พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 637
วงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
ว่าด้วยพระประวัตของพระกกุสันธพุทธเจ้า
[๒๓] ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ผู้สูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆเข้าเฝ้าได้ยาก.
พระองค์ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง
ทรงถึงฝั่งบำเพ็ญบารมี
ทรงทำลายกรงคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรงฉะนั้น
ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร อภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระกกุสันธพุทธเจ้า
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ ภาคพื้นนภากาศ
ทรงยังเทวดาและมนุษย์ สามหมื่นโกฏิ ให้ตรัสรู้.
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทวยักษ์นั้น
ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตการประชุมพระสาวกขีณาสพ
ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบคงที่ ครั้งเดียวเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 638
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวก สี่หมื่น
ผู้บรรลุภูมิของพระผู้ฝึกแล้ว เพราะสิ้นหมู่กิเลสมีอาสวะเป็นต้น.
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์ชื่อ เขมะ
ถวายทานจำนวนไม่น้อยในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ แม้พระองค์นั้น
ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์
อันน่ารื่นรมย์ ทรงตั้งความเพียร ทำทุกกรกิริยา.
พระตถาคตประทับนั่ง ณ โคนต้นอชปาลนิโครธ
ทรงรับข้าวมธุปายาส ณ ที่นั้นแล้ว เสด็จไปยังแม่น้ำเนรัญชรา.
พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสวยข้าวมธุปายาสที่ริม
ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จดำเนินตามทางอันดีที่เขาจัดแต่งไว้ ไปที่โคนโพธิพฤกษ์.
แต่นั้น พระผู้มีพระยศใหญ่
ทรงทำประทักษิณโพธิมัณฑสถานอันยอดเยี่ยม
ตรัสรู้ ณ โคนโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 639
ท่านผู้นี้ จักมี
พระชนนีพระนามว่า พระนางมายา
พระชนกพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ
ท่านผู้นี้จักชื่อว่า โคตมะ.
จักมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระโกลิตะ และพระอุปติสสะ
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระอานันทะ จักบำรุงพระชินเจ้าพระองค์นี้.
จักมีพระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระเขมา และพระอุบลวรรณา
ผู้ไม่มีอาสวะ ปราศจากราคะ มีจิตสงบตั้งมั่น
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเรียกว่า ต้นอัสสัตถะ.
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่าจิตตะ และหัตถกะอาฬวกะ
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่านันทมาตา และอุตตรา
พระโคดม ผู้มีพระยศ มีพระชนมายุ ๑๐๐ ปี.
มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
ฟังพระดำรัสนี้ของพระกกุสันธะพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ ผู้คงที่ ก็ปลาบปลื้มใจว่า ท่านผู้นี้เป็นหน่อพุทธางกูร.
หมื่นโลกธาตุทั้งเทวโลก พากันโห่ร้องปรบมือหัวร่อร่าเริง
ประคองอัญชลีนมัสการกล่าวว่า
ผิว่า พวกเราจักพลาดพระศาสนาของพระโลกนาถพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 640
มนุษย์ทั้งหลาย เมื่อข้ามแม่น้ำ พลาดท่าน้ำข้างหน้า
ก็ถือเอาท่าน้ำข้างหลัง ข้ามแม่น้ำใหญ่ ฉันใด.
เราทุกคน ผิว่า ผ่านพ้นพระชินพุทธเจ้าพระองค์นี้ไซร้
ในอนาคตกาล พวกเราก็จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้ ฉันนั้นเหมือนกัน.
เราฟังพระดำรัสของพระองค์แล้ว จิตก็ยิ่งเลื่อมใส
จึงอธิษฐานข้อวัตรยิ่งยวดขึ้นไป เพื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้บริบูรณ์.
ครั้งนั้น เราชื่อว่า เขมะ
นครชื่อว่า เขมวดี
กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้แสวงคุณยิ่งให้มี
พระชนก ชื่อว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระชนนี ชื่อว่า วิสาขา.
พระสัมพุทธเจ้ามีพระตระกูลใหญ่ประเสริฐเลิศล้ำ
กว่ามนุษย์ทั้งหลาย มีชาติสูง มีบริวารมาก อยู่ในกรุงเขมะนั้น.
