา
พระพุทธเจ้าผู้เสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อว่า ต้นนาคะ (ต้นกากะทิง).
ทรงมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะและสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอก
พระรูปพระโฉมงดงามเสมือนรูปบูชาทองหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น อายุมนุษย์เก้าหมื่นปี
พระองค์เมื่อทรงพระชนม์ยืนเพียงนั้น ก็ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 363
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังคนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ทรงยังชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
ภิกษุขีณาสพเหล่านั้น พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมือนพระองค์นั้น มียศยิ่งใหญ่
แสดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบได้ ยังพากันนิพพานทั้งนั้น.พระญาณ ที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น
รัตนะ ที่ไม่มีอะไรชั่งได้เหล่านั้น ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปหมดสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงยศ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ พระวิหารนั้นนั่นแล สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า ที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 364
พรรณนา วงศ์พระสุมนพุทธเจ้าที่ ๔
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ทำหมื่นโลกธาตุให้มืดลงพร้อมกัน ด้วยเหตุอย่างเดียวอย่างนี้แล้ว
ต่อมาจากสมัยของพระองค์
เมื่อมนุษย์ทั้งหลายซึ่งมีอายุเก้าหมื่นปี
แล้วก็ลดลงโดยลำดับจนเกิดมามีอายุเพียงสิบปี แล้วเพิ่มขึ้นอีก
จนมีอายุถึงอสงไขยปี แล้วลดลงอีกจนมีอายุเก้าหมื่นปี
พระโพธิสัตว์พระนามว่า สุมนะ
ทรงบำเพ็ญบารมี บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสิริมาเทวี
ในราชสกุลของพระเจ้าสุทัตตะ ณ เมขลนคร
เรื่องปาฏิหาริย์มีนัยที่เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
พระโพธิสัตว์นั้น เจริญวัยมาโดยลำดับ
อันเหล่าสตรีฝ่ายนาฏกะ [ฟ้อน, ขับ, บรรเลง] จำนวนหกหมื่นสามแสนนาง
บำเรออยู่ ณ ปราสาท ๓ หลัง ชื่อ๑ สิริวัฒนะ โลมวัฒนะและอิทธิวัฒนะ
อันเหล่ายุวนารีผู้กล้าหาญปรนนิบัติอยู่ เสวยสุขตามวิสัย เสมือนสุขทิพย์ ประหนึ่งเทพกุมารี
ทรงให้กำเนิดพระโอรสที่ไม่มีผู้เปรียบ พระนามว่า อนูปมะ แก่พระนางวฏังสิกาเทวี
ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือช้าง
ทรงผนวชแล้วส่วนชนสามสิบโกฏิ ก็บวชตามเสด็จพระโพธิสัตว์ ซึ่งทรงผนวชอยู่.
พระองค์ อันชนสามสิบโกฏินั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน ณ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ
เสวยข้าวมธุปายาส อันมีโอชะทิพย์ที่เทวดาใส่
ที่ นางอนุปมา ธิดาของ อโนมเศรษฐี ใน อโนมนิคม ถวายแล้ว
ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ สาละวัน
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่ อนุปมาชีวก ถวาย
๑. ตามบาลีว่า ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 365
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ นาคะ ต้นกากะทิง
ทรงทำประทักษิณต้นนาคะโพธิ์นั้น
ทรงเอาหญ้า ๘ กำปูเป็นสันถัดหญ้ากว้าง ๓๐ ศอก ประทับนั่งขัดสมาธิเหนือสันถัตหญ้านั้น.
ต่อนั้น ก็ทรงกำจัดกองกำลังมาร แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ
ทรงเปล่งอุทานว่า
อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํขยมชฺฌคา ดังนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ถัดสมัยของพระมงคลพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สุมนะ
ทรงเป็นผู้นำโลก ไม่มีผู้เสมอด้วยธรรมทั้งปวง สูงสุดแห่งสัตว์ทั้งปวง.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า มงฺคลสฺส อปเรน ความว่า ต่อมาภายหลังสมัยของพระผู้มีพระภาคมงคลพุทธเจ้า.
