วงศ์ พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖ - คุยได้ฟังดีกับบรรดาสมาชิกวัด - กระดานสนทนาธรรม
กระดานสนทนาธรรม

ที่พักสงฆ์ป่าสามแยก บ้านห้วยยางทอง ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 67260


วงศ์ พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖

วงศ์ พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
« เมื่อ: กันยายน 02, 2024, 10:26:34 PM »

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 552
๑๖. วงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิทธัตถพุทธเจ้า

[๑๗] ต่อจาก สมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งปวง ก็เจิดจ้าเหมือนดวงอาทิตย์อุทัย.
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ข้ามโอฆะ
เมื่อยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน ก็ทรงหลั่งเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชหาผู้เทียบไม่ได้พระองค์นั้น ก็ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก
ครั้งทรงลั่นธรรมเภรี ณ นครภีมรถะ อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรมโปรด ณ กรุงเวภาระ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้คือ สันนิบาตประชุมพระสาวก
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 553
ร้อยโกฏิ เก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิเป็นสันนิบาตประชุมพระสาวก ผู้ไร้มลทิน.

สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อ มังคละ
มีเดชสูง อันใคร ๆ พบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ถวายแด่พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลาย จงดูชฏิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้าสิบสี่กัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียรทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินไปตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.

แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่ ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถาน
จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมีพระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักมีพระนามว่า โคตมะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 554
พระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบ ตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุง พระชินเจ้าพระองค์นี้.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระเขมา และ พระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียก ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศพระองค์นั้น พระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์ และ เทวดาทั้งหลายพึงพระดำรัสนี้
ของพระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้อง ปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถ พระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 555
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นิไซร้
ในอนาคตกาลพวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ฉันนั้นเหมือนกัน .
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระนครชื่อว่า เวภาระ
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
มีปราสาทอย่างเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ อุปปละและ โกกนุทะ
มีพระสนมนารีสี่หมื่นแปดพันนาง
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนา
พระโอรสพระนามว่า อนุปมะ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือนเต็ม.

พระมหาวีรสิทธัตถะ ผู้นำโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.

พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และ พระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเรวตะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 556
ทรงมีพระอัครสาวิกาชื่อว่าพระสีวลา และพระสุรัมมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น เรียกต้นกณิการ์.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปปิยะและสัมพุทธะ
อัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า ธัมมา และสุธัมมา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นเบื้องบน ๖๐ ศอก เสมือนรูปปฏิมาทอง รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้ชั่ง ไม่มีผู้เทียบ ผู้มีพระจักษุ พระองค์นั้น
ทรงดำรงพระชนม์อยู่ในโลก แสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันไพบูลย์
ทรงยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ทรงพิลาสด้วยสมบัติอันประเสริฐ ปรินิพพาน.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า วรมุนี ปรินิพพาน ณ พระวิหารอโนมาราม
พระวรสถูปของพระองค์ในพระวิหารนั้น สูง ๔ โยชน์.
จบวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๖
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 557
พรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้าที่ ๑๖
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าธัมมทัสสีปรินิพพานแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็อันตรธานไปแล้ว
เมื่อกัปนั้นล่วงไปและล่วงไปหนึ่งพันเจ็ดร้อยหกกัป
ในกัปหนึ่ง สุดท้ายเก้าสิบสี่กัปนับแต่กัปนี้
ก็ปรากฏมีพระศาสดาพระองค์หนึ่งพระนามว่า สิทธัตถะ
ผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่โลก.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ต่อจากสมัยของพระธัมมทัสสีพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้นำโลก
ทรงกำจัดความมืดทั้งหมด เจิดจ้า เหมือนดวงอาทิตย์อุทัย
แม้พระสิทธัตถโพธิสัตว์ ก็ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย.
บังเกิดในภพดุสิต จุติจากนั้นแล้ว
ก็ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระนางสุผัสสาเทวี อัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน กรุงเวภาระ
ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากพระครรภ์ของพระชนนี ณ วีริยราชอุทยาน
เมื่อพระมหาบุรุษสมภพแล้ว การงานที่คนทั้งปวงเริ่มไว้ และประโยชน์ที่ปรารถนา ก็สำเร็จ
เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติทั้งหลายของพระองค์จึงเฉลิมพระนามว่า สิทธัตถะ
พระองค์ครองฆราวาสวิสัยอยู่หมื่นปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่า โกกาสะ อุปปละและปทุมะ๑ ปรากฏมีสนมนารีแปดหมื่นสี่พันนาง
มีพระนางโสมนัสสาเทวี เป็นประมุข.