พระองค์ทรงครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาทชั้นเยี่ยม ๓ หลัง ชื่อว่ากามวัฑฒะ กามสุทธิและรติวัฑฒนะ.
มีนารีบำรุงบำเรอสามหมื่นนาง
มีเอกภริยาชื่อว่า โรจินี๑
มีโอรสชื่อว่า อุตตระ.
พระชินพุทธเจ้า ทรงเห็นนิมิต ๔
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือรถ
ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือนบริบูรณ์.
๑. บาลีว่า โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 641
พระมหาวีระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
สูงสุดในนรชนอันท้าวมหาพรหม ทูลอาราธนาแล้ว
ก็ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ มิคทายวัน.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
ทรงมีพระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
พระอัครสาวิกา ชื่อว่าพระสามาและพระจันปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก)
มีอัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคคตะและสุมนะ
มีอัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นันทา และ สุนันทา.
พระมหามุนี สูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
องค์พระผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่ มีพระชนมายุสี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังชนหมู่ใหญ่ให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงแผ่ขยายตลาดธรรมเท่าบุรุษสตรีในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจราชสีห์บันลือ แล้วก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 642
พระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยพระสุรเสียงมีองค์ ๘
มีศีลไม่ขาดชั่วนิรันดร ทั้งนั้นก็อันตรธานไปสิ้น
สังขารทั้งปวงก็ว่างเปล่า แน่แท้.
พระกกุสันธชินพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ
เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระวิหารเขมาราม
พระวรสถูปของพระองค์ ณ ที่นั้น สูงจดฟ้าคาวุตหนึ่ง
จบวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 643
พรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้าที่ ๒๒
เมื่อพระเวสสภู สยัมภูพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
เมื่อกัปนั้นล่วงไปดวงพระทินกร คือ พระชินพุทธเจ้า ก็ไม่อุบัติขึ้นถึง ๒๙ กัป
ส่วนในภัทรกัปนี้บังเกิดพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แล้วคือ
พระกกุสันธะ
พระโกนาคมนะ
พระกัสสปะ และ
พระพุทธเจ้าของเรา.
ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเมตไตรยจักอุบัติในอนาคตกาล
ด้วยประการดังกล่าวมานี้
กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญว่าเป็นภัทรกัป
เพราะประดับด้วยการเกิดพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์.
ใน ๕ พระองค์นั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กกุสันธะ
ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้ว บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
จุติจากนั้นแล้ว ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีชื่อว่า วิสาขา
เอกภริยาของปุโรหิตชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ผู้อนุศาสน์อรรถธรรมถวายพระเจ้า เขมังกร กรุงเขมวดี
ก็เมื่อใดกษัตริย์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือพราหมณ์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลพราหมณ์.
ก็เมื่อใดพราหมณ์ทั้งหลาย
สักการะเคารพนับถือบูชากษัตริย์ทั้งหลาย
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจึงบังเกิดในสกุลกษัตริย์.
ได้ยินว่า
ในครั้งนั้นพราหมณ์ทั้งหลายอันกษัตริย์ทั้งหลายสักการะเคารพ
เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์ชื่อว่า กกุสันธะ ผู้มั่นอยู่ในสัจจะ
เมื่อจะยังหมื่นโลกธาตุให้บันลือหวั่นไหว จึงอุบัติในสกุลพราหมณ์ที่ไม่อากูล
แต่อากูลด้วยเหตุเกิดสิริสมบัติ ก็บังเกิดปาฏิหาริย์ดังกล่าวมาแล้วในหนหลัง.
จากนั้น ถ้วนกำหนดทศมาส ก็ประสูติจากครรภ์มารดา ณ เขมวดีอุทยาน
เหมือนเปลวไฟแลบออกจากเถาวัลย์ทอง.
พระโพธิสัตว์นั้น ครองฆราวาสวิสัยอยู่ สี่พันปี
มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อว่ากามะ กามวัณณะ และกามสุทธิ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 644
ปรากฏมีสตรีบริจาริกา สามหมื่นนาง มีนางโรจินีพราหมณี๑ เป็นประมุข.
เมื่อกุมารชื่อว่า อุตตระ ผู้ยอดเยี่ยมของโรจินีพราหมณ์เกิดแล้ว
พระโพธิสัตว์นั้นก็เห็นนิมิต ๔
แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ด้วย รถม้า ที่จัดเตรียมไว้แล้ว บวช,
บุรุษสี่หมื่นก็บวชตามพระโพธิสัตว์นั้น.
