พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 608
๒๐. วงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ว่าด้วยพระประวัติของพระสิขีพุทธเจ้า
[๒๑] ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
พระชินสัมพุทธเจ้าพระนามว่า สิขี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้เทียบ.
ทรงย่ำยีกองทัพมาร
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรอันเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อ พระสิขีพุทธเจ้า จอมมุนี
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
เมื่อพระผู้ประเสริฐแห่งคณะ สูงสุดในนรชน
ทรงแสดงธรรมอื่นอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
เมื่อพระสุขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลกทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่๓ ครั้ง.
ประชุมพระสาวกหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๑
ประชุมพระภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒.
ประชุมพระภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 609
ภิกษุสันนิบาตอันโลกธรรมไม่ซึบซาบ
เหมือนปทุม เกิดเติบโตในน้ำ อันน้ำไม่ซึบซาบ ฉะนั้น.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ
เลี้ยงดูพระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวน้ำ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิผืน
ได้ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้วแด่พระสัมพุทธเจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์ ด้วยประมาณเท่ายานคือช้าง แล้วน้อมถวาย
เรายังจิตของเราที่ตั้งมั่นคง ให้เต็มด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ได้ทรงพยากรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัป นับแต่นี้ไป จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์ จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์
ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคต ประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาส ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 610
แต่นั้น พระผู้มีพระยศยิ่งใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
จักตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ ชื่อต้นอัสสัตถะ.
ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนี พระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ผู้นี้จักทรงพระนามว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระโกลิตะ และ พระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าผู้นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
จักมีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทมาตา และอุตตรา
พระโคดมผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ไม่มีผู้เสมอ
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุ ทั้งเทวโลก ก็พากันโห่ร้อง ปรบมือ หัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 611
ผิว่า พวกเราพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคต พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ได้ฉันใด.
พวกเราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี๑๐ ให้บริบูรณ์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่ออรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่เจ็ดพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริ และนารีวาหนะ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสีพันนาง
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ.
พระผู้เป็นบุรุษสูงสุด ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยาน คือช้าง
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 612
พระมหาวีระสุขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก
ผู้สงบ ผู้เป็นนระผู้สูงสุด อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระอภิภู และพระสัมภวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระมขิลา และ พระปทุมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นปุณฑรีกะ (มะม่วง).
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าสิริวัฑฒะ และนันทะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่าจิตตา และ สุจิตตา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น สูง ๗๐ ศอกเช่นเดียวกับรูปปฏิมาทอง
มีพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ไม่ว่างเว้น
พระรัศมีทั้งหลายแล่นออกไปทั้งทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.
พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่พระองค์นั้น เจ็ดหมื่นปี
พระองค์ทรงมีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก ยังเมฆฝนคือธรรมให้ตกลงมา
ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มแล้วให้ถึงความเกษมแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 613
พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ทั้งนั้น ก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุขีพุทธเจ้า มุนีผู้ประเสริฐ
ดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม พระสถูปอันประเสริฐ
ของพระองค์ ณ พระวิหารนั้น สูง ๓ โยชน์.
จบวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 614
พรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้าที่ ๒๐
ต่อมาภายหลังสมัยของ พระวิปัสสีพุทธเจ้า
เมื่อกัปนั้นอันตรธานไปแล้ว
ต่อจากนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่อุบัติขึ้นในโลก ๕๙ กัป
มีแต่แสงสว่างที่ปราศจากพระพุทธเจ้า
เอกราชของกิเลสมารและเทวปุตตมาร ก็ปราศจากเสี้ยนหนาม
ในสามสิบเอ็ดกัป นับแต่กัปนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกสองพระองค์ คือ พระสิขี
ผู้ดุจไฟอันสุมด้วยไม้แก่นแห้งสนิทราดด้วยเนยใสมากๆ ไม่มีควัน และ พระเวสสภู.
บรรดาพระพุทธเจ้าสองพระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า สิขี
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้น ก็ทรงถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของ พระนางปภาวดีเทวี
ผู้มีพระรัศมีงามดังรูปทองสีแดง อัครมเหสีของ พระเจ้าอรุณ
ผู้มีพระคุณอย่างยิ่ง กรุงอรุณวดี ซึ่งมีแต่ทำกุศล
ล่วง ๑๐ เดือน ก็ประสูติจากพระครรภ์พระชนนี ณ นิสภะราชอุทยาน
ส่วนโหรผู้ทำนายนิมิต เมื่อเฉลิมพระนามของพระองค์
ก็เฉลิมพระนามว่า สิขี เพราะพระยอดกรอบพระพักตร์ พุ่งสูงขึ้นดุจยอดพระอุณหิส
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ เจ็ดพันปี
ทรงมีปราสาท ๓ หลังชื่อว่า๑ สุจันทกสิริ คิริยสะ และ นาริวสภะ
ปรากฏมีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พัน มีพระนางสัพพกามาเทวี เป็นประมุข.