บทว่า สพฺพธมฺเมหิ อสโม ได้แก่ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เสมือน
ด้วยธรรมคือศีล สมาธิ ปัญญา แม้ทุกอย่าง.
ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาค สุมนพุทธเจ้า
ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์
ทรงรับคำทูลอาราธนาของพรหมเพื่อแสดงธรรม
ทรงใคร่ครวญว่า จะแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ
ทรงเห็นว่า ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ
พระกนิษฐภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ พระนามว่า สรณกุมาร
และบุตรปุโรหิต ชื่อว่า ภาวิตัตตมาณพ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย
ทรงพระดำริว่า จะทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่านั้นก่อน
จึงเสด็จโดยทางนภากาศ ลงที่พระราชอุทยาน เมขละ
ทรงส่งพนักงานเฝ้าพระราชอุทยานไปเรียก สรณกุมาร พระกนิษฐภาดาของพระองค์และภาวิตัตตมาณพ บุตรปุโรหิต
แล้วทรงยังสัตว์แสนโกฏิอย่างนี้ คือ บริวารของคนเหล่านั้นสาม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 366
สิบเจ็ดโกฏิ ชนที่บวชกับพระองค์สามสิบโกฏิ และเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ มากโกฏิ
ให้ดื่มอมฤตธรรมด้วยทรงประกาศพระธรรมจักร
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ครั้งนั้น พระองค์ทรงลั่นอมตเภรี คือ
คำสั่งสอนของพระชินเจ้ามีองค์ ๙ อันประกอบด้วยสังข์ คือ ธรรม ณ นครเมขละ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อมตเภรึ ได้แก่ เภรีเพื่อบรรลุอมตะเพื่อบรรลุพระนิพพาน.
บทว่า อาหนิ ได้แก่ ประโคม อธิบายว่า แสดงธรรม ชื่อว่า อมตเภรีนี้นั้น
ก็คือพุทธวจนะมีองค์ ๙ มีอมตะเป็นที่สุด
ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า
คือ คำสั่งสอนของพระชินเจ้า อันประกอบด้วยสังข์คือธรรมในคำนั้น.
บทว่า ธมฺมสงฺขสมายุตฺตํ ได้แก่ อันประกอบพร้อมด้วยสังข์อันประเสริฐ คือ กถาว่าด้วยสัจธรรม ๔.
พระสุมนพุทธเจ้า
ผู้นำโลก ทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อทรงปฏิบัติปฏิปทาอันสมควรแก่ปฏิญญา ก็ได้ทรงสร้างอมตนครอันประเสริฐ
มีศีลเป็นปราการอันไพบูลย์ มีสมาธิเป็นดูล้อม
มีวิปัสสนาญาณเป็นทวาร มีสติสัมปชัญญะเป็นบานประตู
ประดับด้วยมณฑปคือสมาบัติเป็นต้น เกลื่อนกล่นด้วยชน
เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิญาณ เพื่อป้องกันรัตนะคือ กุศล อันเหล่าโจรคือ
กิเลสทั้งหลาย คอยปล้นสดมภ์ เพื่อประโยชน์แก่การเปลื้องมหาชนให้พ้น
เครื่องพันธนาการ คือภพ
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงชนะกิเลสทั้งหลายแล้ว
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด ทรงสร้างนคร ชื่อสัทธัมมปุระ อันประเสริฐสูงสุด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 367
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิชฺชินิตฺวา ได้แก่ ชนะได้เด็ดขาด.อธิบายว่า ทรงกำจัดกิเลสมาร และเทวบุตรมาร.
บทว่า โส ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ พระองค์นั้น .
ปาฐะว่า วิชินิตฺวา กิเลเสหิ ดังนี้ก็มี. หิ อักษรเป็นนิบาต ใช้ในอรรถเพียงบทบูรณ์.
บทว่า ปตฺวา แปลว่า บรรลุแล้ว.
ปาฐะว่า ปตฺโต ดังนี้ก็มี.
บทว่า นครํ ได้แก่ นครคือพระนิพพาน.