พระโพธิสัตว์นั้นอันบรรพชิตเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว
บำเพ็ญเพียร ๘ เดือน
ในวันวิสาขบูรณมีบริโภคข้าวมธุปายาส
ที่ธิดา วชิรินธพราหมณ์ ณ สุจิรินธนิคม ถวาย
พักผ่อนกลางวัน ณ ป่าตะเคียน
เวลาเย็นรับหญ้า ๘ กำ ที่คนเฝ้าไร่ข้าวเหนียวชื่อ สุภัททะ ถวาย
เข้าไปยังโพธิพฤกษ์ชื่อ สิริสะ คือ ต้นซึก
ซึ่งมีขนาดเท่าต้นแคฝอย มีกลิ่นหอมเมื่อลมโชย
ลาดสันถัตหญ้ากว้าง ๓๔ ศอก นั่งขัดสมาธิ
บรรลุพระสัมโพธิญาณ
ทรงเปล่งพระอุทานว่า อเนกชาติสํสารํ ฯเปฯ
ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ดังนี้ ทรงยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์
ทรงเห็นว่าภิกษุ สี่หมื่น ที่บวชกับพระองค์
เป็นผู้สามารถแทงตลอดสัจจะ
วันเดียวเท่านั้น ก็เสด็จเข้าไปยัง อิสิปตนะมิคทายวัน ซึ่งมีอยู่แล้วใกล้ๆ มกิลนคร
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ท่ามกลางบรรพชิตเหล่านั้น ทรงประกาศพระธรรมจักร.
ครั้งนั้นธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
ต่อมาอีก
ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ณ โคนต้นมหาสาละ ใกล้ประตูกัณณกุชชนคร
ทรงยังธรรมจักษุให้เกิดแก่ สัตว์สามหมื่นโกฏิ นั้นเป็นอภิสมัยครั้งที่ ๒.
ครั้งยักษ์ชื่อ นรเทพ ที่เรียกกันว่า เทพแห่งนรชน
ณ เทวาลัยแห่งหนึ่ง ไม่ไกลกรุงเขมวดี
ปรากฏตัวเป็นมนุษย์ ยืนอยู่ใกล้สระ ๆ หนึ่ง ซึ่งมีน้ำเย็น
ประดับด้วยบัวต้นบัวสายและอุบล มีน้ำเย็นรสอร่อยอย่างยิ่ง มีกลิ่นหอมรื่นรมย์สำหรับชนทั้งปวง
อยู่กลางทางกันดาร ล่อลวงสัตว์ทั้งหลายโดยเป็น
๑ บาลีเป็น โรปินี.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 645
คนเก็บบัวต้นบัวสายบัวขาวเป็นต้นแล้วกินมนุษย์เสีย.
เมื่อทางนั้น ตัดขาดไม่มีคนไปถึง.
ยักษ์นรเทพก็เข้าไปดงใหญ่ กินสัตว์ที่ชุมนุมกันในที่นั้น ๆ เสียทางนั้น
โลกรู้จักกันว่า เป็นทางมหากันดาร.
เขาว่า หมู่มหาชนยืนชุมนุมกัน ใกล้ประตูสองข้างทาง เพื่อช่วยข้ามทางกันดาร.
ครั้งนั้น พระศาสดากกุสันธะ ผู้ปราศจากกิเลสเครื่องผูกในภพ.
วันหนึ่ง เวลาใกล้รุ่ง ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติตรวจดูโลก
ก็ทรงพบนรเทพยักษ์ผู้มีศักดิ์ใหญ่และกลุ่มชนนั้นเข้าไปในข่ายพระญาณ.
ครั้นทรงทราบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จไปทางอากาศ
ทั้งที่กลุ่มชนนั้นแลเห็นอยู่นั่นเอง ก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์หลายอย่าง
เสด็จลงที่ภพของนรเทพยักษ์ นั้น ประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันเป็นมงคล.