เมื่อพระโอรสพระนามว่า อตุละ ผู้ไม่มีผู้ชั่ง
ผู้เทียบได้ด้วยหมู่แห่งพระคุณของพระนางสัพพกามาเทวี
ทรงสมภพ พระมหาบุรุษนั้น ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ ขึ้นทรงช้างต้น
เสด็จออกมหาภิเนษกรณ์ด้วยยานคือ ช้าง
ทรงผนวช บุรุษหนึ่งแสนสามหมื่นเจ็ดพัน พากันบวชตามเสด็จ.
พระองค์อันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน ในวันวิสาขบูรณมี
ทรงละการคลุกคลีด้วยหมู่ เสวยข้าวมธุปายาส
ที่ ธิดาปิยเศรษฐี สุทัสสนนิคม ถวายแล้วยับยั้งพักกลางวัน ณ ป่าตะเคียนหนุ่ม
๑. บาลีว่า สุวัฑฒกะ, คิริ, นารีวาหนะ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 615
ทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่ดาบสชื่อ อโนมทัสสี ถวาย
เสด็จเข้าไปยังโพธิพฤกษ์ ชื่อต้น บุณฑรีกะ คือ มะม่วงป่า.
เขาว่า แม้บุณฑรีกโพธิพฤกษ์นั้น ก็มีขนาดเท่าต้นแคฝอย
วันนั้นนั่นเอง มะม่วงป่าต้นนั้น
สูงชะลูดลำต้นขนาด ๕๐ ศอก
แม้กิ่งก็ขนาด ๕๐ ศอก เหมือนกัน
ดารดาษด้วยดอกหอมเป็นทิพย์
มิใช่ดารดาษด้วยดอกอย่างเดียวเท่านั้น ยังดารดาษแม้ด้วยผลทั้งหลาย.
มะม่วงต้นนั้น แถบหนึ่งมีผลอ่อน
แถบหนึ่ง มีผลปานกลาง
แถบหนึ่ง มีผลห่าม
แถบหนึ่ง มีผลมีรสดี
พรั่งพร้อมด้วยสีกลิ่นและรส เหมือนทิพยโอชาที่เทวดาใส่ไว้
ห้อยย้อยแด่แถบนั้นๆ
ต้นไม้ดอกก็ประดับด้วยดอก
ต้นไม้ผล ก็ประดับด้วยผล
ในหมื่นจักรวาลเหมือนอย่างมะม่วงต้นนั้น.
พระองค์ทรงลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๒๔ ศอก
ประทับนั่งขัดสมาธิอธิษฐานความเพียรมีองค์ ๔
ครั้นประทับอย่างนั้นแล้ว
ก็ทรงกำจัดกองกำลังมารพร้อมทั้งตัวมารซึ่งกว้างถึง ๓๖ โยชน์
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้
ทรงยับยั้งใกล้ๆ โพธิพฤกษ์นั่นแล ๗ สัปดาห์
ทรงรับอาราธนาของท้าวมหาพรหม
ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของภิกษุแสนเจ็ดหมื่น ที่บวชกับพระองค์ จึงเสด็จไปทางอากาศ
ลงที่ มิคาจิระราชอุทยาน ใกล้ กรุงอรุณวดีราชธานี
ซึ่งมีรั้วกั้นชนิดต่างๆ อันหมู่มุนีเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักรท่ามกลางหมู่มุนีเหล่านั้น
ครั้งนั้น อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ ภิกษุแสนโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
ต่อจากสมัยของพระวิปัสสีพุทธเจ้า
ก็มีพระชินสัมพุทธเจ้า พระนามว่า สิขี
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้าไม่มีผู้เสมอ ไม่มีบุคคลเทียบ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 616
พระองค์ทรงย่ำยีกองทัพมาร
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณสุงสุด
ทรงประกาศพระธรรมจักรอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย.
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า จอมมุนี
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์แสนโกฏิ.
ต่อมาอีก พระสิขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงธรรมโปรดพระราชโอรสสองพระองค์ คือ
พระอภิภูราชโอรสและ พระสัมภวะราชโอรส พร้อมด้วยบริวาร ใกล้กรุงอรุณวดีราชธานี
ทรงยังสัตว์เก้าหมื่นโกฏิให้ดื่มอมฤตธรรม.นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุดแห่งคณะ ผู้สูงสุดในนรชน
ทรงแสดงธรรมอีก อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่ สัตว์เก้าหมื่นโกฏิ.
