วงศ์ พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕ - คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด - กระดานสนทนาธรรม
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


วงศ์ พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

วงศ์ พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2024, 08:25:21 PM »

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 376


๕. วงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

ว่าด้วยพระประวัติของพระเรวตพุทธเจ้า
[๖] ต่อจากสมัยของพระสุมนพุทธเจ้า

พระเรวตชินพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ผู้ไม่มีผู้เปรียบ ไม่มีผู้เสมือน ไม่มีผู้วัด สูงสุด.
แม้พระองค์ อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศธรรม เป็นเครื่องกำหนดขันธ์และธาตุ
อันเป็นเหตุไม่เป็นไปในภพน้อยภพใหญ่.

ในการทรงแสดงธรรม พระองค์มีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ กล่าวไม่ได้ด้วยจำนวนผู้ตรัสรู้.
ครั้งพระเรวตมุนี ทรงแนะนำพระเจ้าอรินทมะ
อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแต่สัตว์แสนโกฏิ.
พระนราสภเสด็จออกจากที่เร้นในวันที่ ๗ 
ทรงแนะนำมนุษย์และเทวดาร้อยโกฏิให้บรรลุผลสูงสุด.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน หลุดพ้นดีแล้วผู้คงที่ ๓ ครั้ง.
ผู้ที่ประชุมกันครั้งที่ ๑ เกินที่จะนับจำนวนได้
การประชุมครั้งที่ ๒ นับจำนวนผู้ประชุมได้แสนโกฏิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

ครั้งที่ พระวรุณะอัครสาวก ผู้ไม่มีผู้เสมอด้วยปัญญา
ผู้อนุวัตรพระธรรมจักรตามพระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น เกิดอาพาธหนัก.

ครั้งนั้น เหล่าภิกษุเข้าไปหาพระมุนี [วรุณะ]
เพื่อถามถึงอาพาธของท่าน จำนวนแสนโกฏิ เป็นการประชุมครั้งที่ ๓.

สมัยนั้น เราเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อติเทวะ
เข้าเฝ้าพระเรวตพุทธเจ้า ถึงพระองค์เป็นสรณะ
เราสรรเสริญศีล สมาธิ และพระปัญญาคุณอันยอดเยี่ยมของพระองค์ ตามกำลัง
ได้ถวายผ้าอุตตราสงค์.

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก พระองค์นั้น
ทรงพยากรณ์เราว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
ในกัปที่หาประมาณมิได้ นับแต่กัปนี้ไป.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์ที่น่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
รับข้าวมธุปายาส ณ นั้นแล้วเข้าไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จตามมรรคอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม

ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ ต้นโพธิ์ใบ.

ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่าพระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้ จักมีพระนามว่าโคตมะ.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระโกลิตะและพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะมีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีอัครสาวก ชื่อว่า พระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น

โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตาและอุตตรา.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
พระโคดมพุทธเจ้า ผู้มีพระยศพระองค์นั้นมีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนี้ของ

พระเรวตพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่าท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก ก็ส่งเสียงโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง

ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่าผิว่า
พวกเราพลาดศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.

มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลังข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พวกเราทั้งหมด ผิว่า ผ่านพ้น พระชินเจ้าพระองค์นี้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

เราฟังพระดำรัส แม้ของพระองค์แล้วก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์.
แม้ครั้งนั้น เราระลึกถึงพุทธธรรมนั้นแล้วก็เพิ่มพูนมากขึ้น
จักนำพุทธธรรมที่เราปรารถนานักหนามาให้ได้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

พระเรวตพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่

ทรงมีพระนครชื่อว่า สุธัญญวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าวิปุลราช
พระชนนีพระนามว่า พระนางวิปุลา.

พระองค์ครองฆราวาสวิสัย อยู่หกพันปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง
ซึ่งเกิดเพราะบุญกรรม ชื่อ สุทัสสนะ รตนัคฆิ และ อาเวฬะ อันตกแต่งแล้ว.
มีพระสนมนารี ที่แต่งกายงาม สามล้านสามแสนนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า สุทัสสนา
พระโอรสพระนามว่า วรุณะ.

พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔ เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยยานคือ รถทรง
ตั้งความเพียร ๗ เดือนเต็ม.

พระมหาวีระชินเรวตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ผู้สงบ
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ประทับอยู่ ณ พระวิหารวรุณาราม.
มีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระวรุณะและพระพรหมเทวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททาและพระสุภัททา

พระพุทธเจ้าผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอพระองค์นั้น ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น นาคะ ( กากะทิง.)
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 381
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อวรุณะ และ สรภะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อ ปาลา และอุปปาลา.

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยส่วนสูง ทรงสูง ๘๐ ศอก
ส่งรัศมีสว่างไปทุกทิศเหมือนดวงอาทิตย์,
เปลวรัศมี ที่เกิดในสรีระของพระองค์ก็ยอดเยี่ยม
แผ่ไปโดยรอบโยชน์หนึ่ง ทั้งกลางวันกลางคืน.
ในยุคนั้น มนุษย์มีอายุหกหมื่นปี

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระชนม์ยืนเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆสงสาร.
พระองค์ทรงแสดงกำลังของพระพุทธเจ้า
ทรงประกาศอมตธรรมในโลก หมดเชื้อก็ดับขันธปรินิพพาน
เหมือนไฟหมดเชื้อก็ดับไปฉะนั้น.

พระวรกายดังรัตนะนั้นด้วย
พระธรรมที่ไม่มีอะไรเสมือนนั้นด้วย ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.

พระเรวตพุทธเจ้า พระองค์นั้น
ทรงมีพระยศทรงมีบุญมาก ก็ดับขันธปรินิพพานไปแล้ว
พระบรมธาตุก็แผ่กระจายไปเป็นส่วนๆ ในประเทศนั้น ๆ.
จบวงศ์พระเรวตพุทธเจ้าที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 382




 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9