เมื่อ พระอนุปมกุมาร โอรสของพระนางโสมนัสสาเทวีสมภพแล้ว
พระองค์ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ในวันอาสาหฬบูรณมี ก็ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระวอทอง
เสด็จไปยังวีริยราชอุทยาน ทรงผนวช มนุษย์แสนโกฏิก็บวชตามเสด็จ
๑. บาลีว่า โกกนุทะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 558

เล่ากันว่า พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน กับบรรพชิตเหล่านั้น
ในวันวิสาขบูรณมี เสวยข้าวมธุปายาส ที่ธิดาพราหมณ์ชื่อ สุเนตตา
ตำบลบ้านอสทิสพราหมณ์ถวาย ทรงยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าพุทรา เวลาเย็น
ทรงรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียว ชื่อวรุณะถวาย
ทรงลาดสันถัตหญ้า ๔๐ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ทรงยับยั้ง
อยู่ ๗ วัน ทรงเห็นภิกษุแสนโกฏิที่บวชกับพระองค์ เป็นผู้สามารถแทงตลอด
สัจจะ ๔ จึงเสด็จโดยทางอากาศ ลงที่คยามิคทายวัน
ทรงประกาศพระธรรมจักรแก่ภิกษุเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ ภิกษุแสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าแม้พระองค์นั้น บรรลุพระสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลก ให้ข้ามโอฆะ
เมื่อทรงยังโลกทั้งเทวโลกให้ดับร้อน จึงทรงหลั่งฝนคือธรรมให้ตกลง.
พระพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชที่ไม่มีผู้เทียบได้ พระองค์นั้น
ทรงมีอภิสมัย ๓ ครั้ง
อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สเทวกํ ได้แก่ โลกทั้งเทวโลก.
บทว่า ธมฺมเมเฆน ได้แก่ เมฆฝน คือธรรมกถา
ต่อมาอีก
ทรงทำทิศทั้งสิบให้เต็มด้วยพระสุรเสียงดังพรหม เสนาะดังเสียงนกการเวกร้อง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 559
สบายโสตไพเราะอย่างยิ่ง จับใจบัณฑิตชน เฉกเช่นอภิเษกด้วยน้ำอมฤต
ทรงลั่นอมตธรรมเภรี ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า
ต่อมาอีก
พระสิทธัตถพุทธเจ้า
ทรงลั่นกลองธรรม ในภีมรถนคร อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
ครั้งพระสิทธัตถพุทธเจ้า ทรงแสดงพุทธวงศ์ในสมาคมพระญาติ
กรุงเวภาระ ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่สัตว์เก้าสิบโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดในนรชนพระองค์นั้น
ทรงแสดงธรรม อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์เก้าสิบโกฏิ.
พระราชาสองพี่น้องพระนาม สัมพละ และ สุมิตตะ
ทรงครองราชย์ ณ อมรนคร ซึ่งงามน่าดูดั่งนครแห่งเทพ

ลำดับนั้น
พระสิทธัตถศาสดา
ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของพระราชาสองพระองค์นั้น
จึงเสด็จไปทางนภากาศลงท่านกลางอมรนคร
ทรงแสดงเจดีย์คือรอยพระบาทเหมือนเหยียบพื้นแผ่นดิน ด้วยพระยุคลบาท
ซึ่งมีฝ่าพระบาทประดับด้วยจักร แล้วเสด็จไปยังอมรราชอุทยาน
ประทับนั่งเหนือพื้นศิลา ที่เย็นด้วยพระกรุณาของพระองค์ อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง
แต่นั้น พี่น้องสองพระราชา เห็นพระเจดีย์คือรอยพระบาท
ก็เสด็จไปตามรอยพระบาท เข้าเฝ้าพระสิทธัตถศาสดาผู้บรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
ถวายบังคมแล้วประทับนั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันเหมาะแก่พระอัธยาศัยโปรดพระราชาสองพี่น้องนั้น
สองพระองค์ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดาพระองค์นั้นแล้ว เกิด
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 560
พระศรัทธา ทรงผนวชแล้วบรรลุพระอรหัตทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางพระขีณาสพร้อยโกฏินั้น นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบรรพชิตเก้าสิบโกฏิ
ในสมาคมพระญาติ กรุงเวภาระ นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงท่ามกลางบรรพชิตแปดสิบโกฏิ
ที่ประชุมกัน ณ พระสุทัสสนวิหาร นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓.