ส่วนครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์เพื่อหักรานความเมาและมานะของเดียรถีย์
และเพื่อเปลื้องเครื่องผูกของชนทั้งปวง ใกล้ประตูสุริยวดีนคร
ทรงแสดงธรรมโปรด อภิสมัยครั้งที่ ๓ ก็ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระสิขีพุทธเจ้า
ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ในโลก ทั้งเทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่ สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งท่ามกลางพระอรหันต์หนึ่งแสน ที่บวชพร้อมกับพระราชโอรส
คือ พระอภิภู และ พระสัมภวะ ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๑
ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุแปดหมื่น
ที่บวชในสมาคมพระญาติ กรุงอรุณวดีทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง. นั้นเป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 617
พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ท่ามกลางภิกษุเจ็ดหมื่น ที่บวชในสมัย
ทรงฝึกพระยาช้างชื่อ ธนบาลกะในธนัศชัยนคร.นั้นเป็น สันนิบาตครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
แม้พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ก็ทรงมีสันนิบาต ประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ ๓ ครั้ง.
ประชุมภิกษุหนึ่งแสน เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ประชุมภิกษุแปดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๒
ประชุมภิกษุเจ็ดหมื่น เป็นสันนิบาตครั้งที่ ๓
ภิกษุสันนิบาต อันโลกธรรมไม่กำซาบแล้ว เหมือนปทุมเกิดเติบโตในน้ำ น้ำก็ไม่กำขาบ ฉะนั้น.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อนุปลิตฺโต ปทุมํว ความว่า ภิกษุสันนิบาตแม้นั้น
แม้เกิดในโลก โลกธรรมก็ซึมกำซาบไม่ได้เหมือนปทุมเกิด
ในน้ำเติบโตในน้ำนั่นแล น้ำก็ซึมซาบไม่ได้ ฉะนั้น.
ได้ยินว่า
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา เป็นพระราชาพระนามว่า อรินทมะ
ใน ปริภุตตนคร ไม่ทรงขัดข้องในที่ไหนๆ
เมื่อพระสิขีศาสดา เสด็จถึงปริภุตตนคร
พระราชาพร้อมทั้งราชบริพาร เสด็จออกไปรับเสด็จ
มีพระหฤทัย พระเนตร และ พระโสตอันความเลื่อมใสให้เจริญแล้ว
พร้อมราชบริพาร ถวายบังคมด้วยพระเศียร ที่พระยุคลบงกชบาทไม่มีมลทิน
ของพระทศพล นิมนต์พระทศพล ถวายมหาทาน อันเหมาะสมแก่พระอิสริยะ
สกุลสมบัติและศรัทธา ๗ วัน โปรดให้เปิดประตูคลังผ้า
ถวายผ้ามีค่ามากแด่พระภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน
ถวายช้างต้นที่ป้องกันข้าศึกได้เหมือนช้างเอราวัณ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 618
ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังรูปลักษณะและฝีเท้า
ประดับด้วยข่ายทองและมาลัย งามระยับด้วยพัดจามรคู่งาสวมปลอกทองใหม่งาม
มีหูใหญ่และอ่อนหน้างามระยับด้วยรอยดวงจันทร์ และถวายกัปปิยะภัณฑ์
มีขนาดเท่าช้างนั่นแหละ
พระศาสดาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงพยากรณ์
พระโพธิสัตว์นั้นว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า อรินทมะ
เลี้ยงดูพระสงฆ์มีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้อิ่มหนำสำราญ.
เราถวายผ้าอย่างดีเป็นอันมาก ไม่น้อยนับโกฏิผืน
ถวายยานคือช้างที่ประดับแล้ว แด่พระสัมพุทธเจ้า.
เราชั่งกัปปิยภัณฑ์มีประมาณเท่ายานคือช้าง
ยังจิตของเราอันมั่นคง ให้เต็มด้วยปีติในทานเป็นนิตย์.
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้นำเลิศแห่งโลก แม้พระองค์นั้น
ก็ทรงพยากรณ์เราว่า สามสิบเอ็ดกัปนับแต่กัปนี้ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคตออกอภิเนษกรมณ์
จากกรุงกบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว ก็ยิ่งมีจิตเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไปเพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า นิมฺนินิตฺวา ได้แก่ ชั่งเท่าขนาดช้างเชือกนั้น.
บทว่า กปฺปิยํ ได้แก่ กัปปิยภัณฑ์
สิ่งที่ควรรับสำหรับภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่ากัปปิยภัณฑ์.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 619
บทว่า ปูรยึ มานสํ มยฺหํ ความว่า ยังจิตของเราให้เต็มด้วยปีติในทาน
ทำให้สามารถเกิดความร่าเริงแก่เรา.