บทว่า สทฺธมฺมปุรวรุตฺตมํ ได้แก่ สูงสุด ประเสริฐสุด เป็นประธาน
บรรดานครอันประเสริฐทั้งหลาย กล่าวคือสัทธรรมนคร.
อีกนัยหนึ่ง
บรรดานครอันประเสริฐที่สำเร็จด้วยสัทธรรม
นิพพานนครสูงสุด จึงชื่อว่า สัทธัมมปุรวรุตตมะนคร
สูงสุดในบรรดาสัทธรรมนครอันประเสริฐ
ในอรรถวิกัปต้น พึงเห็นคำว่า นคร ว่าเป็นไวพจน์ของพระนิพพานนั้นเท่านั้น.
พระนิพพานเป็นที่ตั้งแห่งพระอริยบุคคลทั้งหลายที่เป็นพระเสกขะและอเสกขะ
ผู้แทงตลอดสภาวธรรมแล้ว
ท่านเรียกว่า นคร เพราะอรรถว่าเป็นโคจรและเป็นที่อยู่
ก็ในสัทธรรมนครอันประเสริฐนั้น
พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงสร้างถนนใหญ่ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐาน อันไม่ขาด ไม่คด แต่ตรง ทั้งหนาทั้งกว้างไว้
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ ทรงสร้างถนนใหญ่ อันไม่ขาดไม่คดแต่ตรง
ที่หนาและกว้าง คือสติปัฏฐานอันประเสริฐสูงสุด.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่ขาดเพราะกุศลชวนจิตสัญจรไปไม่ว่างเว้น.
บทว่า อกุฏิลํ ได้แก่ ชื่อว่าไม่คด เพราะเว้นจากโทษที่ทำให้คด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 368
บทว่า อุชุํ ได้แก่ ชื่อว่าตรง เพราะไม่คด คำนี้เป็นคำแสดงความของบทต้น .
บทว่า วิปุลวิตฺถตํ ได้แก่ ชื่อว่าหนาและกว้าง เพราะยาวและกว้าง
ความที่สติปัฏฐานหนาและกว้าง พึงเห็นได้โดยสติปัฏฐานที่เป็นโลกิยและโลกุตระ.
บทว่า มหาวีถึ ได้แก่ หนทางใหญ่.
บทว่า สติปฏฺฐานวรุตฺตมํ ความว่า สติปัฏฐานนั้นด้วย สูงสุดในธรรมอันประเสริฐด้วย
เหตุนั้น จึงชื่อว่า สติปัฏฐานสูงสุดในธรรมอันประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ถนนสูงสุด ที่สำเร็จด้วยสติปัฏฐานอันประเสริฐ.
บัดนี้ ทรงปูแผ่รัตนะมีค่ามากเหล่านั้น คือ สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘
ลงบนตลาดธรรมทั้งสองข้าง ณ ถนนสติปัฏฐานนั้นแห่งนิพพานมหานครนั้น
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระองค์ทรงปูแผ่สามัญผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ณ ถนนนั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอุบายเครื่องยึดถือเอาซึ่งรัตนะเหล่านั้นว่า
ก็กุลบุตรเหล่าใด ไม่ประมาท มีสติ เป็นบัณฑิต ประกอบพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะและวิริยะเป็นต้น
กุลบุตรเหล่านั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งสินค้า คือ รัตนะเหล่านี้ ดังนี้
จึงตรัสว่า
กุลบุตรเหล่าใดไม่ประมาท ไม่มีตะปูเครื่องตรึงใจไว้ ประกอบด้วยหิริและวิริยะ
กุลบุตรเหล่านั้น ๆ ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งคุณธรรมอันประเสริฐเหล่านี้ตามสบาย.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น ศัพท์ว่า เย เป็นอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน.
บทว่า อปฺปมตฺตา ได้แก่ ประกอบพร้อมแล้วด้วยความไม่ประมาท ซึ่งเป็นปฏิปักษ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 369
ต่อความประมาท อันมีลักษณะคือความไม่ปราศจากสติ.
บทว่า อขิลา ได้แก่ ปราศจากตะปูตรึงใจ ๕ ประการ.