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีสันนิบาต ประชุมสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
สถาน ๓ เหล่านี้ คือ
สันนิบาตพระสาวกร้อยโกฏิ เก้าสิบโกฏิ แปดสิบโกฏิ
เป็นสันนิบาตของพระสาวกขีณาสพผู้ไร้มลทิน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นวุตีนํ อสีติยาปิ จ โกฏินํ ความว่า มีสันนิบาตแห่งพระสาวกเก้าสิบโกฏิ และแปดสิบโกฏิ.
บทว่า เอเต อาสุํตโย ฐานา ความว่า มีสถานที่สันนิบาต ๓ เหล่านั้น.
ปาฐะว่า ฐานาเนตานิ ตีณิ อเหสุํ ดังนี้ก็มี.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพราหมณ์ชื่อว่า มังคละ กรุงสุรเสน
จบไตรเพทและเวทางคศาสตร์ บริจาคกองทรัพย์นับได้หลายโกฏิ
เป็นผู้ยินดีในวิเวก บวชเป็นดาบส ยังฌานและอภิญญาให้เกิดอยู่

ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
อุบัติขึ้นแล้วในโลกจึงเข้าไปเฝ้า ถวายบังคมแล้วฟังธรรมกถาของพระองค์
แล้วเข้าไปยังต้นชมพู อันเป็นเครื่องหมายของชมพูทวีปนี้ด้วยฤทธิ์
นำผลชมพูมาแล้วอาราธนาพระสิทธัตถศาสดาผู้มีภิกษุบริวารเก้าสิบ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 561
โกฏิ ให้ประทับในสุรเสนวิหาร เลี้ยงดูด้วยผลชมพู ให้ทรงอิ่มหนำสำราญ
ลำดับนั้น
พระศาสดาเสวยผลชมพูนั้นแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดเก้าสิบสี่กัป
นับแต่กัปนี้ จักเป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่าโคตมะ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นดาบสชื่อมังคละ มีเดชสูง อัน
ใครๆ เข้าพบได้ยาก ตั้งมั่นด้วยกำลังแห่งอภิญญา.
เรานำผลชมพูมาจากต้นชมพู ได้ถวายแด่พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสัมพุทธเจ้าทรงรับแล้ว ตรัสพระดำรัสดังนี้ว่า
ท่านทั้งหลายจงดูชฎิลดาบสผู้มีตบะสูงผู้นี้ เก้าสิบสีกัปนับแต่กัปนี้ ดาบสผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า
พระตถาคตทรงตั้งความเพียร ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ทุปฺปสโห แปลว่า อันใครๆ เข้าหาได้ยาก หรือปาฐะก็อย่างนั้นเหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อ เวภาระ
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน บ้างก็มี
พระชนนีพระนามว่า สุผัสสา
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระเรวตะ
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวลา และพระสุรามา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 562
พระชนมายุแสนปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนาง โสมนัสสา
พระโอรสพระนาม อนุปมะ
ออกอภิเนษกรมณ์ ด้วยพระวอทอง

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อเวภาระ
พระชนก พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระชนนีพระนามว่า พระนางสุผัสสา.
พระสิทธัตถพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่

มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระสัมพละ และพระสุมิตตะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่าพระเรวตะ.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสีวลา และพระสุรามา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกณิการะ ต้นกรรณิการ์.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูงขึ้นสู่ฟ้า ๖๐ ศอก
เสมือนรูปปฏิมาทอง จึงรุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
พระพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ อันใครชั่งไม่ได้
เปรียบไม่ได้ ผู้มีจักษุพระองค์นั้น ทรงดำรงอยู่ในโลกแสนปี.
พระองค์ทั้งพระสาวก ทรงแสดงพระรัศมีอันไพบูลย์
ยังสาวกทั้งหลายให้บานแล้ว ให้งดงามแล้ว
ด้วยสมาบัติ อันประเสริฐแล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 563
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า สุฏฺฐิรตนํ ความว่า สูงจรดท้องฟ้าประมาณ ๖๐ ศอก.
บทว่า กญฺจนคฺฆิยสงฺกาโส ได้แก่ น่าดูเสมอรูปปฏิมาที่สำเร็จด้วยทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ.
บทว่า ทสสหสฺสี วิโรจติ แปลว่า รุ่งโรจน์ในหมื่นโลกธาตุ.
บทว่า วิปุลํ ได้แก่ พระรักมีอันโอฬาร.
บทว่า ปุปฺผาเปตฺวาน ความว่า ทำให้บานแล้วด้วยดอกไม้ คือฌานอภิญญา
มรรคผลและสมาบัติ ถึงความโสภาคย์อย่างยิ่ง.
บทว่า วิลาเสตฺวา ได้เยื้องกรายเล่นแล้ว.
บทว่า วรสมาปตฺติยา ได้แก่ ด้วยสมาบัติและอภิญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.
บทว่า นิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทาปรินิพพาน.
ได้ยินว่า
พระสิทธัตถศาสดา เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ณ อโนมราชอุทยาน กรุงกาญจนเวฬุ ณ พระราชอุทยานนั้นนั่นเอง
เขาช่วยกันสร้างพระเจดีย์สำเร็จด้วยรัตนะ สูง ๔ โยชน์ สำหรับพระองค์แล
ในคาถาทั้งหลายที่เหลือ ก็ชัดเจนแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิทธัตถพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 564



 

Sitemap 1 2 3 4 5 6 7 8 9