บทว่า นิจฺจํ ทฬฺหมุปฏฺฐิตํ ความว่า จิตอันตั้งมั่นคงโดยทานเจตนาว่าจะให้ทานเป็นนิตย์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าองค์นั้น
ทรงมีพระนครชื่อว่า อรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณวา
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี
คู่พระอัครสาวก ชื่อว่า พระอภิภู และ พระสัมภวะ
พระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร
คู่พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสขิลา และ พระปทุมา
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นปุณฑรีกะ คือ มะม่วง
พระสรีระสูง ๗๐ ศอก
พระรัศมีแห่งสรีระแผ่ไป ๓ โยชน์เป็นนิตย์
พระชนมายุเจ็ดหมื่นปี
พระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ
ออกอภิเนษกรณ์ด้วยานคือช้าง.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระนครชื่อ อรุณวดี
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าอรุณ
พระชนนีพระนามว่า พระนางปภาวดี.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ เจ็ดพันปี
ทรงมีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่า สุวัฑฒกะ คิริและนารีวาหนะ
มีพระสนมกำนัลสองหมื่นสี่พันนาง ล้วนประดับประดางดงาม
มีพระอัครมเหสีพระนามว่า พระนางสัพพกามา
พระโอรสพระนามว่า อตุละ.
พระผู้สูงสุดในบุรุษ ทรงเห็นนิมิต ๔
เสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือ ช้าง.
๑. บาลีเป็นอรุณ ๒. บาลีเป็นมขิลา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 620
พระมหาวีระ สิขี ผู้นำเลิศแห่งโลก สูงสุดในนรชน
อันท้าวมหาพรหมอาราธนาแล้ว
ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน
พระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวกชื่อว่า พระอภิภูและพระสัมภวะ
มีพระพุทธอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระเขมังกร.
มีพระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสขิลา และพระปทุมา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียก ต้นปุณฑรีกะ.
มีอัครอุปัฏฐากชื่อว่า สิริวัฑฒะ และนันทะ
มีอัครอุปัฏฐายิกาชื่อว่า จิตตา และสุจิตตา.
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสูง ๗๐ ศอก เสมือนรูปปฏิมาทอง มีมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ.
พระรัศมีวาหนึ่ง แล่นออกจากพระวรกายของพระองค์ ทั้งกลางวันกลางคืนไม่ว่างเว้น
พระรัศมีทั้งหลาย แล่นไปทั้งทิศใหญ่ทิศน้อย ๓ โยชน์.
พระชนมายุของพระสิขีพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ เจ็ดหมื่นปี
พระองค์มีพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น
ทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงยังเมฆคือธรรมให้ตกลง ยังโลกทั้งเทวโลกให้ชุ่มชื่น
ให้ถึงถิ่นอันเกษมแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน.
พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ
ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น สังขารทั้งปวง ก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 621
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า ปุณฺฑรีโก ได้แก่ ต้นมะม่วง.
บทว่า ตีณิ โยชนโส ปภา ความว่า พระรัศมีทั้งหลายแล่นไป ๓ โยชน์.
บทว่า ธมฺมเมฆํ ได้แก่ ฝนคือธรรม. เมฆคือพระพุทธเจ้า ผู้ยังฝนคือธรรมให้ตกลงมา.
บทว่า เตมยิตฺวา ให้ชุ่ม อธิบายว่า รด ด้วยน้ำคือธรรมกถา.
บทว่า เทวเก ได้แก่ ยังสัตว์โลกทั้งเทวโลก.
บทว่า เขมนฺตํ ได้แก่ ถิ่นอันเกษม คือพระนิพพาน.
บทว่า อนุพฺยญฺชนสมฺปนฺนํ ความว่า
พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ
พรั่งพร้อมด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ มีพระนขาแดง
พระนาสิกโด่ง และพระอังคุลีกลมเป็นต้น.
ได้ยินว่า
พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารอัสสาราม สีลวตีนคร.
สิขีว โลเก ตปสา ชลิตฺวา
สิขีว เมฆาคมเน นทิตฺวา
สิขีว มเหสินฺธนวิปฺปหีโน
สิขีว สนฺตึ สุคโต คโต โส.
พระสิขีพุทธเจ้า ทรงรุ่งโรจน์ในโลกเหมือนดวงไฟ
ทรงบันลือในนภากาศเหมือนนกยูง.
พระสิขีพุทธเจ้า
ทรงละพระมเหสี และทรัพย์สมบัติ
พระองค์ถึงความสงบ เสด็จไปดีแล้วเหมือนไฟ.
ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี มีพระบรมสารีริกธาตุ เป็นแท่งเดียว จึงไม่กระจัดกระจายไป.
แต่มนุษย์ชาวชมพูทวีป ช่วยกันสร้างพระสถูปสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ งามเสมือนภูเขาหิมะ สูง ๓ โยชน์.
คำที่เหลือในคาถาทั้งหลายทุกแห่ง ชัดแล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาวงศ์พระสิขีพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 622