ครั้งนั้น ยักษ์ผู้กินคนตนนั้น เห็นพระทินกรผู้มุนี
ทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสี ดังดวงทินกรอันสายฟ้าแลบล้อม
กำลังเสด็จมาทางอากาศ ก็มีใจเลื่อมใสว่า
พระทศพลเสด็จมาที่นี้เพื่อทรงอนุเคราะห์เรา
จึงไปป่าหิมพานต์ที่มีหมู่มฤคมาก พร้อมด้วยบริวารยักษ์
รวบรวมดอกไม้ทั้งที่เกิดในน้ำทั้งที่เกิดบนบกอันมีสีและกลิ่นต่าง ๆ
เลือกเอาเฉพาะที่มีกลิ่นหอมจรุงน่ารื่นรมย์ใจอย่างยิ่ง
มาบูชา พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลกผู้ปราศจากโทษ ซึ่งประทับนั่งเหนือบัลลังก์ของตน
ด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นต้น
แล้วร้องเพลงประสานเสียงสดุดี ทำอัญชลีไว้เหนือเศียร ยืนนมัสการ.
แต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็มีจิตใจเลื่อมใส
มาประชุมกัน พากันยืนนอบน้อมล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่มีปฏิสนธิ
ทรงยังนรเทพยักษ์ ผู้อันมนุษย์และเทวดาบูชายิ่งให้อาจหาญ
ด้วยทรงแสดงความเกี่ยวเนื่องของกรรมและผลของกรรม ให้หวาดสะดุ้ง
ด้วยกถา ว่าด้วย นรก แล้วจึงตรัสจตุสัจกถา.
ครั้งนั้น ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ สัตว์หาประมาณมิได้ นี้เป็นอภิสมัยครั้งที่ ๓.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 646
ต่อมาจากสมัยของพระเวสสภูพุทธเจ้า
ก็มีพระสัมพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ผู้สูงสุดแห่งสัตว์
สองเท้า ผู้มีพระคุณหาประมาณมิได้ ผู้อันใคร ๆ เฝ้าได้ยาก.
ทรงเพิกถอนภพทั้งปวง ถึงฝั่งบำเพ็ญบารมีแล้ว
ทรงทำลายกรงภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง
ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด.
เมื่อพระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำโลก
ทรงประกาศพระธรรมจักร ธรรมาภิสัยได้มีแก่ สัตว์สี่หมื่นโกฏิ.
พระองค์ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ กลางพื้นนภากาศ ทรงยังเทวดาและมนุษย์สามหมื่น
ในการประกาศสัจจะ ๔ แก่นรเทพยักษ์นั้นธรรมาภิสมัย ได้มีแก่ สัตว์นับจำนวนไม่ถ้วน.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า อุคฺฆาเฏตฺวา แปลว่า ถอนแล้ว.
บทว่า สพฺพภวํ ได้แก่ ซึ่งภพทั้ง ๙ ภพ.
อธิบายว่า กรรมอันเป็นนิมิตแห่งอุปัตติในภพ.
บทว่า จริยาย ปารมึ คโต ความว่า ทรงถึงฝั่ง โดยทรงบำเพ็ญบารมีทุกอย่าง.
บทว่า สีโหว ปญฺชรํ เภตฺวา ความว่า พระมุนีกุญชร ทรงทำลายปัญชรคือภพ เหมือนราชสีห์ทำลายกรง.
พระกกุสันธพุทธเจ้า
ผู้รื้อเครื่องผูกภพเสียแล้ว
ทรงมีสาวกสันนิบาตครั้งเดียวเท่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพระอรหันต์สี่หมื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 647
ซึ่งบวชกับพระองค์ ณ อิสิปตนะมิคทายวัน กรุงกัณณกุชชนคร
แวดล้อมแล้ว ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ในวันมาฆบูรณมี.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ
ทรงมีสันนิบาตประชุมพระสาวกขีณาสพ ผู้ไร้มลทิน มีจิตสงบ คงที่ครั้งเดียว.