บทว่า หิริวีริเยหุปาคตา ความว่า ชื่อว่า หิริ เพราะละอายแต่ทุจริตมีกายทุจริตเป็นต้น
คำนี้เป็นชื่อของความละอาย. ความเป็นแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริยะ.
วีริยะนั้น มีลักษณะเป็นความขมักเขม้น ภัพพบุคคลทั้งหลายเข้าถึงแล้ว
ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและวีริยะเหล่านั้น.
บทว่า เต นี้ เป็นอุเทศที่แสดงความแน่นอน
แห่งอุเทศที่แสดงความไม่แน่นอน ในบทก่อน.
อีกอย่างหนึ่ง.
บทว่า เต ความว่า กุลบุตรเหล่านั้นย่อมยึดไว้ได้
ย่อมได้ ย่อมประสบรัตนะวิเศษคือคุณดังกล่าวแล้ว
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ
ทรงทำความรู้แจ้งทางใจแล้ว ทรงลั่นธรรมเภรีทรงสร้างธรรมนครไว้หมด
จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิให้ตรัสรู้ก่อน
โดยนัยว่า ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระศาสดาทรงยกมหาชนขึ้น
ด้วยการประกอบนั้นอย่างนี้ จึงทรงยังสัตว์แสนโกฏิ ให้ตรัสรู้ก่อน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุทฺธรนฺโต ได้แก่ ทรงยกขึ้นจากสาคร คือ สังสารวัฏ ด้วยนาวาคืออริยมรรค.
บทว่า โกฏิสตสหสฺสิโย แปลว่า แสนโกฏิ.
ทรงแสดงถ้อยคำ โดยปริยายที่แปลกออกไป.
ก็สมัยใด พระสุมนพุทธเจ้าผู้นำโลก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ข่มความมัวเมาและมานะของเดียรถีย์
ณ โคนต้นมะม่วง กรุง สุนันทวดี ทรงยังสัตว์พันโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.
สมัยนี้ เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 370
สมัยใด พระมหาวีระ ทรงโอวาทหมู่เดียรถีย์
สมัยนั้น การตรัสรู้ธรรม ได้แก่ สัตว์พันโกฏิ ในการแสดงธรรมครั้งที่ ๒.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ติตฺถิเย คเณ ได้แก่ คณะที่เป็นเดียรถีย์ หรือคณะของเดียรถีย์ทั้งหลาย.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
ติตฺถิเยอภิมทฺทนฺโต พุทฺโธ ธมฺมมเทสยิ
พระพุทธเจ้าเมื่อทรงข่มพวกเดียรถีย์ก็ได้ทรงแสดงธรรม.
ก็สมัยใด เทวดาและมนุษย์ในหมื่นจักรวาลประชุมกันในจักรวาลนี้
ตั้งเรื่องนิโรธขึ้นว่า
ท่านเข้านิโรธกันอย่างไร
ถึงพร้อมด้วยนิโรธอย่างไร
ออกจากนิโรธอย่างไร
เทวดาในเทวโลกฝ่ายกามาวจร ๖ ชั้น
พรหมในพรหมโลก พร้อมด้วยมนุษย์ทั้งหลาย ไม่อาจวินิจฉัย
ในการเข้า การอยู่และการออกจากสมาบัติ เป็นต้นอย่างนี้ได้
จึงได้แบ่งกันเป็นสองพวกสองฝ่าย.
ต่อนั้น จึงพร้อมด้วยพระเจ้าอรินทมะ ผู้เป็นนรบดี
พากันเข้าไปเฝ้าพระสุมนทศพล
ผู้เป็นนาถะของโลกทั้งปวง ในเวลาเย็น.
พระเจ้าอรินทมะ
ครั้นเข้าเฝ้าแล้ว จึงทูลถามนิโรธปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า
แต่นั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบนิโรธปัญหาแล้ว
ธรรมาภิสมัยก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
สมัยนี้เป็นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยใด เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พร้อมเพรียงกันมีใจอันเดียวกัน
ก็ทูลถามนิโรธปัญหา และข้อสงสัยทางใจ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 371
แม้สมัยนั้น ในการแสดงธรรม
ในการแสดงนิโรธปัญหา ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ทรงมีสาวกสันนิบาต ๓ ครั้ง
ใน ๓ ครั้งนั้น สาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑
พระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอรหันต์พันโกฏิ ผู้บวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชา ทรงอาศัยนครเมขละ
จำพรรษาแล้วก็ทรงปวารณาด้วยปวารณาครั้งแรก นี้เป็นสาวกสันนิบาตครั้งที่ ๑.