ครั้งนั้น เป็นสันนิบาตประชุมพระสาวกสี่หมื่น ผู้บรรลุภูมิของท่านผู้ฝึกแล้ว
เพราะสิ้นหมู่กิเลส ดังข้าศึกคืออาสวะ.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา
เป็นพระราชา พระนามว่า เขมะ
ทรงถวายบาตรจีวรเป็นมหาทาน และถวายเภสัชทุกอย่างมียาหยอดตาเป็นต้น
แด่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน และถวายสมณบริขารอย่างอื่น
สดับพระธรรนเทศนาของพระองค์แล้ว มีพระหฤทัยเลื่อมใส
ก็ทรงผนวชในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระศาสดาพระองค์นั้น ทรงพยากรณ์ว่า
ในอนาคตกาล ในกัปนี้นี่แหละ ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สมัยนั้น เราเป็นกษัตริย์นามว่า เขมะ
ถวายทานมิใช่น้อย ในพระตถาคต และพระสาวกชิโนรส.
ถวายบาตรและจีวร ยาหยอดตา ไม้เท้าไม้มะซาง
ถวายสิ่งของที่ท่านปรารถนาเหล่านี้ ๆ ล้วนแต่ของดี ๆ.
พระมุนีกกุสันธพุทธเจ้า ผู้นำวิเศษ
แม้พระองค์นั้น ก็ได้ทรงพยากรณ์เราว่า
ในภัทรกัปนี้แล ท่านผู้นี้จักเป็นพระพุทธเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 648
พระตถาคต ออกอภิเนษกรมณ์จากกรุงกบิลพัสดุ์อันน่ารื่นรมย์ ฯ ล ฯ จักอยู่ต่อหน้าของท่านผู้นี้.
ครั้งนั้น เราชื่อว่าเขมะ นครชื่อว่า เขมวดี กำลังแสวงหาพระสัพพัญญุตญาณ
ก็บวชแล้วในสำนักของพระองค์.
แก้อรรถ
ในคาถานั้น อญฺชนํ แปลว่า ยาหยอดตา ความชัดแล้ว.
บทว่า มธุลฏฺฐิกํ ได้แก่ ไม้เท้าไม้มะซาง.
บทว่า อิเมตํ ตัดบทเป็น อิมํ เอตํ.
บทว่า ปตฺถิตํ แปลว่า ปรารถนาแล้ว.
บทว่า ปฏิยาเทมิ แปลว่า ถวาย อธิบายว่า ได้ถวายแล้ว.
บทว่า วรํ วรํ หมายความว่า ประเสริฐที่สุด ๆ. ปาฐะว่า ยเทตํปตฺถิตํ ดังนี้ก็มี.
ปาฐะนั้น ความว่า เราได้ถวายสิ่งที่พระองค์ปรารถนาทุกอย่างแด่พระองค์. ความนี้ดีกว่า.
ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ากกุสันธะ ผู้ไม่ชักช้าพระองค์นั้น
มีพระนครชื่อว่า เขมะ
พระชนกเป็นพราหมณ์ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
พระชนนีเป็นพราหมณ์ชื่อว่า วิสาขา
คู่พระอัครสาวกชื่อว่า พระวิธุระ และ พระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า พระพุทธิชะ
คู่พระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา.
โพธิพฤกษ์ชื่อว่า ต้นสิรีสะ คือไม้ซึก.
พระสรีระสูง ๔๐ ศอก.
พระรัศมีแห่งพระสรีระแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
พระชนมายุสี่หมื่นปี
มีเอกภริยาเป็นพราหมณีชื่อว่า โรจินี
โอรสชื่อว่า อุตตระ
ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยรถเทียมม้า.
ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 649
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้เป็นพระศาสดา
ทรงมีพระชนกเป็นพราหมณ์ ชื่อว่า อัคคิทัตตะ
ทรงชนนีชื่อว่า วิสาขา.
ตระกูลของพระสัมพุทธเจ้า เป็นตระกูลใหญ่
ประเสริฐเลิศล้ำกว่านรชนทั้งหลาย เป็นชาติสูงมีบริวารยศใหญ่ อยู่ในนครเขมะนั้น.
พระกกุสันธพุทธเจ้า ผู้แสวงคุณยิ่งใหญ่
มีพระอัครสาวก ชื่อว่าพระวิธุระและพระสัญชีวะ
พระพุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระพุทธิชะ.
มีพระอัครสาวิกาชื่อว่า พระสามา และพระจัมปา
โพธิพฤกษ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกว่า ต้นสิรีสะ (ไม้ซึก).