สมัยต่อมา พระมุนีผู้ประเสริฐดังดวงอาทิตย์
ประทับนั่งเหนือภูเขาทอง ประมาณโยชน์หนึ่ง
ซึ่งบังเกิดด้วยกำลังกุศลของ พระเจ้าอรินทมะ ไม่ไกล สังกัสสนคร
เหมือน ดวงทินกรส่องรัศมีอันงามในยามฤดูสารทเหนือขุนเขายุคนธร
ทรงฝึกบุรุษเก้าหมื่นโกฏิ ซึ่งห้อมล้อมพระเจ้าอรินทมะ ตามเสด็จมา
ทรงให้เขาบวชด้วยเอหิภิกขุบรรพชาหมดทุกคน เหล่าภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตในวันนั้นนั่นแลแวดล้อมแล้ว
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
ในสันนิบาตอันประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
สมัยใด ท้าวสักกเทวราช เสด็จเข้าไปเพื่อเฝ้าพระสุคต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ อันพระอรหันต์แปดหมื่นโกฏิแวดล้อมแล้ว
ก็ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ ผู้ไร้มลทินมีจิตสงบตั้งมั่น ๓ ครั้ง.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจำพรรษาแล้ว
เมื่อท่านประกาศวันปวารณาแล้ว พระตถาคต ก็ทรงปวารณาพรรษาพร้อมกับภิกษุแสนโกฏิ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 372
ในสันนิบาตต่อจาก สันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น
ณ ภูเขาทองไร้มลทิน ภิกษุเก้าหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ครั้งท้าวสักกเทวราช เข้าเฝ้าเยี่ยมพระพุทธเจ้า
เทวดาและมนุษย์แปดหมื่นโกฏิประชุมกัน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.
แก้อรรถ
พึงเห็นลิงควิปลาสในคำว่า อภิฆุฏฺเฐ ปวารเณ
ในคาถานั้น ความว่า อภิฆุฏฺฐาย ปวารณาย เมื่อท่านประกาศปวารณาแล้ว.
บทว่า ตโตปรํ ได้แก่ ในสมัยต่อจากสันนิบาตครั้งที่ ๑ นั้น.
บทว่า กญฺจนปพฺพเต ได้แก่ ณ ภูเขาที่สำเร็จด้วยทอง.
บทว่า พุทฺธทสฺสนุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า.
เล่ากันว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพญานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธานุภาพมาก.
ท่านได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก อันหมู่ญาติห้อมล้อมแล้วออกจากภพของตน
บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะ ซึ่งมีภิกษุแสนโกฏิเป็นบริวาร ด้วยดนตรีทิพย์
ถวายมหาทาน ถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วตั้งอยู่ในสรณะ
พระศาสดาพระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์พญานาคนั้นว่าจักเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นพระยานาค ชื่อว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก สั่งสมกุศลไว้มาก.
ครั้งนั้น เราพร้อมด้วยเหล่าญาตินาค ก็ออกจากพิภพนาค
บำเรอพระชินพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระสงฆ์ด้วยดนตรีทิพย์.
เลี้ยงดูภิกษุแสนโกฏิ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำถวายคู่ผ้ารูปละคู่ แล้วถึงพระองค์เป็นสรณะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 373
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้นำโลกพระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้าในกัปที่ประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคต จักเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์จักตั้งความเพียร ฯ ล ฯ
พวกเราจักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พึงกล่าว ๑๘ คาถา ให้พิศดารเหมือนในวงศ์ของพระโกณฑัญญพุทธเจ้า.
เราฟังพระดำรัสของพระสุมนพุทธเจ้า
พระองค์นั้นแล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าสุมนะพระองค์นั้น
ทรงมีพระนคร ชื่อว่า เมขละ
มีพระชนก พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนี พระนามว่า พระนางสิริมาเทวี
มีคู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสรณะ พระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ
มีคู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณา พระอุปโสณา
มีโพธิพฤกษ์ชื่อว่าต้นนาคะ (กากะทิง)
มีพระสรีระสูงเก้าสิบศอก
มีพระชนมายุเก้าหมื่นปี
มีพระมเหสี พระนามว่า พระนาง วฏังสิกาเทวี
มีพระโอรสพระนามว่า อนูปมะ
ทรงออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ พระยาช้าง.
มีอุปัฏฐาก ชื่อ อังคราชา ประทับ ณ พระวิหารชื่อ อังคาราม
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เมขละ
มีพระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทัตตะ
มีพระชนนีพระนามว่า พระนางสิริมา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เก้าพันปี
ทรงมีปราสาทงามสุด ๓ หลัง ชื่อ จันทะ สุจันทะ และวฏังสะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 374
ทรงมีพระสนมนารีแต่งกายงาม สามล้านหกแสนนาง
มีพระมเหสีพระนามว่า พระนางวฏังสิกา
มีพระโอรส พระนามว่า อนูปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ พระยาช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๑๐ เดือน.
พระมหาวีระสุมนะ
ผู้นำโลก ผู้สงบ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุงเมขละราชธานี.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีอัครสาวก ชื่อพระสรณะและพระภาวิตัตตะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนะ.
ทรงมีอัครสาวิกา ชื่อว่าพระโสณา พระอุปโสณา
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระยศหาประมาณมิได้ พระองค์นั้น
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นนาคะ (กากะทิง).
ทรงมีอัครอุปฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ จาลา และ อุปจาลา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูงเก้าสิบศอ
งามเหมือนรูปบูชาที่ทำด้วยทอง หมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้า.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุเก้าหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนอย่างนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 375
พระสัมพุทธเจ้า ทรงยังหมู่ชนที่ควรข้ามให้ข้ามโอฆสงสาร
ยังหมู่ชนที่ควรตรัสรู้ให้ตรัสรู้ เสด็จดับขันธปรินิพพาน เหมือนเดือนดับ.
พระภิกษุขีณาสพเหล่านั้น และพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอเหมือนพระองค์นั้น
ท่านเหล่านั้นมียศยิ่งใหญ่ สำแดงรัศมีที่ไม่มีอะไรเปรียบแล้วก็ปรินิพพาน.
พระญาณที่ไม่มีอะไรวัดได้นั้น และรัตนะที่ไม่มีอะไรชั่งได้นั้น ทั้งนั้นก็อันตรธานไปหมดสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุมนพุทธเจ้า ผู้ทรงพระยศ ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอังคาราม
พระชินสถูปของพระองค์ ณ อังคารามนั้น สูงถึงสี่โยชน์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า กญฺจนคฺฆยสงฺกาโส ได้แก่
มีพระรูปพระโฉมงามเหมือนรูปบูชาทำด้วยทองอันวิจิตรด้วยรัตนะหลากชนิด.
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ ความว่า ทั้งหมื่นโลกธาตุก็เจิดจ้าด้วยรัศมีของพระองค์.
บทว่า ตารณีเย แปลว่า ยังหมู่ชนผู้ที่ควรให้ข้ามคือผู้ควรข้าม อธิบายว่า พุทธเวไนยทั้งปวง.
บทว่า อุฬุราชาว แปลว่า เหมือนดวงจันทร์.
บทว่า อตฺถมิ แปลว่า ดับ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อตฺถํ คโต ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.
บทว่า อสาทิโส ก็คือ อสทิโส ผู้ไม่มีผู้เสมือน.
บทว่า มหายสา ได้แก่ ผู้มีเกียรติมาก และมีบริวารมาก.
บทว่า ตญฺจ ญาณํ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณนั้น.
บทว่า อตุลิยํ ได้แก่ วัดไม่ได้ ไม่มีอะไรเสมือน.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสุมนพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376