พระมหามุนีสูง ๔๐ ศอก
พระรัศมีสีทองแล่นออกไปรอบ ๆ ๑๐ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า พระองค์นั้น มีพระชนมายุ สี่หมื่นปี
พระองค์ทรงพระชนม์ยืนถึงเพียงนั้น จึงทรงยังหมู่ชนเป็นอันมากให้ข้ามโอฆะ.
พระองค์ทั้งพระสาวก
ทรงขยายตลาดธรรมแก่บุรุษสตรี ในโลกทั้งเทวโลก
ทรงบันลือดุจการบันลือของราชสีห์ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพาน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 650
พระองค์มีพระสุรเสียง มีองค์ ๘ มีศีลบริบูรณ์ อยู่นิรันดร ทั้งนั้น
ก็อันตรธานไปสิ้นสังขารทั้งปวงว่างเปล่า แน่แท้.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า วสเต ตตฺถ เขเม ปุเร นี้
พึงทราบว่า ท่านกล่าวเพื่อชี้นครที่พระกกุสันธพุทธเจ้าทรงสมภพ.
บทว่า มหากุลํ ได้แก่ ตระกูลฝ่ายพระชนกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นตระกูลรุ่งเรือง.
บทว่า นรานํ ปวรํ เสฏฺฐํ ความว่า ประเสริฐเลิศล้ำกว่ามนุษย์ทั้งหมดโดยชาติ.
บทว่า ชาติมนฺตํ ได้แก่ มีชาติยิ่ง มีชาติสูง.
บทว่า มหายสํ ได้แก่มีบริวารมาก. ตระกูลใหญ่นั้นของพระพุทธเจ้าเป็นดังฤา.
ในคำนั้น พึงเห็นการเชื่อมความกับบทว่า มหากุลํ เขเม ปุเร วสเต ตระกูลใหญ่อยู่ในกรุงเขมะ.
บทว่า สมนฺตา ทสโยชนํ ความว่า
พระรัศมีสีทองออกจากพระสรีระเป็นนิตย์ แล่นแผ่ไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ.
บทว่า ธมฺมาปณํ ได้แก่ ตลาดกล่าวคือธรรม.
บทว่า ปสาเรตฺวา ความว่า ขยายตลาดธรรม
เหมือนตลาดที่คับคั่งด้วยสินค้านานาชนิด เพื่อขายสินค้า.
บทว่า นรนารีนํ ได้แก่ เพื่อประสบรัตนะวิเศษ คือ ฌานสมาบัติและมรรคผล สำหรับบุรุษสตรีทั้งหลาย.
บทว่า สีหนาทํ ว ก็คือ สีหนาทํ วิย ได้แก่ บรรลือเสียงอภัย ไม่น่ากลัว.
บทว่า อฏฺฐงฺควจนสมฺปนฺโน ได้แก่ พระศาสดาทรงมีพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘.
บทว่า อจฺฉิทฺทานิ ได้แก่ ศีลที่เว้นจากภาวะมีขาดเป็นต้น ไม่ขาด ไม่ด่าง ไม่พร้อย
อีกนัยหนึ่ง ศีลที่ไม่ทะลุ ไม่มีช่อง เช่นคู่พระอัครสาวก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 651
บทว่า นิรนฺตรํ ได้แก่ เนือง ๆ กาลเป็นนิตย์.
บทว่า สพฺพํ ตมนฺตรหิตํ ความว่า พระศาสดาและคู่พระอัครสาวกเป็นต้นนั้นทั้งหมด
เข้าถึงความเป็นพระมุนีแล้ว ก็เข้าถึงความเป็นผู้แลไม่เห็น.
อเปตพนฺโธ กกุสนฺธพุทฺโธ
อทนฺธปญฺโญ คตสพฺพรนฺโธ
ติโลกสนฺโธ กิร สจฺจสนฺโธ
เขเม วเน วาสมกปฺปยิตฺถ.
ข่าวว่า พระกกุสันธพุทธเจ้า
ทรงปราศจากพันธะ มีพระปัญญาไม่ชักช้า ไปจากโทษทั้งปวง
ทรงตั้งมั่นในไตรโลก ทรงมั่นคงในสัจจะ ประทับอยู่ ณ เขมวัน.
ในคาถาที่เหลือทุกแห่ง คำชัดแล้วทั้งนั้นแล. .
จบพรรณนาวงศ์พระกกุสันธพุทธเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ เล่ม ๙ ภาค ๒ - หน้าที่ 652